ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู

 

การยืมคำจากภาษาชวา มลายู

 

ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่

1. คำยืมภาษาชวา

เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

2. คำยืมภาษามลายู

การค้าขายในอดีตทำให้บริเวณชายแดนของประเทศที่ติดกับประเทศมาเลเซียได้รับอิทธิพลทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมมา

 

การยืมคำจากภาษาชวา มลายู

 

ลักษณะของภาษาชวา มลายู

 

ภาษาชวา มลายูจัดเป็นภาษาติดต่อ หมายถึง ภาษาที่มีการเติมหน้า (prefix) เติมกลาง (Infix) และ เติมหลัง (suffix) เข้าไปประกอบให้เกิดเป็นคำต่าง ๆ เมื่อประกอบกันแล้วคำเดิมและคำเติมยังคงรูปอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นภาษาที่มีแบบแผนกว่าภาษาอื่น ๆ

 

ข้อสังเกตภาษาชวา มลายูในภาษาไทย

 

1. คำที่ยืมมามักเป็นคำสองพยางค์ เช่น ละมุด ทุเรียน ลางสาด พันตู บุหงา มังคุด เป็นต้น

2. ไม่มีเสียงควบกล้ำ เช่น ปาเต๊ะ โนรี โกดัง เป็นต้น

3. เสียงวรรณยุกต์ไม่มีผลต่อการจำแนกความหมาย

 

 

คำศัพท์ภาษาชวา มลายูในภาษาไทย

 

 

คำในวรรณคดี เช่น

ตุนาหงัน หมายถึง การหมั้น

สตาหมัน หมายถึง สวนดอกไม้

ยี่หวา หมายถึง ชีวิต จิตใจ

บุหลัน หมายถึง พระจันทร์

ชื่อพืชและชื่อสัตว์ เช่น

การะบุหนัง หมายถึง ดอกแก้ว

นวาระ หมายถึง ดอกกุหลาบ

มิสา หมายถึง ควาย

ชื่อสิ่งของ เช่น

มิยา หมายถึง โต๊ะวางของ

มุสะ หมายถึง มุ้ง

กระจับปี่ หมายถึง เครื่องดนตรี

ใช้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น

ยี่เก หมายถึง ลิเก

ใช้เกี่ยวกับสถานที่ เช่น

ขุหนุง หมายถึง ภูเขา

สะตาหมัน หมายถึง สวน

บายสุหรี หมายถึง สระน้ำ

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องลักษณะภาษาชวา มลายุในภาษาไทย แม้ฟังจากชื่อน้อง ๆ บางคนอาจไม่คุ้น นึกภาพไม่ออกว่ามีคำไหนบ้าง แต่เมื่อรู้แล้วก็คงจะอ๋อกันทันทีเลยใช่ไหมคะว่าที่จริงเราก็ใช้คำภาษาต่างประเทศสื่อสารกันอยู่บ่อย ๆ หลังจากเรียนเรื่องนี้ไปแล้ว น้อง ๆ อย่าลืมลองสังเกตสิ่งรอบข้างดูนะคะว่ามีคำไหนอีกบ้างนอกเหนือจากตัวอย่างที่ยกมา สุดท้ายนี้ เพื่อไม่ให้ลืมในสิ่งที่เรียนไป ต้องหมั่นทำแบบฝึกหัดและทบทวนอยู่เสมอนะคะ ระหว่างที่ทบทวนก็เปิดคลิปครูอุ้มไปด้วย รับรองว่าจะเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M6 Phrasal Verbs

Phrasal Verbs 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Phrasal Verbs  Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป ไม่เป็นทางการมาก ข้อดีคือจะทำให้ภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นนั่นเองจ้า

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

Comparison of Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 5 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง Comparison of Adjectives หรือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลย ความหมาย Comparison of Adjectives คือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ที่ใช้ในการเปรียบเทียบคน สัตว์ สิ่งของ หรือ อื่นๆ

การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

​พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม

รากที่สอง

รากที่สอง

การหารากที่สองของจำนวนจริงทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีการคำนวณ นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับในชั้นนี้ นักเรียนอาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1