คำไทยที่มักอ่านผิด มีคำใดบ้างที่เราควรรู้?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การอ่านผิด เป็นปัญหาในการอ่านออกเสียง มีสาเหตุมาจากอ่านไม่ออก หรือ อ่านผิด หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะ ว่าการอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นผิดเพี้ยนไป หรือกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปเลยก็ได้ บทเรียน คำไทยที่มักอ่านผิด ในวันนี้ เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การอ่านสะกดคำที่ถูกต้อง กับคำในภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่มักอ่านผิดกันบ่อย ๆ จะมีคำใดบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำไทยที่มักอ่านผิด

 

ลักษณะของการอ่านผิดมีดังนี้

 

คำไทยที่มักอ่านผิด

 

– อ่านคำที่มีอักษรนำผิด

เช่น ปรำปรา (ปะ-รำ-ปะ-รา) อ่านเป็น (ปัม-ปา)

ขมุกขมัว (ขะ-หมุก-ขะ-หมัว) อ่านเป็น (ขะ-มุก-ขะมัว)

– คำพ้องรูป

เช่น เพลา (เพา) กับ เพลา (เพ-ลา)

แหน (แหน) กับ แหน (อ่านออกเสียงเป็น น สะกด)

– อ่านคำหรือข้อความที่มีเครื่องหมายประกอบผิด

เช่น คำที่มีเครื่องหมาย ไปยาลน้อย (ฯ) ได้แก่ โปรดเกล้าฯ ที่จะอ่านว่า โปรดเกล้า ไปยาลน้อยไม่ได้ แต่ต้องอ่านเป็นประโยคเต็มว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

– อ่านแยกคำหรืออ่านแบ่งวรรคตอนผิด

เข่น โฉนด (ฉะ-โหนด) อ่านเป็น (โฉ-นด)

 

ตัวอย่างคำที่มักอ่านผิด

 

คำไทยที่มักอ่านผิด

 

  • ประสบการณ์ (ประ-สบ-กาน) มักอ่านผิดเป็น ประ-สบ-มะ-กาน
  • สวรรคต (สะ-หวัน-คด) มักอ่านผิดเป็น (สะ-หวัน-นะ-คด)
  • เกษตรกรรม (กะ-เสด-ตระ-กำ) มักอ่านผิดเป็น (กะ-เสด-ตะ-กำ)
  • ขวนขวาย (ขวฺน-ขวาย) มักอ่านผิดเป็น (ขวน-ขวาย)

 

คำไทยที่มักอ่านผิด

 

การอ่านผิดถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญ ที่น้อง ๆ ทุกคนควรใส่ใจและตระหนักถึงการสะกดคำที่ถูกต้อง เพราะถ้าหากเราอ่านผิดกันบ่อยมากขึ้น และไม่สนใจคำที่ถูกต้อง ก็จะเป็นการทำลายภาษาอันทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนานของเราไปอย่างไม่รู้ตัว โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือลองอ่านออกเสียงบ่อย ๆ เพื่อให้จำคำที่ถูกต้องได้ โดยคำต่าง ๆ ที่ยกมาในตัวอย่าง น้อง ๆ สามารถตามไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังวิธีการออกเสียงของคำที่ถูกต้องได้ และอย่าลืมออกเสียงตามเพื่อฝึกออกเสียงกันด้วยนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

wh-questions + was, were

การใช้ Wh-questions  with  was, were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ Wh-questions  with  was, were (Verb to be in the past)” ไปลุยกันเลยจร้า Sit back, relax, and enjoy the lesson! —นั่งพิงหลังชิวๆ ทำใจสบายๆ แล้วไปสนุกกับบทเรียนกันจร้า—  

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1