กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ถอดคำประพันธ์และคุณค่าในเรื่อง

Picture of Chisanucha
Chisanucha
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมากันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การถอดคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง ตัวบทที่ยกตัวอย่างมาในวันนี้จะเป็นเรื่องใด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ถอดคำประพันธ์

 

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

 

      หัวลิงหมากกลางลิง    ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง                  ลิงโลดคว้าประสาลิง

      หัวลิงหมากเรียกไม้     ลางลิง

ลางลิงหูลิงลิง                   หลอกขู้

ลิงไต่กระไดลิง                  ลิงห่ม

ลิงโลกฉวยชมผู้                ฉีกคว้า ประสาลิง

 

ความหมาย กล่าวถึงลิงที่กำลังกระโดดไปตามต้นไม้ต่าง ๆ เพื่อหลอกคู่ของมัน หรือขย่มเล่น ฉีกผลไม้อย่างชมพู่กินตามประสาของลิง ซึ่งในที่นี้มีพันธุ์ไม้ที่ปรากฏในบททั้งหมด 4 ชื่อ คือ 1. ต้นหัวลิง เป็นไม้เถาชนิดหนึ่ง มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง
2. ต้นหมากลางลิง เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง 3. หูลิง เป็นไม้ผลัดใบกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกของลำต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลอมเทา
4. กระไดลิง ส่วนต้นลางลิงกับกระไดลิงคือต้นเดียวกัน ลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง เถาแบนยาว – งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได

 

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

 

      กระจายสยายซร้องนาง      ผ้าสไบบางนางสีดา

ห่อห้อยย้อยลงมา                     แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม

       กระจายสยายคลี่ซร้อง      นงพงา

สไบบางนางสีดา                      ห่อห้อย

ยื่นเลื้อยเฟื้อยลงมา                  โบยโบก

แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย                     แกว่งเยื้องไปมา

 

ความหมาย กล่าวถึงต้นช้องนางคลี่ และสไบนางสีดา ที่ห้อยลงมาเพราะเป็นพืชที่ต้องเกาะติดกับกิ่งไม้ใหญ่ในป่า เมื่อโดนลมพัดก็จะแกว่งไปมา

 

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

 

 

เนื้อหาของวรรณคดีเป็นการบันทึกเรื่องราวการเดินทาง การชื่นชมวิวทิวทัศน์ ทำให้เห็นความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในธรรมชาติ อีกทั้งได้เรียนรู้พืชพันธุ์ รวมไปถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในแต่ละตอนอีกด้วย นอกจากจะได้คุณค่าในแง่การศึกษาธรรมชาติแล้ว ในวรรณคดียังอุดมไปด้วยคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้คำให้เกิดจินตภาพ ใช้คำที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพตามได้ นอกจากนี้ยังมีการเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นการใช้สัทพจน์ มีการเลือกใช้คำที่มีสระเดียวกัน ให้เป็นสัมผัสในวรรค และการใช้คำเดียวกันในความหมายที่ต่างกัน

 

ตัวอย่างการเลียนเสียงธรรมชาติ

ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ่ยร้องหา

ตัวอย่างสัมผัสในวรรค

ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู

ตัวอย่างการใช้คำเดียวกันในความหมายที่ต่างกัน

หัวลิงหมากกลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง

คำว่าลิงที่ใช้ในบทประพันธ์มีทั้งลิงที่เป็นสัตว์และลิงที่เป็นชื่อของต้นไม้

 

 

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ไม่เพียงแต่จะเป็นวรรณคดีที่ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน แต่ยังอัดแน่นไปด้วยสาระดี ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีแนวสารคดีก็คงจะไม่ผิดนัก น้อง ๆ อ่านตัวบทและลองถอดคำประพันธ์ดูแล้ว คิดอย่างไรกันบ้างคะ สุดท้ายนี้เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อทบทวนความรู้นะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายตัวบทอย่างละเอียด ทำให้เข้าใจได้ง่าย สามารถฟังไปทำแบบฝึกหัดไปได้ด้วย ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ศึกษาตัวบทเด่น ๆ 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา   ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่เป็นจำนวนเท่า ซึ่งจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นเรียกว่า อัตราส่วนร่วม เขียนแทนด้วย r โดยที่ r = พจน์ขวาหารด้วยพจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง ตัวอย่างของลำดับเรขาคณิต 2, 4, 8, 16, 32, … จะได้ว่า 

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1