ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ
ภาษาถิ่นใต้
เป็นภาษาเฉพาะของท้องถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงซึ่งละแตกต่างกันแล้วแล้วแต่พื้นที่
ภาษาถิ่นใต้น่ารู้
แหลง แปลว่า พูด
ไม่หลาบ แปลว่า ไม่เข็ด
แล แปลว่า ดู
หัวเช้า แปลว่า ตอนเช้า
หวันเยน แปลว่า ตอนเย็น
ตอใด แปลว่า เมื่อไหร่
หวิบ แปลว่า โกรธ
ได้แรงอก แปลว่า สะใจ
แขบ แปลว่า รีบ
น้ำเต้า แปลว่า ฟักทอง
ลูกตอ แปลว่า สะตอ
หมายเหตุ : ทั้งนี้ คำศัพท์ภาษาใต้อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่จังหวัด
ตัวอย่างประโยค
แปล
ภาคใต้บ้านเรา มีภูเขา มีทะเล มีคลอง ห้วย สวนสะตอ สวนยาง สวนลองกอง แสนอุดมสมบูรณ์
ความต่างของภาษาถิ่นใต้กับภาษาถิ่นอื่นในประเทศไทย
สังคมในภาคใต้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา ทำให้สำเนียงของภาษาถิ่นใต้ได้รับอิทธิพลจากความหลากหลายนี้มาด้วย ภาษาใต้บางคำจะคล้ายคลึงกับภาษากลาง แค่จะค่อนข้างห้วน เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยคลื่นลม และมรสุมทำให้การพูดถูกดัดแปลงให้สั้น เช่น ตลาด เป็น หลาด
ตัวอย่างความแตกต่างของภาษาในแต่ละถิ่น
ภาษาถิ่นของไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของชาติที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทุกคนควรศึกษาและช่วยกันอนุรักษ์เพื่อให้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาตินี้คงอยู่สืบไป สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนโดยการชมคลิปย้อนหลังของครูอุ้มในเรื่องภาษาใต้และสรุปเรื่องภาษาถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย ไปชมกันเลยค่ะ
อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy