วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำขวัญ คืออะไร

 

คำขวัญ คือ ข้อความที่เรียบเรียงขึ้นด้วยถ้อยคำที่กะทัดรัดแต่สละสลวยเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น โน้มน้าวใจ เพื่อเป็นสิริมงคล หรือเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเด็ก วันแม่ วันพ่อ เป็นต้น

 

จุดมุ่งหมายของ คำขวัญ

 

1. เพื่อเตือนใจหรือให้ข้อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน เพื่อประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง

2. เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านสนใจ ตระหนักในคุณค่า และปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม

3. เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติทั้งของบุคคลและสถาบัน เช่น คำขวัญประจำจังหวัด คำขวัญประจำโรงเรียน เป็นต้น

 

ลักษณะของคำขวัญ

 

คำขวัญที่ดีจะต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ

 

คำขวัญ

 

1. โน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตาม

ตัวอย่าง

ประหยัดน้ำคนละนิด ชุบชีวิตคนทั้งชาติ (ประกวดคำขวัญโครงการโรงเรียนประหยัดน้ำ ของการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2555)

 

2. โน้มน้าวใจให้ละเว้น

ตัวอย่าง

รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ช่วยกันต้าน ยาเสพติด (คำขวัญต่อต้านยาเสพติดใน พ.ศ. 2542-2543)

 

3. แสดงข้อคิดหรือปรัชญาในการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิต

ตัวอย่าง

ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ทำลายผู้อื่น

มุ่งทำความดี เจริญด้วยศักดิ์ศรี

ตั้งจิตผ่องใส ผูกไมตรี

มีมารยาทต่อทุกคน

(คติประจำใจชาวนครศรีธรรมราช)

 

4. ข้อคิดในวันสำคัญ

ตัวอย่าง

เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

(คำขวัญวันเด็ก ปี พ.ศ. 2545)

 

5. คำขวัญแสดงจุดเด่น

ตัวอย่าง

 

คำขวัญ

 

วิธีเขียนคำขวัญ

 

การเขียนคำขวัญ มีเขียน 3 แบบ

 

 

1. การเขียนแบบคำคล้องจอง คือ การเขียนที่ใช้สระเดียวกัน หรือคำสัมผัสเดียวกัน

 

2. การเขียนคำขวัญแบบร้อยกรอง คือ การเขียนคำตามแบบบังคับ ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

 

3. การเขียนคำขวัญแบบร้อยแก้ว คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะ โดยไม่มีข้อบังคับในเรื่องการสัมผัส เอก โท เขียนง่าย

 

หลักการเขียนคำขวัญ

 

1. รู้จุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการเขียน เช่น คำขวัญจังหวัด ก็จะดึงจุดที่เด่น ๆ ของจังหวัดนั้นออกมาเขียน

ตัวอย่าง

 

คำขวัญ

 

คำขวัญเชียงใหม่ ดึงจุดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ออกมาทั้งสถานที่สำคัญของจังหวัดอย่างดอยสุเทพ เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของล้านนาทำให้มีประเพณีที่หลากหลาย นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นเมืองหนาวทำให้มีดอกไม้นานาพันธุ์ ส่วนนครพิงค์ (พิงค์ หรือ ระมิง แปลว่า แม่น้ำของชาวรามัญ) มาจากชื่อ แม่น้ำปิง ที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นจุดเด่นของเมืองเชียงใหม่ที่ได้ถูกนำมารวมกันอยู่เป็นคำขวัญประจำจังหวัด

 

2. หาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะเขียน ทั้งความรู้ด้านเนื้อหาและความรู้ด้านศิลปะในการเขียน อย่างเช่น กลวิธีถ่ายทอดความคิดตลอดจนการใช้ภาษาให้น่าสนใจ

 

3. เสริมความคิด เพื่อให้มีความชัดเจน ทำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาอย่างละเอียด

 

4. คิดถ้อยคำให้เหมาะสม เพื่อมาเรียงร้อยกันให้เป็นคำขวัญที่น่าสนใจตามจุดประสงค์ของการเขียน

 

การเขียนคำขวัญนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราไม่จำเป็นต้องแต่งยาว ๆ เหมือนบทร้อยกรอง เพียงแต่ต้องเลือกคำที่เหมาะสม กระชับ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าคำขวัญนี้ต้องการจะสื่อถึงเรื่องใด เป็นการเขียนที่เรียกได้ว่าง่ายมาก ๆ อีกประเภทหนึ่งเลยก็ว่าได้ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้ม และอย่าลืมติดตามบทเรียนเรื่องการเขียนต่าง ๆ ในครั้งต่อไปกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น  ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้ วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

การใช้ Quantity words

การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of and etc.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of and etc. ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1