บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า

บทพากย์เอราวัณ

ประวัติความเป็นมา

สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก รามายณะ ของอินเดีย ในเนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่การบรรยายถึงความงดงามของกระบวนทัพที่มีอินทรชิตจำแลงกายลงมาเป็นพระอินทร์อีกทั้งยังมีลูกสมุนยักษ์ที่จำแลงกายลงมาเป็นเหล่าเทวดา และช้างเอราวัณที่มีรูปร่างสง่างาม ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงใช้ลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 มาพรรณนาถึงรูปร่างของช้างตัวนี้ไว้ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จนกลายเป็นเป็นบทพากย์เอราวัณที่เราจะได้เรียนกันต่อไปนี้นั่นเอง

บทพากย์เอราวัณ

เรื่องราวก่อนเกิดบทพากย์เอราวัณ

ก่อนที่เราจะมาดูตัวบท หรือถอดความตัวบทที่น้อง ๆ เคยได้เรียนมาเราต้องมาดูเหตุการณ์หรือเรื่องราวก่อนจะมีบทพากย์เอราวัณ เป็นการเล่าถึงภูมิหลังที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต โดยเนื้อเรื่องนั้นมีอยู่ว่า รณพักตร์ หรืออินทรชิต ซึ่งเป็นลูกของทศกัณฑ์กับนางมณโฑตอนที่มีอายุครบ 14 ปีก็ได้เรียนวิชากับ “มหากาลอัคคี” ฤๅษีโคบุตรและเพียรบำเพ็ญตบะจนทำให้มหาเทพทั้ง 3  (พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม) ได้ประทานอาวุธวิเศษให้ 3 อย่าง โดยพระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์ และพรที่สามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรนาคบาศ และพรที่ว่าหากศีรษะของรณพักตร์ตกลงพื้นจะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกมีวิธีเดียวคือต้องนำพานแว่นฟ้าหรือพานแก้วของพระพรหมเท่านั้มารองศีรษะเท่านั้นจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ได้ประทานศรวิษณุปาณัม ซึ่งหลังจากที่รณพักตร์ได้รับอาวุธวิเศษเหล่านี้ไปแล้วก็ได้ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อท้ารบกับพระอินทร์ เพราะรณพักตร์นั้นเคยสู้กับกองทัพพระราม พระลักษณ์มาหลายต่อหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้กลับไป ครั้งนี้จึงได้คิดอุบายด้วยการใช้ยักษ์ที่ชื่อ “การุณราช” แปลงกายเป็น “ช้างเอราวัณ” และให้ยักษ์ “โลทัน” แปลงกายมาเป็นเหล่าเทวดาในกระบวนทัพ ส่วนตนนั้นจะแปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และการสู้รบครั้งนี้รณพักตร์ก็เป็นฝ่ายที่ได้ชัยชนะกลับไปจนได้รับฉายานามใหม่ว่า ” อินทรชิต” ที่มีความหมายว่าเป็นผู้พิชิตพระอินทร์ได้

บทส่งท้าย

สำหรับเนื้อหาวันนี้ที่เรานำมาฝากน้อง ๆ ทุกคน จะเป็นที่มาและภูมิหลังของบทพากย์เอราวัณ หวังว่าทุกคนจะได้สาระความรู้เพิ่มขึ้น ครั้งต่อไปเราจะมาดูตัวบทที่น่าสนใจ และถอดความร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเนื้อเรื่อง และสนุกไปกับการเรียนวรรณดดีเรื่องนี้มากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมติดตามเนื้อหาส่วนต่อไป และถ้าใครที่อยากจะฟังครูอุ้มสอนเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง     สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง

บทพากย์เอราวัณ

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ คำศัพท์ กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย อมรินทร์   

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

M6 Phrasal Verbs

Phrasal Verbs 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Phrasal Verbs  Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป ไม่เป็นทางการมาก ข้อดีคือจะทำให้ภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นนั่นเองจ้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1