นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของนิทานเวตาล

 

นิทานเวตาล

 

นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา เรียบเรียง
ขึ้นใหม่และรวบรวมไว้ในหนังสือรวมนิทานโบราณของอินเดียเล่มสําคัญคือกถาสริตสาคร ก่อนจะถูกแปลไปอยู่ในภาษาต่าง ๆ ส่วนของไทยนั้นแปลมาจากภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 4 สำนวนที่แพร่หลายคือ เวตาลปกรณัม ลิลิตเพชรมงกุฎ นิทานเวตาล และเวตาลปัญจวิงศติ แต่ที่นิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือฉบับที่แปลโดย พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส โดยพระองค์ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน (Sir Richard Francis Burton) มาแปล จำนวน 9 เรื่อง และของ ซี.เอช.ทอนว์นีย์ (C.H Tawney) มาแปลอีก 1 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 10 เรื่อง

 

นิทานเวตาล

 

เรื่องย่อ

 

 

ต้นเรื่อง

พระวิกรมาทิตย์ เป็นกษัตริย์ครองกรุงอุชชยินี ในตอนที่พระองค์ไปสู้กับยักษ์เพื่อแย่งเมืองตัวเองคืน ยักษ์ก็ได้เตือนว่าพระองค์จะสิ้นชีพเร็ว ๆ นี้ด้วยฝีมือของโยคีที่มีความแค้นต่อพระบิดาของพระองค์ เวลาผ่านไป บ้านเมืองสงบ พระวิกรมาทิตย์ ออกเยี่ยมประชาชนอยู่เสมอ แต่ในทุก ๆ วัน จะมีพ่อค้า หรือตัวจริงก็คือโยคีชื่อศานติศีลมาขอเข้าเฝ้าและถวายผลไม้ โดยปกติแล้วพระวิกรมาทิตย์จะไม่สนใจ กระทั่งวันหนึ่งพระองค์ได้ผลไม้มาแล้วให้ลิงที่เลี้ยงไว้กิน เมื่อกัดเข้าไปก็ทำให้รู้ว่าข้างในคือทับทิม เมื่อโยคีศานติศีลมาเข้าเฝ้าอีกครั้ง พระองค์จึงถามว่าจะตอบแทนได้อย่างไรบ้าง โยคีศานติศีลจึงให้พระวิกรมาทิตย์ไปจับเวตาลซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศกมาให้เพื่อใช้ในพิธี พระองค์จึงออกไปจับเวตาล และเมื่อจับได้ เวตาลก็จะพยายามเล่านิทานอุทาหรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้พระวิกรมาทิตย์ตอบกลับมา เพราะทุกครั้งที่ตอบคำถาม เวตาลจะลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกดังเดิม ทำให้พระวิกรมาทิตย์ต้องเดินกลับและเริ่มพาเวตาลแบกขึ้นใหม่ทุกครั้ง

ฉบับพระนิพนธ์ใน กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีด้วยกัน 10 เรื่อง ส่วนเรื่องที่เราจะได้เรียนกันคือ เรื่องที่ 10

 

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

 

เวตาลเบื่อที่จะต้องโดนแบกไปมาแล้ว จึงจะเล่าเรื่องยาก ๆ ให้พระองค์ตอบไม่ได้ โดยเรื่องที่ 10 ที่เวตาลเล่าให้พระวิกรมาทิตย์ฟังนั้น มีอยู่ว่า

ท้าวจันทรเสน เข้าป่าล่าสัตว์ไปพร้อมกับพระราชบุตร และได้พบรอยเท้าของคนสองคนในป่า ทั้งสององค์ทรงพิจารณาและแน่พระทัยจากขนาดของรอยเท้าว่าเป็นรอยเท้าของผู้หญิง เมื่อรู้ว่ามีผู้หญิงอยู่ในป่าก็เกิดความสนใจ เพราะเชื่อว่าผู้หญิงที่เจอในป่ามักจะสวยกว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมือง ท้าวจันทรเสนเองก็เพิ่งจะสูญเสียพระมเหสีไป เมื่อเห็นว่ามี 2 รอยเท้าพอดี จึงทำสัญญาแบ่งนางกับพระราชบุตร โดยพระองค์นั้นเลือกรอยเท้าใหญ่ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นคนมีอายุมากกว่าเจ้าของรอยเท้าเล็ก จึงให้นางเจ้าของรอยเท้าเล็กกับพระราชบุตรเป็นพระชายา โดยที่ไม่รู้ว่านางทั้งสองนั้น นางหนึ่งเป็นมเหสีของท้าวมหาพลพระราชาแห่งกรุงธรรมปุระ อีกนางหนึ่งคือพระธิดาของนางทั้งสององค์ติดตามท้าวมหาพลที่ลี้ภัยทางการเมือง ขณะที่อยู่ในป่า ท้าวมหาพลถูกโจรฆ่า ทั้งสองนางต้องหนีต่อจนกระทั่งได้พบกับท้าวจันทรเสนและพระราชบุตร โดยเจ้าของรอยเท้าใหญ่ แท้จริงคือพรระธิดา ส่วนเจ้าของรอยเท้าเล็ก เป็นของพระมเหสีที่รูปร่างเล็กกว่าพระธิดา

จากนั้นเวตาลจึงถามพระวิกรมาทิตย์ว่า “ลูกของท้าวจันทรเสนที่เกิดกับธิดาท้าวมหาพล และลูกของมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรของท้าวจันทรเสนจะนับญาติกันอย่างไร” เมื่อพระวิกรมาทิตย์ไม่ตอบคำถามนั้น เวตาลจึงไม่ได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกและชี้แนะพระวิกรมาทิตย์ว่าแท้จริงแล้วโยคีประสงค์ร้าย หวังจะห่าและยึดเมือง ให้พระองค์ทำทีเป็นเชื่อแล้วชิงสังหารโยคีก่อน เมื่อมาถึงพระวิกรมาทิตย์ก็ทำตามที่เวตาลบอก ทำให้จัดการโยคีได้สำเร็จ

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ สำหรับวรรณคดีอินเดียโบราณเรื่องนี้ นิทานเวตาลไม่เพียงแต่จะให้ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน แต่ยังให้ข้อคิด และมีคติธรรมคำสอน เรียกได้ว่าเป็นนิทานแห่งปัญญาที่มีปริศนาธรรมให้คนอ่านได้ฝึกคิดวิเคราะห์ไปพร้อม ๆ กับพระวิกรมาทิตย์เลยทีเดียว สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปครูอุ้มระหว่างทำแบบฝึกหัดกันนะคะเพื่อให้ได้เข้าใจถึงเรื่องราวของเวตาลมากขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1