ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ

ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย

 

บทที่ 1

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

กล่าวถึงเหตุการณ์ทางหงสาวดี ในตอนที่พระเจ้าหงสาวดีตรัสเชิงประชดกับพระมหาอุปราชาที่กลัวการยกทัพไปรบกับไทยว่าถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะ จะได้หมดเคราะห์

 

บทที่ 2

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

มาจากตอนที่พระมหาอุปราชาเสด็จไปลานางสนมซึ่งร่ำไห้คร่ำครวญและขอตามเสด็จไปด้วย พระมหาอุปราชาได้ตรัสบอกแก่นางสนมว่าหนทางนั้นลำบาก พระองค์จึงจำใจต้องจากเหล่าสนมไปในไม่ช้าก็คงจะได้กลับคืนมา

 

บทที่ 3

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เป็นตอนที่พระเจ้านันทบุเรงทรงให้โอวาทกับพระมหาอุปราชาว่าสงครามมีมากเล่ห์แสนกล อย่าได้ฟังความตื้นๆ อย่าทะนงตน การศึกนั้นมันซับซ้อนนัก เป็นหนึ่งในหลักการครองงาน

 

บทที่4

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

พระเจ้านันทบุเรงทรงให้โอวาทกับพระมหาอุปราชาก่อนออกไปทำศึกสงครามว่าโบราณท่านว่าขอให้เอาใจทหาร อย่าได้ไปคบกับคนโง่คนเขลา เป็นบทที่มีคำสอนอยู่ทั้งหลักครองคนและครองตน

 

บทที่ 5

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

โอวาทที่พระเจ้านันทบุเรงให้กับพระมหาอุปราชาว่า ขอให้รู้พยุหค่ายกลศึก วิชาการทหาร ตำราพิชัยสงคราม รู้แบบนี้แล้วก็อาจสามารถรบชนะได้ เป็นหนึ่งในหลักการครองงาน ว่าให้รู้รู้ตำราพิชัยสงคราม

 

บทที่ 6

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

มีความหมายว่าให้รู้จักการปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถในการปราบศัตรู จงขยันหมั่นเพียร อย่าย่อหย่อนอย่าเกียจคร้าน อยู่ในหลักครองคน ให้ปูนบำเหน็จแก่นายทหารที่มีฝีมือ และหลักครองตนที่ให้อย่าหย่อนความเพียรเพราะความเกียจคร้าน และย้ำให้ปฏิบัติตามโอวาททั้ง 8 ที่ให้ไป

 

บทที่ 7

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เป็นบทที่พระมหาอุปราชารำพันถึงนางสนม ทรงเห็นต้นสลัดได ก็หวนคิดถึงแต่น้องนาง ที่ต้องมารอนแรมอยู่กลางป่าก็เพราะว่าสงคราม เห็นต้นสละ ก็เหมือนที่พี่ต้องจำใจสละน้องมา เห็นต้นระกำ ก็เหมือนที่พี่ต้องระกำใจ

 

บทที่ 8

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เป็นบทรำพึงถึงนางของพระมหาอุปราชาต่อเนื่องจากบทที่แล้ว มีความหมายว่า ดอกสายหยุดพอสายก็หมดกลิ่น แต่ดวงใจพี่แม้ในยามสาย ไม่คลายรักน้องจะกี่คืนกี่วันที่พี่จากน้องมา พี่ก็หวนคิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้จะหยุดได้อย่างไร

 

บทที่ 9

 

เป็นตอนที่พระมหาอุปราชากล่าวรำพึงรำพันขณะเดินทางไปรบเพียงลำพังโดยไม่ได้มีพระเจ้านันทบุเรงผู้เป็นบิดาตามมาด้วยทำให้หนักใจเป็นอย่างมากจึงกล่าวว่า การศึกสงครามในครั้งนี้เป็นที่หนักใจหนักหนา พระองค์ทรง หนาวเหน็บพระทัย หากต้องตายไปในสนามรบใครจะนำร่างกลับไป ศพคงจะถูกทิ้งไว้ไร้คนเผาเป็นแน่

 

บทที่ 10

 

