ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

ราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ราชาศัพท์

 

ราชาศัพท์

 

การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์

2.พระบรมวงศานุวงศ์

3. พระสังฆราชเจ้าและพระสงฆ์

4. ขุนนาง ข้าราชการชั้นสูง

5. สุภาพชน

 

นอกจากนี้คำราชาศัพท์ยังแต่งตามระดับบุคคลดังนี้ได้อีกด้วย

 

ราชาศัพท์

 

1. ชาติวุฒิ

ชาติกำเนิด เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ประเทศไทยไม่ได้มีการแบ่งชนชั้นวรรณะแต่ให้ความเคารพกันและกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีชาติกำเนิดสูง ๆ อย่างเช่นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระมหากษัตริย์

2. วัยวุฒิ

นอกเหนือจากชาติกำเนิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญคืออายุ ผู้ที่อายุน้อยกว่า ต้องให้ความสำคัญ เคารพผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยความนอบน้อม

3.คุณวุฒิ

แม้ว่าคุณวุฒิ หรือระดับศึกษา จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาได้ ไม่เหมือนชาติกำเนิดหรืออายุที่มีติดมาตั้งแต่เกิด แต่ก็เป็นสิ่งที่คนในสังคมให้ความเคารพ เพราะผู้ที่มีคุณวุฒิ ก็คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ

 

คำราชาศัพท์ที่ควรรู้

 

คำราชาศัพท์จะถูกแบ่งออกเป็นหมวด ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

 

 

ในวันนี้หมวดที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันก็คือหมวดเครือญาติ จะมีคำอะไรที่ควรรู้บ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

หมวดเครือญาติ

  • พ่อ เรียกว่า พระบิดา
  • แม่ เรียกว่า พระมารดา
  • พี่ชาย เรียกว่า พระเชษฐา
  • น้องชาย เรียกว่า พระอนุชา
  • พี่สาว เรียกว่า พระเชษฐภคินี
  • น้องสาว เรียกว่า พระขนิษฐา
  • ตา ปู่ เรียกว่า พระอัยกา
  • ย่า ยาย เรียกว่า พระอัยยิกา

 

คำราชาศัพท์เป็นการใช้ถ้อยคำที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทยที่ชัดเจนและเป็นเอกลักษณ์และหาได้ยากในภาษาอื่น เพราะเป็นประเทศไทยเป็นประเทศที่นอกจากจะมีรูปแบบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับพระมหากษัตริย์แล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ให้ความเคารพแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ได้แบ่งชนชั้น แต่เป็นความเหมาะสมและกาลเทศะ ที่เราจะต้องใช้กันให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ หลังจากที่วันนี้น้อง ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ราชาศัพท์ หมวดเครือญาติเล็ก ๆ น้อย ๆ กันไปแล้ว ต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้หลักการใช้ รวมไปถึงคำศัพท์ต่าง ๆ มากขึ้น แต่รับรองว่าไม่ยากเกินความเข้าใจแน่นอนค่ะ ถ้าเราหมั่นทบทวนบทเรียน และไม่ลืมที่จะดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบาย และทำแบบฝึกหัดไปด้วย ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

phrasal verbs

Phrasal Verbs: กริยาวลีในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ two-word verbs และ three-word verb ในภาษาอังกฤษกันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1