วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง

 

การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู

 

การพูดคืออะไร

 

องค์ประกอบของการพูด

 

ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ

เนื้อเรื่อง คือเรื่องราวที่ผู้พูดจะนำเสนอเป็นความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้อย่างเหมาะสม

ผู้ฟัง คือผู้รับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผู้พูดนำเสนอ

 

ความหมายของการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู

พูดสรุปความ

 

การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู คือ การนำเรื่องที่ได้ฟังหรือดูมาสรุปเพื่อหาใจความสำคัญ เรียบเรียงใหม่แล้วถ่ายทอดออกมาให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจตรงกัน โดยผู้พูดจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องที่พูดและถ่ายทอดเรื่องราวที่สรุปมาได้อย่างถูกต้องโดยไม่บิดเบือนเนื้อหาใด ๆ

 

หลักการพูดสรุปความ

พูดสรุปความ

 

1. ใช้หลัก 5w1h

พูดสรุปความ

 

5W1H คือ ตัวอักษรตัวแรกของคำดังต่อไปนี้

Who = ใคร หรือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง

What = อะไร เกิดอะไรขึ้นหรือมีเหตุการณ์ใดที่สำคัญ

Where = ที่ไหน เกิดเหตุการณ์ขึ้นที่ไหน

When = เมื่อไหร่ เกิดเหตุการณ์เมื่อไหร่

Why = ทำไม ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

How = อย่างไร เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นได้อย่างไร

วิธีการใช้หลัก 5w1h ในการสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูสามารถทำได้อย่างง่าย ๆ โดยการหาว่าใครเป็นประธาน ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ ทำไม ทำอย่างไร

ตัวอย่าง

เว็บไซต์ข่าว ยูเอสเอ ทูเดย์ รายงานว่า วัยรุ่นอายุ 18 ปีจากรัฐเมน ถูกหลุมทรายที่เขากับน้องสาววัย 17 ปีช่วยกันขุดบนชายหาดรัฐนิวเจอร์ซีย์ ถล่มฝังจนเสียชีวิต เมื่อช่วงเย็นวันอังคารที่ 17 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ส่วนผู้เป็นน้องสาวได้รับความช่วยเหลือ และรักษาตัวในที่เกิดเหตุ

ตามการเปิดเผยของตำรวจ วัยรุ่นรายนี้มาเที่ยวชายหาดที่เรียกว่า โอเชียน บีช 3 ซึ่งเป็นหาดชุมชนใกล้กับย่าน แชดวิก บีช ก่อนเจ้าหน้าที่จะได้รับแจ้งเหตุและเดินทางไปถึงในเวลาประมาณ 16.09 น. ก่อนเจ้าหน้าที่ขุดร่างชายหนุ่มขึ้นมาได้ในเวลา 18.45 น.

ด้านนาย มอริซ ฮิลล์ จูเนียร์ นายกเทศมนตรีเมืองทอมส์ ริเวอร์ เผยกับผู้สื่อข่าวว่า พี่น้องคู่นี้ช่วยกันขุดหลุมทรายด้วยจานร่อน จนหลุมมีขนาดลึกมาก

(ตัวอย่างข่าวจาก : ไทยรัฐ ออนไลน์)

 

เมื่อนำมาสรุปความโดยใช้หลัก 5w1h แล้วจะได้เนื้อหาที่สรุปดังนี้

Who = พี่น้อง 2 คน

What = ทรายถล่มใส่จนพี่ชายเสียชีวิต

Where = ชายหาดรัฐนิวเจอร์ซีย์

When = วันอังคารที่ 17 พ.ค. 2565

Why = ขุดหลุมทรายเล่น

How = หลุมมีขนาดลึกจึงถล่มลงมา

 

2.เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับเหตุการณ์

การเรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับการณ์มีความสำคัญ เนื่องจากว่าในบางเรื่องมีความซับซ้อน การลำดับเหตุการณ์ก่อนที่จะพูด จะช่วยให้ผู้พูดไม่สับสนและยังทำให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้โดยง่าย

จากตัวอย่างข่าวในข้อที่ 1 หลังจากได้ใจความสำคัญของเรื่องโดยใช้หลัก 5w1h แล้วเมื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ตามลำดับเหตุการณ์จะสามารถพูดสรุปความจะได้ดังนี้

เมื่อวันอังคารที่ 17 พ.ค. 2565 ที่ชายหาดรัฐนิวเจอร์ซีย์ พี่น้อง 2 คน ช่วยกันขุดหลุมทรายเล่นจนหลุมมีขนาดลึกก่อนจะถูกทรายที่ขุดไว้ถล่มลงมาฝังร่างพี่ชายเสียชีวิต

