โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การโต้วาที

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การโต้วาที

 

การโต้วาที

 

การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ

 

องค์ประกอบของการโต้วาที

 

การโต้วาที

 

  1. ญัตติ

คือหัวข้อในการโต้วาที จะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยญัตติที่นำมาเป็นหัวข้อในโต้วาทีนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย

  1. ประธาน หรือผู้ดำเนินการโต้วาที

ประธานจะทำหน้าโดยรวมคือดำเนินการตลอดการโต้วาทีอย่างการกล่าวนำ ชี้แจงญัตติ อธิบายระเบียบการโต้วาที กำหนดเวลาพูด เชิญผู้โต้วาทีฝ่ายญัตติและฝ่ายค้านญัตติ รวมไปถึงการรวบรวมคะแนนของคณะกรรมการเพื่อประกาศผลฝ่ายที่ชนะและกล่าวปิดการโต้วาที

  1. กรรมการ

กรรมการตัดสินควรมีจำนวนที่เป็นเลขที่เพื่อป้องกันปัญหาคะแนนเท่ากัน โดยคณะกรรมการจะต้องให้ความเป็นธรรม ตัดสินอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุผลที่ได้ฟังจากทั้งสองฝ่าย

  1. ผู้โต้วาที

มี 2 ฝ่าย คือฝ่ายญัตติและฝ่ายค้านญัตติ แต่ละฝ่ายจะมีหัวหน้า 1 คน และมีสมาชิกฝ่ายละ 2-3 คน ลำดับจากพูดจะเริ่มจากหัวน้าฝ่ายญัตติ ต่อด้วยหัวหน้าฝ่ายค้าน และค่อยกลับมาที่สมาชิกฝ่ายญัตติอีกครั้ง

 

การโต้วาที

 

มารยาทในการฟัง

 

เทคนิคโต้วาที

 

 

การป้องกัน หมายถึง การป้องกันญัตติด้วยการหาเหตุผลมาล้อมสาระของญัตติ เพื่อไม่ให้มีช่องโหว่ที่อาจจะเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายค้านเห็น

การโจมตี หมายถึง การกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าไม่มีเหตุผล เหตุผลไม่เพียงพอ

การต่อต้าน หมายถึง การหักล้างเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามที่โจมตีด้วยเหตุผลหรือตอบโต้โดยใช้การอ้างอิงที่เชื่อถือได้

การค้าน ในการค้านนั้นสามารถทำได้ 3 วิธี

–  ค้านญัตติ เป็นการค้านตัวญัติหรือสาระของญัตติโดยตรงว่าไม่ถูกต้อง

– ด้านเหตุผล เป็นการค้านเหตุผลที่อีกฝ่ายเสนอมา

– ด้านอ้างอิง เป็นการค้านข้ออ้างอิงที่ฝ่ายตรงข้ามยกขึ้นมาพูด

 

การยอวาที

 

 

มีลักษณะคล้ายกับการโต้วาที แบ่งเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายเยิน และฝ่ายยอ มีจำนวนผู้พูดฝ่ายละ 3-4 คน โดยทั้งสองฝ่ายจะยกกันยกช่วยกันยอในหัวข้อนั้น ๆ ลักษณะของการยอวาทีจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการกระแหนะกระแหน ประชดประชัน แดกดัน เหน็บแนม

 

 

การโต้วาที แตกต่างจากการยอวาทีอย่างไร

 

การยอวาทีเริ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2515 เป็นยุคที่การเมืองไทยกำลังเข้มข้น การโต้วาทีทางการเมืองถูกห้าม คนในยุคนั้นจึงคิดการยอวาทีขึ้นมาเพื่อเหน็บแนมในเรื่อที่ไม่สามารถพูดได้ การยอวาทีจึงเป็นการโต้วาทีที่ถูกทำให้เบาลงมา ไม่ได้โต้แย้งเพื่อเอาชนะ แต่เป็นเหมือนการโชว์มากกว่า

 

แม้ทั้งการโต้วาที การยอวาที จะต่างกันบ้างแต่ก็มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะแสดงออกมาอย่างตรง ๆ หรือใช้การเยินยอเพื่อเหน็บแนม นั่นเป็นการสะท้อนว่ากิจกรรมการพูดเหล่านี้มีขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถพูดสิ่งที่คิดได้อย่างอิสระ ไม่ว่าหัวข้อนั้น ๆ จะเป็นเรื่องอะไร นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และเป็นการฝึกให้เราใช้เหตุผลและมีไหวพริบมากขึ้นด้วยค่ะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายแบบสนุก ๆ ก็สามารถไปติดตามดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ รับรองว่าจะเข้าใจบทเรียนในวันนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ ค่าสัมบูรณ์  หรือ Absolute คือค่าของระยะทางจากศูนย์ไปยังจุดที่เราสนใจ เช่น ระยะทางจากจุด 0 ถึง -5 มีระยะห่างเท่ากับ 5 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์เอาไว้บอกระยะห่าง ดังนั้นค่าสัมบูรณ์จะมีค่าเป็นบวกหรือศูนย์เท่านั้น ไม่สามารถเป็นลบได้ นิยามของค่าสัมบูรณ์ ให้ a เป็นจำนวนจริงใดๆ จะได้ว่า และ   น้องๆอาจจะงงๆใช่ไหมคะ ลองมาดูตัวอย่างสักนิดนึงดีกว่าค่ะ เช่น เพราะ

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นใต้ มรดกทางวัฒณธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ภาษาถิ่นใต้  

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

  ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ     ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1