กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กาพย์พระไชยสุริยา

 

กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา

 

กาพย์พระไชยสุริยา1

 

กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง พ.ศ. 2382-2385 หรืออาจแต่งในตอนที่จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีในปี พ.ศ. 2368 แม้ปีที่แต่งจะไม่ชัดเจนแต่เป็นที่แน่ชัดว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อให้กาพย์พระไชยสุริยาเป็นแบบสอนอ่านและเขียนมาตราตัวสะกดคำต่าง ๆ สำหรับเด็กในยุคนั้น และยังคงใช้อยู่มาจนถึงปัจจุบัน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยาโดยใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ มีทั้งหมด 3 กาพย์คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 แต่ละกาพย์มีลักษณะที่ต่างกันทำให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างเพลิดเพลิน

 

กาพย์ยานี 11

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป

 

กาพย์ฉบัง 16

 

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ฉบัง 16

คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ของบทต่อไป

 

กาพย์สุรางคนางค์ 28 

 

ลักษณะบังคับของกาพย์สุรางคนางค์ 28 

คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 5

คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่ 5

คำสุดท้ายของวรรคที่ 5 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6

สัมผัสระหว่างบทคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ 7 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ในบทต่อไป

 

ความแตกต่างระหว่างกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28

 

 

1. จำนวนคำและวรรค

กาพย์ยานี 11 บทหนึ่งมี 2 บาท ในแต่ละบาทมี 2 วรรค โดยที่วรรคแรกจะมี 5 คำ และวรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำ

กาพย์ฉบัง 16 บทหนึ่งมี 3 วรรค ในวรรคแรกจะมี 6 คำ วรรคสองมี 4 คำ และวรรคสุดท้ายมี 6 รวมเป็น 16 คำ

กาพย์สุรางคนางค์ 28 บทหนึ่งมี 7 วรรค แต่ละวรรคมี 4 คำ หนึ่งบทมี 28 คำ

2. สัมผัส เมื่อมีจำนวนคำต่างกัน จำนวนวรรคไม่เท่ากัน สัมผัสระหว่างวรรคและระหว่างบทก็จะแตกต่างกันไปด้วย

3.การอ่าน กาพย์ยานี 11 จะแบ่งวรรคอ่านต่างจากเพื่อนเนื่องจากว่าวรรคหน้าและวรรคหลังแบ่งจังหวะการอ่านไม่เท่ากัน ส่วนกาพย์ฉบัง 16 กาพย์สุรางคนางค์ 28 จะเหมือนกันตรงเว้นจังหวะการอ่านทุก 2 คำ

กาพย์ยานี 11 มีจังหวะการอ่านวรรคละ 2 จังหวะ คือ วรรคหน้า 5 คำ อ่าน 2 / 3 วรรคหลัง 6 คำ อ่าน 3 / 3

กาพย์ฉบัง 16 เว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ 2 คำ วรรคแรกและวรรคท้าย 2/2/2 ส่วนวรรคกลางอ่านเป็น 2/2

กาพย์สุรางคนางค์ 28 เว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ 2 คำ ในทุกวรรค เนื่องจากทุกวรรคมีจำนวนคำเท่ากัน

4. ลักษณะการใช้ แม้จะเป็นกาพย์เหมือนกันแต่มีลักษณะการใช้ที่ต่างกันออกไป ดังนี้

กาพย์ยานี 11 ใช้เวลาเล่าเรื่องที่มีจังหวะเนิบนาบ นิยมแต่งในการพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างเชื่องช้า ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืออารมณ์เศร้า คร่ำครวญ

กาพย์ฉบัง 16 เป็นการพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ แต่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว พรรณนาด้วยอารมณ์คึกคัก รวบรัด

กาพย์สุรางคนางค์ 28 ใช้เป็นการเล่าเรื่องเพื่อรวบรัดเนื้อหาให้เร็ว แสดงปาฏิหาริย์ แสดงความโกรธ ความคึกคัก มักใช้ร่วมกับฉันท์

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

พระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวัตถีมีมเหสีชื่อนางสุมาลี แต่แล้วบ้านเมืองที่เคยสงบสุขก็เต็มไปด้วยการฉ้อฉลของข้าราชบริพาร หลงมัวเมาในอบายมุข จนในที่สุดฟ้าดินก็ลงโทษโดยการบันดาลให้น้ำท่วมเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนเมืองสาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง พระไชยสุริยากับนางสุมาลีพร้อมประชาชนอีกจำนวนหนึ่งก็พากันหนีลงเรือเพื่อออกจากเมือง แต่กลับถูกพายุพัดจนเรืออับปาง พระไชยสุริยากับนางสุมาลีที่ยังรอดชีวิตจึงว่ายน้ำเข้าฝั่ง รอนแรมอยู่ในป่าจนไปพบกับฤๅษีรูปหนึ่ง ฤๅษีเกิดความสงสารพระไชยสุริยาเพราะเห็นว่าเป็นกษัตริย์ที่ดีจึงเทศนาจนสองสามีภรรยาเกิดความเลื่อมใส ตัดสินใจบำเพ็ญศีลภาวนาจนได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์

 

 

จากบทเรียนในตอนนี้คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนเข้าใจกาพย์พระไชยสุริยากันแล้วนะคะว่ามีประวัติความเป็นมา มีลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องอย่างไร จะเห็นได้ว่ากาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่นอกจากจะถูกใช้เป็นแบบเรียนเรื่องมาตราตัวสะกดแล้ว ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาย อย่างเรื่องคำประพันธ์ หรือเรื่องคติธรรมจริยธรรมอีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติม ก็สามารถไปดูคลิปย้อนหลังของครูอุ้มได้นะคะ ไปดูกันเลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Adjective

คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับคำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษกัน ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลยครับ

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ   ความหมายของ ระดับภาษา     ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร  

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

  ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ     ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

สำนวนไทยสัตว์น้ำ

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ เรียนรู้ความหมายและที่มา

สำนวนไทย เกี่ยวกับสัตว์น้ำ   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ มีมากมายหลายสำนวน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่คะว่าทำไมสัตว์น้ำต่าง ๆ ถึงมาอยู่ในสำนวนไทยได้ และสำนวนเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร ใช้ในโอกาสใดได้บ้าง วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำกันค่ะ   ความหมายของสำนวน     สำนวน หมายถึง ถ้อยคำ การพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำชวนให้คิดหรือตีความ

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1