 

3. ฝึกพูด ซ้อมพูดให้จดจำได้

การฝึกพูดกับตัวเองหรือให้คนอื่นฟังซ้ำ ๆ จะช่วยให้เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดจะรู้สึกผ่อนคลายลงและไม่พูดติดขัดระหว่างการนำเสนอ ดังนั้นก่อนที่จะพูดเรื่องใดก็ตามควรฝึกพูดหรืออ่านเนื้อหาที่เราเตรียมมาให้คล่องเสียก่อนนะคะ

 

4. อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ในบางครั้งการพูดที่มีเนื้อหายาวหรือมีหลายหัวข้อ ผู้พูดไม่จำเป็นต้องจำหัวข้อให้ได้ครบทั้งหมด ขณะพูดสามารถพกกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ที่จดชื่อหัวข้อตามลำดับการพูดแล้วสามารถยกขึ้นมาดูได้ เพราะให้ตัวผู้พูดเข้าใจได้เองว่าตอนนี้กำลังพูดถึงหัวข้อไหน และจะพูดหัวข้อใดเป็นเรื่องถัดไป

 

5.รักษามารยาทในการพูด

ข้อนี้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นวิธีพูดโดยตรง แต่มารยาทก็เป็นสิ่งที่ผู้พูดทุกคนควรมี และควรคำนึงถึงไว้เสมอเพราะต่อให้เราจะพูดเนื้อหาที่เตรียมมาดีแค่ไหน แต่หากเราพูดจทำร้ายความรู้สึกผู้ฟัง หรือหยอกล้อจนเกินพอดีก็จะทำให้การพูดไม่น่าฟังอีกต่อไป

 

ประโยชน์ของการพูดสรุปความ

 

พูดสรุปความ

 

การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูสามารถนำไปใช้สำหรับการพูดอภิปรายทั่ว ๆ ไปที่เราทุกคนต่างต้องเจอตั้งแต่วัยเรียนไปจนถึงวัยทำงาน หรือจะช่วยให้เราสามารถสรุปความจากการฟังบรรยายไปพูดให้คนอื่นฟังได้อีกที แต่ทั้งนี้ การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น เพราะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำได้ด้วย อย่างเช่นการดูข่าว ทุกครั้งที่นักข่าวพูดรายงานข่าวยาว ๆ ถ้าน้อง ๆ มีทักษะในการพูดสรุปความ ก็จะสามารถนำข่าวที่ได้ยินมาไปพูดสรุปให้คนเฒ่าคนแก่หรือผู้ปกครองที่ทำงานยุ่งจนอาจไม่มีเวลาติดตามข่าวได้

 

เห็นไหมคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูมีความสำคัญแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ หมั่นฝึกฝนทั้งในเรื่องการพูด และการสรุปความ การพูดสรุปความก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ และถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติมจากครูอุ้ม ก็สามารถตามไปชมคลิปการสอนย้อนหลังได้ที่ด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

NokAcademy_Infinitives after verbs

Infinitives after verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!   ทบทวนความหมายของ “Infinitive”   Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

Passive Modals คืออะไร

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ ทบทวนสักหน่อย   ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า กลุ่มของ

มารยาทในการอ่านที่นักอ่านทุกคนควรรู้

บทเรียนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มักจะถูกละเลย มองข้ามไป นั่นก็คือเรื่องมารยาทในการอ่านนั่นเองค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้เช่นเดียวกับมารยาทในการฟังและมารยาทในการพูดด้วย เราไปเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ เลยดีกว่าค่ะ มารยาทในการอ่าน   ความหมายของมารยาทในการอ่าน มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ส่วนการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง รับรู้เรื่องราวโดยการใช้ตามองแล้วใช้สมองประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เกิดเป็นการรับรู้และความเข้าใจ มารยาทในการอ่านจึงหมายถึง

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

 ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม จะเกี่ยวข้องกับมุมที่มีหน่วยเป็นองศา (degree) และมุมที่มัหน่วยเป็นเรเดียน (radian) ในบทความนี้จะกล่าวถึงมุมทั้งหน่วยองศาและเรเดียน มุมฉาก การเปลี่ยนหน่วยของมุม สมบัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ และสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา พี่อยากให้น้องๆได้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาในบทความนี้มากขึ้น การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ หลังจากที่ไปทบทวนความรู้มาแล้วเรามาเริ่มเนื้อหาใหม่กันเลยค่ะ หน่วยของมุม 1.) องศา (degree) คือหน่วยของมุมในระนาบ 2 มิติ โดยที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1