การเขียนบรรยาย อธิบาย พรรณนา เรียนรู้ 3 การเขียนที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

การเขียนบรรยาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทักษะการเขียนอธิบาย การเขียนบรรยาย และการเขียนพรรณนา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณในการอยากรู้และหาคำตอบ ดังนั้นเราจึงไม่อาจเลี่ยงตอบคำถามใครได้ ดังนั้นการตอบคำถามหรือทำให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น บทเรียนวันนี้เราจะมาเรียนรู้เทคนิคการเขียนทั้งสามแบบว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียน

 

การเขียนอธิบาย

 

การเขียนอธิบาย หมายถึง การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น มีกลวิธีการเขียนดังนี้

กลวิธีการเขียนอธิบาย

1. การอธิบายตามลำดับขั้น เป็นอธิบายไปทีละขั้นตอน ใช้ในการเขียนอธิบายถึงกิจกรรมหรือวิธีทำบางสิ่งบางอย่าง

 

 

2. การใช้ตัวอย่าง การยกตัวอย่างนี้จะเหมาะกับการเขียนเพื่ออธิบายหลักการ วิธีการ หรือข้อความบางอย่างที่เข้าใจยาก มีคำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนจึงต้องเขียนยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น

 

 

3. การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกัน เหมาะกับการใช้อธิบายสิ่งที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือสิ่งแปลกใหม่ โดยนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคยอยู่แล้วว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตัวอย่าง

“ลูกอมนี้รสชาติเปรี้ยวเหมือนกินมะนาวเข้าไปทั้งลูก” การอธิบายเช่นนี้เพื่อให้ผู้ฟังที่อาจจะยังไม่เคยกิน เข้าใจถึงรสชาติของลูกอมอย่างคร่าว ๆ ว่ามีรสชาติเปรี้ยวมาก

 

4.การชี้สาหตุและผลลัพธ์สัมพันธ์กัน เหมาะกับการใช้เขียนอธิบายเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผล โดยอาจจะเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์ หรือเขียนจากผลลัพธ์ไปสู่สาเหตุ

ตัวอย่าง

“การปอกมะปรางริ้วเป็นศิลปะชั้นสูง เพราะมะปรางเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่มมาก ถ้าจับหนักมือก็จะทำให้ช้ำ”

 

5. การให้นิยาม เหมาะกับการอธิบายศัพท์ยาก หรือคำศัพท์ที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน

 

 

การเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันโดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ เนื้อหาที่เขียนบรรยายอาจมาจากเรื่องจริงเช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมติ เช่น นิทาน นิยาย

 

กลวิธีการเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย

 

1. การเลือกหัวข้อ เนื้อหาและความคิดรวบยอด ในการเขียนบรรยายควรเลือกหัวข้อ เนื้อหา และความคิดรวบยอดที่น่าสนใจ ให้ความรู้ ความบันเทิง และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่านผู้ฟัง และตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหา

2. การจัดเนื้อหา

– การเขียนบรรยายจะมีเนื้อหาเป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้หลัก 5W1H เพื่อดำเนินเรื่องว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

– เลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญมาบรรยายเพื่อไม่ให้การบรรยายนั้นยืดยาวและน่าเบื่อ

– เรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อไม่ให้สับสน

– เรียงเหตุการณ์ไม่ให้สับสน

3. การเสนอบทบรรยาย

– แทรกบทพรรณนา เพื่อให้การบรรยายมีชีวิตจิตใจ

– ขมวดเป็นคำถาม คลี่คลายเป็นคำตอบเพื่อให้น่าสนใจ

– ผูกเป็นบทสนทนา แทนที่จะบรรยายอย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้การบรรยายน่าสนใจ

– นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร

 

การเขียนพรรณนา

 

การเขียนพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยยกการพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้ชัดเจน เพื่อให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ

กลวิธีการเขียนพรรณนา

1. วิเคราะห์สิ่งที่จะพรรณนา เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าสิ่งที่พรรณนาประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่วิเคราะห์ได้ เพื่อนำมารวมให้เป็นภาพหรืออารมณ์เดียวกัน

3. พรรณนาโดยเน้นลักษณะเด่น เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบทันทีว่าเป็นภาพอะไรหรืออารมณ์ใดแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะประกอบด้วย เพื่อให้ได้ภาพหรืออารมณ์ที่ครบถ้วน

4. เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพหรืออารมณ์สะเทือนใจ โดยใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ที่เหมาะสม

 

การเขียนบรรยาย กับ การเขียนพรรณนาต่างกันอย่างไร

 

การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ส่วนการพรรณนาเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียด

 

การเขียนบรรยาย

 

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนอธิบาย บรรยาย หรือพรรณนา ผู้เขียนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องที่จะเขียน เพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็จะสามารถเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับตัวเองได้แล้วค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของการเขียนทั้ง 3 แบบมากขึ้น น้อง ๆ ก็สามารถเข้าไปรับชมการสอนของครูอุ้มได้ตามคลิปด้านล่างนี้เพื่อทบทวนบทเรียนค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

การใช้คำ

เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การใช้คำ     การใช้คำกำกวม   คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1