พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมา

 

พระบรมราโชวาท

 

วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ

 

พระบรมราโชวาท

 

พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ มีดังนี้

1. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระจันทบุรีนฤนาถ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี (ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์) ในสมัยรัชกาลที่ 7 และต่อมาทรงเป็นต้นราชสกุล “กิติยากร” ซึ่งมาจากพระนามของพระองค์นั่นเอง

2. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” จึงเกิดวันรพีขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้น ยังทรงเป็นต้นราชสกุล “รพีพัฒน”

3. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงปราจิณกิติบดี และทรงดํารงตําแหน่งราชเลขาธิการ (หมายถึงเลขาธิการของพระมหากษัตริย์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุล “ประวิตร” อีกด้วย

4. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก รวมถึงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และยังทรงเป็นต้นราชสกุล “จิรประวัติ”

 

พระบรมราโชวาท

 

เนื้อหาในวรรณคดีเรื่อง พระบรมราโชวาท

 

พระบรมราโชวาท

 

เนื้อเรื่องเป็นการสั่งสอนพระโอรส โดยเริ่มต้นพูดถึงจุดประสงค์ในการส่งพระโอรสไปศึกษาเล่าเรียนยังต่างประเทศ ต่อมาพูดเรื่องเงินที่มอบให้ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์เพื่อป้องกันข้อครหาจากชาวบ้าน จะใช้อย่างไรก็ได้แต่ต้องใช้ให้เกิดคุณค่าที่สุดโดยแนะนำให้นำไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยโดยให้ผู้ดูแลเป็นธุระถอนเงินออกมาให้เพราะยังไม่มีพระโอรสคนไหนอายุถึง 21 ปี และยังกำชับอีกว่าการส่งลูกไปเรียนก็เหมือนการแบ่งมรดกให้ลูกไปศึกษาหาความรู้

ต่อมา พูดถึงการเกิดมามียศ การรับราชการถ้าจะให้ยศต่ำก็ไม่สมควร แต่หากจะให้ยศสูงก็เกรงใจว่าความรู้ความสามารถจะไม่ถึง จึงอยากให้ลูก ๆ ตั้งใจเรียนเพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศชาติ อย่าทำตัวไร้ประโยชน์ อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินแล้วจะทำอะไรไม่ดีกับใครก็ได้ และยังได้ทรงย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เงินว่าไม่ควรฟุ่มเฟือย อย่าก่อหนี้สิน

เนื้อหาต่อไปในจดหมายพูดถึงวิชาที่ควรศึกษา โดยต้องการให้ศึกษาวิชาเลขและภาษาทั้ง 3 ภาษาคือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่อยากให้ละเลยภาษาไทย ควรฝึกภาษาไทยอยู่เสมอเนื่องจากว่าอย่างไรก็ต้องกลับมาทำงานที่ประเทศไทย และยังแนะว่าไม่ให้พูดไทยคำอังกฤษคำ และสุดท้ายคือการบอกกับพระโอรสว่ากรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการจะเป็นผู้ดูแลทุกอย่าง

 

เมื่อสรุปออกมาแล้วจะได้ใจความหลัก ๆ ทั้ง 7 ข้อดังนี้

1. ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ถึงแม้ว่าพระโอรสทั้ง 4 จะเป็นลูกของกษัตริย์ แต่ก็ไม่ให้เจ้ายศเจ้าอย่าง เพราะหากแสดงตัวว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ก็จะถูกจับตามอง จึงให้ตัวเหมือนสามัญชน

2. มรดกที่ประเสริฐกว่าทรัพย์คือความรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียน

3. ตั้งใจอุตสาหะเล่าเรียนเพื่อทำคุณแก่บ้านเมือง เนื่องจากว่าต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าประเทศไทยมาก พระองค์จึงหวังให้พระโอรสทั้ง 4 นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมากลับมาพัฒนาชาติของตัวเองให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับนานาประเทศ

4. อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน จงประพฤติตัวให้ดี เป็นการตักเตือนให้ประพฤติตัวให้ดี ไม่มีข้อยกเว้นแม้จะเป็นลูกกษัตริย์

5. จงประหยัด อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อย่าก่อหนี้ และกำชับเงินที่ส่งไปศึกษาเล่าเรียนนั้นเป็นเงินส่วนพระองค์ซึ่งได้มาจากประชาชน

6. วิชาที่ต้องเรียนคือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และวิชาเลข

7. กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการเป็นผู้คอยดูแลทุกอย่างให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์

 

พระบรมราโชวาท

 

น้อง ๆ สามารถอ่านวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทฉบับเต็มได้ที่ หอสมุดแห่งชาติ

 

สำหรับบทเรียนประวัติความเป็นมาวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทก็จบลงไปแล้วนะคะ น้อง ๆ จะได้เห็นเรื่องราวคร่าว ๆ ไปแล้ว แต่ในบทเรียนครั้งต่อไป น้อง ๆ จะได้เจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ เรียนรู้คำศัพท์และศึกษาคุณค่าของบทประพันธ์ค่ะ แต่ก่อนที่จะไปเรียนเรื่องนั้น น้อง ๆ ก็อย่าลืมทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนกันไปโดยการเปิดคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างทบทวนบทเรียน ครูอุ้มอธิบายเนื้อหาหลัก ๆ ทั้ง7ข้อให้ออกมาเข้าใจอย่างง่าย ไม่ยากเลยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ศึกษาที่มาของมรดกทางวรรณคดีของชาติ

ในยุคสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า ภาวะการเจ็บป่วยของประชาชนมีมากขึ้น แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้แพทย์และประชาชนสามารถศึกษาเรื่องของโรคภัยได้ด้วยตนเอง เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณคดีของชาติที่สำคัญมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคีเรื่องสำคัญที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบทอดว่ามีที่มาและเนื้อหาอย่างใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์   ความเป็นมา แพทยศาสตร์สงเคราะห์   ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง มีที่มาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงเห็นว่า บรรดาคัมภีร์แพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยนั้นมีความสำคัญ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การรักษาไว้

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่มาของวรรณคดีเชิงสารคดี

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นวรรณคดีที่สำคัญในฐานะสารคดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง พร้อมเรียนรู้ความหมายของกาพย์ห่อโคลงและเนื้อเรื่องโดยสรุปของเรื่องด้วย ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง     กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นบทชมธรรมชาติที่แต่งเพื่อความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางของกระบวนเสด็จทางสถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง ซึ่งธารทองแดงในที่นี้ เป็นชื่อลำน้ำที่เขาพระพุทธบาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี   ประวัติเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร   เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1