ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ

 

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา

 

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยชื่อเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย หมายถึง พม่าและมอญแพ้ มาจากการที่พม่าได้มอญเป็นเมืองขึ้นและใช้เมืองหลวงของมอญคือ หงสาวดี เป็นเมืองหลวงของตน ไทยถึงเรียกกองทัพพม่าว่ากองทัพมอญ ในจํานวนพระนิพนธ์ทั้งหมด คือลิลิตตะเลงพ่าย และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นการแต่งลิลิตที่ยอดเยี่ยมที่สุด

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ มีการเข้าลิลิต คือ คำสุดท้ายของบทที่มาก่อน ส่งสัมผัสไปรับที่คำที่ 1,2 หรือ 3 ของบทต่อมา โดยความยาวของร่ายสุภาพนี้จะมีความยาวกี่วรรคก็ได้ใน 1 บท

 

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เรื่องย่อลิลิตตะเลงพ่าย

 

ระเจ้ากรุงหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชเสด็จสวรรคต ทรงคาดการณ์ว่าอาจเกิดศึกแย่งชิงราชสมบัติกัน จึงสั่งให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา

 

 

พระมหาอุปราชารู้สึกได้ถึงลางไม่ดี แต่ก็ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ และเข้าตีเมืองกาญจนบุรี ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเตรียมทัพจะไปรบเขมร แต่ทรงพระสุบินเห็นจระเข้ โหรฯ จึงทำนายว่า พม่ากำลังจะเข้ามาทางตะวันตกและจระเข้ที่พระองค์ได้ปลิดชีพไปในฝันก็คือพระมหาอุปราชาจึงทรงนำทัพออกไปรับศึกพม่านอกพระนคร ทัพไทยและทัพพม่าปะทะกันที่ตำบลตระพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตกมันทำให้ทหารไม่สามารถตามพระองค์ไปได้ทัน เมื่อได้เผชิญหน้ากัน พระองค์ทรงเชิญให้พระมหาอุปราชาเสด็จมากระทำยุทธหัตถีด้วยกัน พระมหาอุปราชาเพลี่ยงพล้ำต้องพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทรงปูนบำเหน็จทหารที่มีความชอบในการรบ และทรงตัดสินโทษทหารที่ตามเสด็จไม่ทันตอนที่รบกัน แต่แล้วก็ได้พระราชทานอภัยโทษให้แก่ทหารเหล่านั้น แลกกับการให้ยกทัพไปตีเมืองทวายและตะนาวศรีและมะริดเป็นการไถ่โทษ

 

กลศึกที่สมเด็จพระนเรศวรใช้เพื่อเตรียมรบกับพม่า

พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทัพของหัวเมืองต่าง ๆ ยกไปขัดตาทัพรับหน้าข้าศึกที่ตำบลหนองสาหร่าย โดยใช้อุบายเข้าโจมตีแล้วล่าถอยเพื่อให้ข้าศึกติดตาม จากนั้นพระองค์ทั้งสองจะทรงยกทัพไปตีขนาบข้าศึกไว้

 

ตอนท้ายเรื่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมปรมานุชิตชิโนรสทรงแสดงจุดประสงค์ในการทรงนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายว่าเพื่อเป็นการสดุดีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะพม่า และขอให้บทกวีคงอยู่ตลอดไป ซึ่งสิ่งที่พระองค์ต้องการนั้นก็เกิดขึ้นจริง ๆ ค่ะ เราถึงได้มาเรียนวรรณคดีอันทรงคุณค่านี้ในแบบเรียน ได้รู้ถึงพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ในอดีตที่ปกป้องบ้านเมือง สำหรับตัวบทที่น่าสนใจเพิ่มเติม น้อง ๆ จะได้เรียนเจาะลึกกันในบทถัดไป แต่ก่อนที่จะไปถอดคำประพันธ์สนุก ๆ กับครูอุ้ม น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนในวันนี้กันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การทดลองสุ่มและเหตุการณ์

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ และอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ น้องๆสามารถทบทวน ความน่าจะเป็น ได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็น ⇐⇐ การทดลองสุ่ม การทดลองสุ่ม  คือ การทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นอะไรได้บ้าง  แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทำการทดลอง  ผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านั้น  เช่น การโยนเหรียญซึ่งมีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ หัวหรือก้อย เมื่อโยนเหรียญ

ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย 3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประธาน subject  + กริยา หรือ

signal words

Signal Words ในภาษาอังกฤษคืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Signal Words ในภาษาอังกฤษว่าคืออะไร และเอาไปใช้ได้อย่างไรได้บ้าง เราไปเริ่มกันเลยครับ

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ ค่าสัมบูรณ์  หรือ Absolute คือค่าของระยะทางจากศูนย์ไปยังจุดที่เราสนใจ เช่น ระยะทางจากจุด 0 ถึง -5 มีระยะห่างเท่ากับ 5 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์เอาไว้บอกระยะห่าง ดังนั้นค่าสัมบูรณ์จะมีค่าเป็นบวกหรือศูนย์เท่านั้น ไม่สามารถเป็นลบได้ นิยามของค่าสัมบูรณ์ ให้ a เป็นจำนวนจริงใดๆ จะได้ว่า และ   น้องๆอาจจะงงๆใช่ไหมคะ ลองมาดูตัวอย่างสักนิดนึงดีกว่าค่ะ เช่น เพราะ

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง การวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้จะเป็นการวัดความยาวของวงกลม 1 หน่วย วงกลมหนึ่งหน่วย คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด และมีรัศมียาว 1 หน่วย จากสูตรของเส้นรอบวง คือ 2r ดังนั้นวงกลมหนึ่งหน่วย จะมีเส้นรอบวงยาว 2 และครึ่งวงกลมยาว   จุดปลายส่วนโค้ง   จากรูป จะได้ว่าจุด P เป็นจุดปลายส่วนโค้ง   จากที่เราได้ทำความรู้จักกับวงกลมหนึ่งหน่วยและจุดปลายส่วนโค้งแล้ว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1