ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

รามเกียรติ์ มาจากวรรณคดีของอินเดียที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ส่วนการเข้ามาของวรรณคดีในประเทศไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในสมัยนั้นมักนำมาแต่งเป็นบทพากย์โขน พากย์หนัง และบทละครซึ่งใช้ในการแสดงละครรำ แต่รามเกียรติ์ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุด คือรามเกียรติ์ที่เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือ รัชกาลที่ 1 จุดประสงค์ในการประพันธ์เรื่องนี้มาจากการที่พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูและรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาและใช้เล่นละครในพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ. 2328 – 2329

 

รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นบทละครใน มีคนแสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด คำประพันธ์ที่ใช้แต่งเป็นกลอนบทละคร

 

 

รามกียรติ์ เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเป็นพระราม อภิเษกสมรสกับนางสีดา ต่อมานางสีดาถูกทศกัณฐ์ลักพาตัวมาไว้ที่กรุงลงกา พระรามออกตามหานางสีดา โดยระหว่างนั้นก็ได้พบทหารที่มีฝีมือมากมายและมีหนุมานเป็นทหารเอก สำหรับตอนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ ตอน ศึกไมยราพ ซึ่งเป็นอีกตอนหนึ่งที่สำคัญและสนุกเข้มข้นที่สุด เราไปดูเรื่องย่อของตอนนี้กันค่ะ

 

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

ไมยราพได้รับบัญชาจากทศกัณฐ์ให้มาช่วยรบกับพระราม แต่ก่อนไปทำศึก ไมยราพฝันเป็นลางว่ามีดาวดวงน้อยเปล่งรัศมีมาบดบังดวงจันทร์ โหรทำนายว่าพระญาติ (ไวยวิก) จะได้ขึ้นครองเมืองแทน ไมยราพจึงหาทางป้องกันมิให้เป็นไปตามคำทำนายโดยการจับไวยวิกและนางพิรากวนผู้เป็นมารดาของไวยวิกและเป็นพี่สาวของไมยราพ ไปขังไว้ ฝ่ายพระรามก็ฝันว่าราหูมาบดบังพระอาทิตย์ พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกลักพาตัวไปแต่จะรอดกลับมาได้ เมื่อใดที่พระอาทิตย์ขึ้น พระรามจะพ้นเคราะห์ หนุมานจึงหาทางป้องกันไม่ให้พระรามถูกลักพาตัวโดยการเนรมิตกายให้ใหญ่แล้วอมพลับพลาที่ประทับของพระรามเอาไว้

 

รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

ไมยราพซึ่งปลอมตัวเป็นพลทหารลิงแอบล่วงรูปความลับนี้จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศแล้วทำให้เกิดความสว่าง เหล่าทหารที่คิดว่าเช้าแล้วก็เข้าใจว่าพระรามพ้นเคราะห์ จึงละเลยต่อหน้าที่ ไมยราพจึงได้โอกาสเข้าไปเป่ายาสะกดให้ทุกคนหลับใหลแล้วก็แบกพระรามแทรกแผ่นดินกลับไปเมืองบาดาลและสั่งให้ทหารนำพระรามไปขังไว้ในกรงเหล็กที่ดงตาลท้ายเมืองบาดาลและสั่งให้นางพิรากวนตักน้ำใส่กระทะใหญ่เพื่อเตรียมต้มพระรามกับไวยวิกในวันรุ่งขึ้น เมื่อหนุมานรู้เรื่องก็รีบตามมาช่วยที่เมืองบาดาล ระหว่างทางหนุมานได้พบกับด่านต่าง ๆ กระทั่งเจอกับมัจฉานุ ผู้เป็นลูก จึงขอให้ช่วยบอกทางไปยังเมืองบาดาลให้ หนุมานไปถึงเมืองบาดาลและพบกับนางพิรากวนที่ออกมาตักน้ำตามคำสั่งของไมยราพ จึงขอให้นางพิรากวนพาเข้าเมืองบาดาลโดยการแปลงเป็นใบบัวติดสไบนางเข้าไป หนุมานหาพระรามจนพบแล้วพาตัวออกมาแล้วย้อนกลับไปสู้กับไมยราพจนได้รับชัยชนะในที่สุด

 

 

รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีสำคัญของไทย มีชื่อเสียงและโด่งดัง ถูกนำไปสร้างทั้งการ์ตูนและภาพยนตร์ ในตอนศึกไมยราพนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่มีความสนุกมากที่สุด เพราะนอกจากจะได้เห็นความจงรักภักดีของหนุมานที่มีต่อพระรามแล้ว ยังได้เห็นความรักระหว่างพ่อลูกที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน รวมไปถึงความสามารถของหนุมานที่สามารถเอาชนะยักษ์อย่างไมยราพได้ ใบบทต่อไปเราจะได้ศึกษาเรื่องนี้กันต่อในส่วนของตัวบทที่เด่น ๆ และคุณค่าในเรื่อง แต่ก่อนไป น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนความรู้โดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

Profile-even if-only if- unless grammartical techniques

Even if, Only If, Unless ใช้ยังไงในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.  6 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคการใช้ Even if, Only if, Unless มาฝากกันค่ะ หลายคนที่อาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว แต่อาจะจะลืมไปหรือบางคนอาจจะยังไม่เคยเรียนเลย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะเริ่มกันใหม่ ไปลุยกันเลย ความหมายโดยรวมของ Even if, Only if, Unless คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมความขัดแย้งของประโยคเงื่อนไข ย้ำนะคะว่า

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน จุดทึบและจุดโปร่ง เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้ มากกว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1