ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11 อีก 7 บท มีสาระสำคัญคือ การแสวงหาความรู้และการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

ตัวบท

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

แปล

คนที่มีความสามารถ มีได้เพราะรู้จักศึกษาหาความรู้ มีความรับผิดชอบ พยายามหาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองสงสัย และหาความรู้อยู่เสมอ มีความรับผิดชอบ และดำเนินชีวิตไปอย่างมีเหตุผล สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้เจริญ

 

 

แปล

ถ้าคนเรามีความสามารถ มีความรับผิดชอบ รู้จักวิเคราะห์พิจารณา ก็จะมีความเจริญยิ่งขึ้น ดังนั้นคนที่ยังมีอายุน้อยอยู่ก็ควรจะสนใจในการศึกษา เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญให้กับความสามารถของตัวเอง เพราะความรู้ที่มียังมีไม่มากพอ ต้องขัดเกลานิสัยตัวเองให้ฝึกคิดวิเคราะห์ และรู้สึกใช้สติปัญญาเพื่อให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถ

 

 

แปล

การจะทำอะไรต้องพิจารณาด้วยความรู้ความสามารถอย่างมีเหตุมีผลถึงจะพูดได้ว่าเรามีสติปัญญาอย่างเต็มเปี่ยม ปัญหาก็เหมือนกับมีด การลับมีดกับหินให้คมนั้นทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าเราใช้มีดไม่เป็น เอาไปฟันคนเล่นก็จะได้รับโทษหนัก เมื่อใดที่เราใช้มีดเป็น ก็จะสามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ไม่ยาก

 

คำศัพท์น่ารู้

ปรีชา หมายถึง ความสามารถ

วิทยา หมายถึง ความรู้

พิจารณ์ หมายถึง ตรวจสอบ ตริตรอง

ยล หมายถึง มอง

พิพัฒน์ หมายถึง ความเจริญ

เพ็ญ หมายถึง เต็ม

มหันต์ หมายถึง ใหญ่, มาก

กอบกิจ หมายถึง ทำงาน

อนันต์ หมายถึง ไม่มีที่สิ้นสุด

ศัสตรา หมายถึง อาวุธ

 

ข้อคิด

การจะเป็นผู้เจริญที่มีความรู้ความสามารถนั้นจะต้องใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบ ใช้วิจารญาณในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กเพื่อให้เชี่ยวชาญทั้งในด้านการสังเกต การใช้เหตุผลและการตัดสินใจ

 

บทร้อยกรองสุภาษิตเรื่องผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นการแต่งในเชิงอธิบายเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจความหมายของสุภาษิตมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้คำยากที่ยากเกินไป เมื่อเรามีความเข้าใจในสุภาษิตแล้ว ก็จะสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ น้อง ๆ เมื่อได้เรียนรู้บทประพันธ์กันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เราได้มีความรู้ ความสามารถมากขึ้นกันด้วยนะคะ และที่สำคัญที่สุดก็คือ น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนด้วยการชมคลิปการสอนของครูอุ้ม ในคลิปครูอุ้มได้อธิบายตัวบทให้น้อง ๆ เข้าใจอย่างง่าย ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

สัจนิรันดร์

ในบทความจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ ซึ่งจะเน้นให้น้องๆเข้าใจหลักการของการพิสูจน์ สิ่งที่น้องจะได้จากบทความนี้คือ น้องจะสามารถพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้และหากน้องๆขยันทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับสัจนิรันดร์ได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1