มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย

ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

 

มนุสสภูมิ

 

ถอดความ

เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7 วันเป็นดังน้ำล้างเนื้อเรียกว่า อัมพุทะ เมื่ออัมพุทะโตขึ้นจนถึง 7 วันก็จะข้นเหมือนตะกั่วที่เชื่อมอยู่ เรียกว่า เปสิ และอีก 7 วันถัดมาก็จะแข็งเหมือนไข่ไก่ เรียกว่าฆนะ

 

มนุสสภูมิ

 

ถอดความ

พูดถึงการกำเนิดมนุษย์ในครรภ์เมื่อผ่านไปแล้ว 28 วันนับจากเมื่อครั้งยังเป็นกลละ อัมพุทะ เปสิ ฆนะ ถัดมาตัวอ่อนจะมีตุ่มออกมา 5 แห่งเหมือนหูดเรียกว่า เบญจสาขาหูด หูดนั้นจะกลายเป็น มือ 2 ข้าง เท้า 2 ข้าง และศีรษะอีก 1 และค่อย ๆ ขยาย เติบโตไปเรื่อย ๆ กระทั่ง 7 วันผ่านไปก็จะกลายเป็นฝ่ามือ มีนิ้วมือ ต่อจากนั้นไปจนครบ 42 วัน จึงจะมีผม ขน เล็บมือ เล็บเท้า ครบอวัยวะเป็นมนุษย์ทุกประการ

 

มนุสสภูมิ

 

ถอดความ

รูปของสัตว์เกิดในครรภ์มี 184 รูป คือส่วนกลาง (ตั้งแต่คอถึงสะดือ) มี 50 รูป รูปส่วนบน (ตั้งคอขึ้นไปจนถึงศีรษะ) มี 84 รูป รูปส่วนเบื้องต่ำ (ตั้งแต่สะดือถึงฝ่าเท้า) มี 50 รูป ซึ่งขณะอยู่ในครรภ์จะนั่งอยู่ตรงกลางท้องมารดา

 

คุณค่าใน ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

 

ไตรภูมิพระร่วง เป็นงานประพันธ์ที่ถึงแม้จะแต่งเป็นร้อยแก้วในลักษณะความเรียง แต่ความงดงามของภาษาก็ไม่ได้แพ้บทประพันธ์อื่น ๆ เลย เพราะนอกจากจะโดดเด่นในด้านการใช้โวหารต่าง ๆ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังโดดเด่นอย่างมากในเรื่องของการสรรคำ

 

มนุสสภูมิ

 

ไม่เพียงแต่การสรรคำเท่านั้นที่โดดเด่นในเรื่อง แต่ยังมีเรื่องของการหลากคำที่เลือกใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนคนละแบบเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ในด้านคำศัพท์ของผู้แต่งรวมถึงการซ้ำคำที่ปรากฏในเห็นในบทประพันธ์

 

 

และที่สำคัญ วรรณคดีเรื่องนี้มีรสวรรณคดีอย่างพิโรธวาทัง ที่ใช้อธิบายถึงทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ซึ่งเป็นที่คับแคบ ขยับไม่ได้ เหยียดมือหรือเท้าก็ไม่ได้ ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและรับรู้ความยากลำบากภายในครรภ์ผ่านงานประพันธ์

 

คุณค่าด้านสังคม

มนุสสภูมิเป็นตอนที่พูดถึงการเกิดของมนุษย์ดังนั้นจึงมีความเชื่อเรื่องบุญกรรมไว้มากมาย สะท้อนถึงความเชื่อของคนไทยในยุคสมัยนั้น

ตัวอย่าง

สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปนท้องนั้นไหม้และย่อยลง ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบมิไหม้ เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกรรมนั้นจะเป็นคนแล จึงให้บมิไหม้บมิตาย

จากข้อความที่ยกมา คนไทยมีความเชื่อว่าเด็กที่อยู่ในท้องแม่ ต้องอยู่รวมกันอาหาร แต่ไม่ถูกย่อยไปด้วยเพราะมีบุญคอยหุ้มตัวเด็กไว้ นอกจากเรื่องบุญกรรมแล้วก็ยังมีเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์และนรกเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังที่เชื่อว่าในท้องของแม่มีลมแห่งกรรม พัดตัวเด็กให้กลับหัวให้อยู่ข้างล่างและให้เท้าชี้ขึ้นด้านบน เหมือนยมบาลจับข้อเท้าจะหย่อนลงไปในนรก หรือความเชื่อที่ว่าเด็กที่เกิดมาแล้วร้องไห้ เพราะมาจากนรก ส่วนเด็กที่ไม่ร้องไห้ เพราะมาจากสวรรค์

 

โดยความเชื่อเรื่องบุญ กรรม นรก สวรรค์หรือการเวียนว่ายการเกิดของคนไทยนั้นมาจากการนับถือศาสนาพุทธนั่นเอง

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้ศึกษาตัวบทเด่น ๆ กันไปแล้ว ถึงแม้ว่าเนื้อหาจะได้เรียนกันไปแล้วในบทเรียนครั้งก่อน แต่การศึกษาตัวบทเด่น ๆ ก็ทำให้เราได้เห็นตัวบทประพันธ์และคำศัพท์รวมไปถึงสำนวนโบราณที่ไม่ค่อยได้เห็นกันอีกแล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ถึงคุณค่าทั้งสองด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณศิลป์หรือด้านสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดและความเชื่อของคนไทยอีกด้วย สุดท้ายนี้ก่อนจากกัน น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนและทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กันชมคลิปสรุปความรู้ของครูอุ้มเพื่อทบทวนความเข้าใจของตัวเองกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1