พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้ เพราะหากทำสิ่งไม่ดีก็อาจจะทำให้เสื่อมเสียไปเลยก็ได้

 

พระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้รัชกาลที่ 5 ได้ชี้แจงเรื่องเงินที่ส่งพระโอรสทั้ง 4 ไปเล่าเรียน เพื่อเป็นป้องกันการถูกติฉินนินทาจากการใช้เงินที่ประชาชนจ่ายเพื่อทำนุบำรุงประเทศมาส่งลูกเรียนจึงใช้เงินส่วนพระองค์แทนเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา

 

พระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้รัชกาลที่ 5 ได้อบรมสั่งสอนพระโอรสเกี่ยวกับใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากไปก่อเรื่องขึ้นมา คู่กรณีก็อาจจะไม่กล้าทำอะไรด้วยความที่เห็นพ่อเป็นคนใหญ่คนโตแต่ก็ไม่อยากให้พระโอรสไปทำพฤติกรรมที่ไม่ดีใส่ใครเพราะสุดท้ายมันก็จะเป็นโทษแก่ตัวเองทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า

 

คุณค่าที่แฝงอยู่ใน พระบรมราโชวาท

 

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

วรรณคดีเรื่องนี้อยู่ในรูปแบบของจดหมายร้อยแก้ว และสื่อสารกับผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมา สอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและความคาดหวังของผู้เป็นพ่อแม่ที่หวังอยากจะให้ลูกเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีและทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

คุณค่าด้านสังคม วัฒนธรรม

สะท้อนสภาพสังคมไทยสมัยก่อนว่ามีเงินของแผ่นดินและเงินพระคลังข้างที่ซึ่งมาจากประชาชนที่มอบให้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทย ณ ขณะนั้นเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาตามประเทศที่เจริญแล้วจึงนิยมส่งลูกหลานหรือคนมีความรู้ความสามารถไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่ต่างประเทศแล้วกลับมาพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของการเป็นพ่อของลูกที่ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากปัจจุบัน เป็นคำโบราณที่ในปัจจุบันที่การเปลี่ยนรูปแบบการใช้และคำศัพท์ไปตามกาลเวลา

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องตัวบทที่เด่น ๆ และคุณค่าที่อยู่ใน พระบรมราโชวาท ถึงแม้จะไม่ใช่วรรณคดีที่เป็นบทร้อยกรองต่าง ๆ อย่างที่เคยเรียนกันในบทที่ผ่านมา แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากอีกเรื่องหนึ่งเพราะได้สอดแทรกทั้งคุณธรรมและข้อคิดเตือนใจซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ เมื่อเรียนบทนี้จบแล้วน้อง ๆ ก็อย่าลืมตระหนักถึงข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้กันอยู่เสมอนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อเป็นการทบทวนบทบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายเกี่ยวกับตัวบทเล่น ๆ รวมถึงคุณค่าซึ่งได้ยกตัวอย่างบทประพันธ์และอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ   จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย     เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน

การหารทศนิยมในระดับชั้นป.5

บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการหารทศนิยม 2 รูปแบบก็คือ การหารทศนิยมด้วยจำนวนเต็ม และการหารทศนิยมด้วยทศนิยม หลังจากที่น้องๆ ได้อ่านบทความนี้แล้ว รับรองว่าจะทำให้เข้าใจการหารทศนิยมได้มากขึ้นและสามารถนำวิธีคิดไปแก้โจทย์การหารทศนิยมได้

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1