กาพย์พระไชยสุริยา
กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง
ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา
ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28
ความหมาย
ในบทนี้สอนเรื่องแม่กนและมีแม่ ก กา ผสมเล็กน้อย โดยเล่าผ่านเหตุการณ์เล่าถึงพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีต้องอาศัยและนอนในป่าทั้งที่เคยเป็นถึงกษัตริย์
คำศัพท์น่ารู้
ภูธร หมายถึง พระราชา
ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง 16
ความหมาย
ในบทนี้สอนเรื่องแม่กงและแม่กน และพรรณนาเรื่องป่าว่ามีต้นไม้อะไรบ้างระหว่างเดินทาง
คำศัพท์น่ารู้
เถื่อน หมายถึง ป่า
ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง 16
ความหมาย
เป็นบทสอนที่เรื่องแม่กงเช่นเดียวกับตัวบทก่อนหน้า แต่ในตอนนี้จะพรรณนาถึงสัตว์ในป่าพาส่งเสียงร้องกันอยู่ในป่า
ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ยานี 11
ความหมาย
บทนี้สอนเรื่องมาตราแม่กก เล่าเรื่องชีวิตของพระไชยสุริยากับนางสุมาลีขณะอยู่ในป่าว่ากำลังตกระกำลำบากเมื่อต้องจากบ้านเมืองมา ในป่ามีอะไรให้กินก็ต้องกิน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือเผามันเผาเผือกกินให้อิ่ม
ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ยานี 11
ความหมาย
บทนี้นอกจากจะเป็นการสอนมาตราตัวสะกดแม่กดแล้วยังเป็นบทอัศจรรย์อีกด้วย ซึ่งในที่นี้บทอัศจรรย์หมายถึงตัวเอกมีเพศสัมพันธ์กัน
คุณค่าของกาพย์พระไชยสุริยา
คุณค่าในฐานะแบบเรียนภาษาไทย
สอนเรื่องมาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกดของไทยมีทั้งหมดดังนี้ แม่ ก กา แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กม และแม่เกย(สมัยก่อนแม่เกวอถูกรวมอยู่ในแม่เกย) สุนทรภู่แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 8 ตอน เพื่อใช้อ่านเทียบมาตราตัวสะกด
- แม่ก กา ใช้เริ่มตอนเล่าถึงความเป็นไปของผู้คนในเมืองสาวัตถี การเกิดอุทกภัย พระไชยสุริยาและทุกคนลงเรือหนีก่อนจะเกิดเหตุการณ์เรือแตกกลางทะเล
- แม่ กน ใช้เล่าตอนพระไชยสุริยากับนางสุมาลีที่ว่ายน้ำขึ้นบกมาได้สำเร็จก็เดินเร่ร่อนอยู่ในป่า
- แม่กง ใช้เล่าตอนเดินชมป่า
- แม่กก ใช้เล่าตอนเจอกับความลำบากในป่า
- แม่กด ใช้เล่าบทอัศจรรย์
- แม่กบ ใช้เล่าตอนพระฤๅษีเข้าณานทราบความเป็นไปในโลก
- แม่กม ใช้เล่าตอนเพราะฤๅษีเทศนาพระไชยสุริยา
- แม่เกย ใช้เล่าตอนพระไชยสุริยาบำเพ็ญศีลภาวนาจนได้ไปสวรรค์
สอนเรื่องคำประพันธ์
ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์พระไชยสุริยา คือ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ เป็นคำประพันธ์ที่แต่งง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น กาพย์ในเรื่องถูกยกเป็นต้นแบบเรื่องลักษณะคำประพันธ์ในแบบเรียนภาษาไทย
สอนเรื่องคุณธรรม
กาพย์พระไชยสุริยา สอนเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมมากมาย เรื่องที่โดดเด่นคือต้นเหตุของการเกิดภัยพิบัติที่มาจากจริยธรรมเสื่อมถอยของข้าราชการที่รังแกประชาชนและทุจริต จริยธรรมเสื่อมถอยในหมู่สงฆ์ หรือแม้แต่พฤติกรรมของประชาชนที่ไร้ศีลธรรมขึ้นทุกวัน พฤติกรรมของผู้คนในเมืองสาวัตถีที่ปรากฏในกาพย์พระไชยสุริยาเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมเมือง ทำให้เห็นว่าถ้าคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ฐานะอะไรแต่หากเป็นคนชั่ว ไม่อยู่ในศีลธรรมก็จะนำบ้านเมืองไปสู่ความพินาศ
เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากได้เรียนรู้ทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะการประพันธ์ เนื้อเรื่องโดยย่อ มาจนถึงตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าที่แฝงอยู่ในวรรณคดีแบบเรียนภาษาไทยอย่างเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาไปแล้ว นอกจากจะเป็นแบบเรียนที่ใช้เรียนมาตราตัวสะกดแล้ว กาพย์พระไชยสุริยายังสอนเรื่องจริยธรรมอีกด้วย ซึ่งสุนทรภู่ประพันธ์เรื่องนี้ไว้อย่างดีเยี่ยม เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่ไม่น่าเบื่อเลยใช่ไหมล่ะคะ ทั้งนี้น้อง ๆ สามารถเข้าไปรับชมรับฟังคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะคะ ในคลิปครูจะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่อาจจะเจอในข้อสอบค่ะ ไปดูกันเลย