การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

การอ่านบทร้อยกรอง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

 

 

จังหวะการอ่านกาพย์

กาพย์แต่ละประเภท จะแบ่งจังหวะดังนี้

 

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านกาพย์ยานี 11

 

กาพย์ยานีมีจังหวะที่ดำเนินช้า จึงนิยมแต่งในความพรรณนา เช่น ชมนกชมไม้ พรรณนาความสวยงามของธรรมชาติ พรรณนาอารมณ์โศก คร่ำครวญ หรือใช้แต่งบทสวด บทสรภัญญะที่ใช้ในบทละคร เป็นต้น

 

ตัวอย่าง

เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//

ทิพากร/จะตกต่ำ//

สนธยา/จะใกล้ค่ำ//

คำนึงหน้า/เจ้าตาตรู//

 

การอ่านกาพย์ฉบัง 16

 

กาพย์ฉบังจะใช้พรรณนาธรรมชาติที่เคลื่อนไหว พรรณนาอารมณ์คึกคัก สดชื่น รื่นเริง เป็นต้น กาพย์ฉบัง 16 แบ่งจังหวะวรรคแรกและวรรคท้ายเป็น 2/2/2 วรรคกลางเป็น 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

สัตว์จำ/พวกหนึ่ง/สมญา

พหุ/บาทา//

มีเท้า/อเนก/นับหลาย//

 

ทำนองการอ่านกาพย์

 

กาพย์ยานี 11

วรรคที่ 1 และ 2 อ่านเสียงให้เป็นกลาง ๆ หรือเสียงสูงในวรรคที่ 2 ส่วนวรรคที่ 3 และ 4 อ่านเสียงสูงขึ้น 1 บันไดเสียง หรืออ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค โดยบางวรรคอาจสลับเป็นอ่านเสียงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ

กาพย์ฉบัง 16

อ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค หรืออ่านวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคอื่น 1 บันไดเสียง

 

การอ่านกาพย์ควรใส่อารมณ์สอดแทรกลงไปในบทที่อ่าน ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้วอ่านถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นท่วงทำนองให้น่าฟัง

 

การอ่านบทร้อยกรอง ประเภทโคลง

 

 

โคลง มีลักษณะการใช้คำที่สั้น กะทัดรัด เนื้อความกระชับ เนื่องจากมีการดำหนดจำนวนจำแต่ละวรรคไม่มากนัก และยังมีคำเอกคำโทอีกด้วย  ทำให้บางคนอ่านแล้วอาจทำให้เสียงหลง แต่ถ้าหากอ่านให้ถูกวิธี การอ่านโคลง ก็จะไพเราะไม่แพ้บทร้อยกรองประเภทอื่นเลยค่ะ

 

การแบ่งจังหวะการอ่านโคลง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ จะแบ่งจังหวะ 3 บาทแรก เป็น 2/3 และ 2 หรือ 2/2 ถ้ามีคำสร้อย บาทสุดท้ายเป็น 2/3 และ 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

ผลเดื่อ/เมื่อสุกไซร้//  มีพรรณ

ภายนอก/แดงดูฉัน//  ชาดป้าย

ภายใน/ย่อมแมลงวัน//  นอนบ่อน

ดุจดั่ง/คนใจร้าย//  นอกนั้น/ดูงาม

 

ทำนองการอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

-อ่านด้วยเสียงระดับเดียวกันทั้งบท บางคำขึ้นลงสูงต่ำตามเสียงวรรณยุกต์ ยกเว้นวรรคแรกของบาทที่ 3 จะอ่านเสียงสูงกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง หรือวรรคสุดท้าย อาจจะอ่านเป็นเสียงต่ำกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง

-คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 2 หากเป็นเสียงตรี สามารถอ่านได้สองแบบ คือ อ่านผวนเสียงขึ้นสูง หรืออ่านเสียงทบต่ำ

-คำสุดท้ายของบาทที่ 1 หรือ 4 หากเป็นเสียงจัตวา มักอ่านขึ้นเสียงและผวนเสียงขึ้นสูง

 

 

จบไปแล้วนะคะ สำหรับบทเรียนเรื่องการอ่านบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์และโคลง เป็นอีกคำประพันธ์ที่เมื่ออ่านแล้วจะมีความไพเราะมาก ไม่ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ น้อง ๆ สามารถฝึกอ่านได้ด้วยตัวเอง หรือจะไปฟังคำอธิบายจากครูอุ้มในคลิปการสอนเรื่อง การอ่านบทร้อยกรองได้ รับรองว่าจะสามารถเข้าใจการอ่านและอ่านได้อย่างถูกวิธีมากขึ้นด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1