เป็นตอนทำสงคราม ขณะสู้รบกันอยู่แล้วช้างของสมเด็จพระนเรศวรตกมัน วิ่งเข้าไปในป่าเพียงลำพัง แล้วเห็นว่าทัพของพม่ามีการจัดทัพแบบ 16 กษัตริย์ คือมีช้าง 16 เชือก เพื่อไม่ให้รู้ว่าพระมหาอุปราชาอยู่บนช้างเชือกไหน เมื่อเห็นดังนั้นพระองค์จึงทรงเร่งไสช้างตามหาพระมหาอุปราชา

 

บทที่ 11

 

เป็นตอนการสู้รบของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา พระนเรศวรทรงเปรียบเทียบว่าช้างทรง ๒ ช้าง ของสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา เป็นเหมือนช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างทรงของพระอินทร์ และช้างคีริเมขล์ซึ่งเป็นพาหนะของวสวัตดีมารมาชนช้างกัน

 

บทที่ 12

 

เป็นของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ถอดความหมายได้ว่า สมเด็จพระนเรศวรต้านทานพระมหาอุปราชาไว้ได้ ทั้งสองพระองค์ไม่ได้ทรงยำเกรงกลัวกันเลย สมเด็จพระนเรศวรใช้พระหัตถ์ยกพระแสงของ้าวเหวี่ยงไปมา เพื่อสู้กับข้าศึก

 

บทที่ 13

 

เป็นตอนที่พระนเรศวรทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ในตอนที่พระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทีจ้วงฟัน ถูกพระอังษา พระมหาอุปราชาซบลงกับคอช้าง และสิ้นพระชนม์

 

คุณค่าในลิลิตตะเลงพ่าย

 

คุณค่าของลิลิตตะเลงพ่ายนั้น มีทั้งด้านวรรณศิลป์ ที่ต้องบอกว่าลิลิตเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นลิลิตที่แต่งดีที่สุด ดังนั้นภาษาที่ใช้ในบทประพันธ์จึงสละสลวย มีการให้โวหาร ภาพพจน์และการซ้ำคำอันเป็นเอกลักษณ์ ไม่เพียงเท่านั้น วรรณคดีเรื่องนี้ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าด้านเนื้อหาและสังคม เพราะได้ถ่ายทอดเรื่องความเสียสละของกษัตริย์สมัยก่อนที่ได้ทำศึกเพื่อปกป้องชาติบ้านเมืองจากการรุกราน ทำให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักและภูมิใจในความเป็นไทย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้อง ๆ บทเด่น ๆ ในลิลิตตะเลงพ่ายนั้นดูจะมีมากกว่าวรรณคดีเรื่องที่เราได้เรียนผ่านกันมา นั่นเพราะว่าวรรณคดีเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องดังที่ไม่ว่าจะหยิบจับบทไหนขึ้นมาพูดก็ล้วนแล้วแต่จะไพเราะและเป็นที่รู้จักไปเสียหมดเลยล่ะค่ะ จากบทเรียนที่ได้เรียนไป คงจะทำให้น้อง ๆ เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าบทแต่ละบทนั้นมีความไพเราะแค่ไหน เป็นเรื่องราวที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดมากมายเลยค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปที่ครูอุ้มได้สรุปความรู้และประเมินค่าบทประพันธ์เรื่องนี้ได้เลยนะคะ รวมไปถึงคลิปเรื่องตัวบททั้ง 2 คลิปด้วย รับรองว่าน้อง ๆ จะอ่านและแปลลิลิตตะเลงพ่ายได้หมดทุกบทเลยล่ะค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

E6 This, That, These, Those

This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง This, That, These, Those กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   เข้าสู่บทเรียน   ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ This,

นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

  นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง   เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์ บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ  

ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ราชาธิราช   ประวัติความเป็นมา     ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ

Compound sentences Profile

ประโยคความรวม (Compound Sentence)

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย     ประโยคความรวม (Compound Sentence)   ประโยคความรวม ภาษาอังกฤษคือ Compound Sentence อ่านว่า เคิมพาวดฺ เซนเท่นสฺ เป็นประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น for,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1