คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

Picture of Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

1. สมเด็จพระสังฆราช

2. สมเด็จพระราชาคณะ

3. พระราชาคณะชั้นรอง

4. พระราชาคณะชั้นธรรม

5. พระราชาคณะชั้นเทพ

6. พระราชาคณะชั้นราช

7. พระราชาคณะชั้นสามัญ

8. พระครูสัญญาบัตร พระครูชั้นประทวน พระครูฐานานุกรม

9. พระเปรียญตั้งแต่ 3-9

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 คำสรรพนาม

 

1. ฆราวาสพูดกับพระสงฆ์

สรรพนามบุรุษที่ 1 (ฆราวาส) ในการแทนตัวเอง สามารถแทนได้ด้วยคำสรรพนามที่สุภาพและนอบน้อม เช่น ผม, กระผม, ฉัน, ดิฉัน, หนู เป็น

สรรพนามบุรุษที่ 2 (พระสงฆ์) การเรียกพระสงฆ์จะมีความแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ หากใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ก็ควรเรียกว่า พระคุณเจ้า แต่ถ้าใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมาก็ใช่ว่า พระคุณท่าน และสุดท้าย สามารถใช้ หลวงพ่อ, หลวงพี่ หรือท่าน กับพระภิกษุทั่วไป

 

2. พระสงฆ์พูดกับฆราวาส

สรรพนามบุรุษที่ 1 (พระสงฆ์) จะแทนตัวด้วย อาตมา, หลวงพ่อ, หลวงพี่, หลวงลุง, อาตมภาพ และถ้าหากพูดกับพระสงฆ์ด้วยกันจะใช้คำว่าผมหรือกระผม

สรรพนามบุรุษที่ 2 (ฆราวาส) การเรียกฆราวาสของพระภิกษุสงฆ์จะมีความต่างกันตามฐานะของฆราวาส อาทิเช่น หากพระภิกษุสงฆ์จะเรียกพระเจ้าแผ่นดิน ก็ต้องใช้คำว่า มหาบพิตร เรียกพระราชวงศ์องค์อื่น ๆ ใช้คำว่า บพิตร แต่กับบุคคลทั่วไปจะใช้คำว่า คุณ, เธอ, โยม, คุณโยม

 

3. คำขานรับของฆราวาส

ขอรับ, ครับ, เจ้าค่ะ, ค่ะ

 

คำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

 

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้พระสงฆ์ที่เราจะมาเรียนรู้กันในวันนี้คือคำราชาศัพท์ที่ใช้สนทนากับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปค่ะ จะมีคำใดบ้างที่น้อง ๆ ควรรู้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

ทำวัตร หมายถึง สวดมนต์ (ในโบสถ์)

เจริญพระพุทธมนต์ หมายถึง สวดมนต์ (ให้ญาติโยม)

อุปสมบท หมายถึง บวชพระ

บรรพชา หมายถึง บวชเณร

ลาสิกขา หมายถึง สึก (พระ, เณร)

อาสนะ หมายถึง ที่นั่ง

เสนาสนะ หมายถึง ที่นอน, ที่อยู่

ธรรมาสน์ หมายถึง ที่เทศน์

ถวายพระ หมายถึง มอบให้

ประเคน หมายถึง ยกให้ด้วยมือ

ภัตตาหาร หมายถึง อาหาร

มรณภาพ หมายถึง เสียชีวิต

อาพาธ หมายถึง ป่วย

ปลงผม หมายถึง โกนผม

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

ศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติที่อยู่คู่บ้านเมืองมาอย่างยาวนาน คนไทยหลาย ๆ คนที่นับถือศาสนาพุทธจึงต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ไว้เพื่อให้สามารถสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างถูกต้องและถูกกาลเทศะ ถึงแม้จะมีคำศัพท์ที่ต่างออกไปจากคำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจเลยใช่ไหมคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านจบแล้วแต่ยังอยากฟังคำอธิบายเพลิน ๆ ระหว่างทำแบบฝึกหัดและทบทวน ก็สามารถไปฟังคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มอีกครั้งได้เพื่อทำความเข้าใจและจดจำคำศัพท์ให้มากขึ้น ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

NokAcademy_Past Tense และ Present Continuous Tense

เรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense  ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด มาเริ่มกันกับ Past Tenses   ก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถาณการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational usage”

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

คำเชื่อม Conjunction

คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ (Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ หรือ Conjunctions” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ความหมาย Conjunctions คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่เคยรอใคร

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1