โคลงอิศปปกรณำ วรรณคดีร้อยแก้วที่แปลมาจากนิทานตะวันตก

โคลงอิศปปกรณำ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในบทเรียนก่อนหน้า น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์กับโคลงนฤทุมนาการกันไปแล้ว แต่โคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะได้เรียนไม่ได้หมดแค่นั้นนะคะ เพราะยังมีอีกหนึ่งโคลงสุภาษิตที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ โคลงอิศปปกรณำ นั่นเองค่ะ โคลงสุภาษิตที่ชื่อดูอ่านยากเรื่องนี้จะมีที่มาอย่างไร สอนเรื่องอะไรเราบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร ให้ข้อคิดแบบไหน ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายของ โคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำ อ่านว่า โคลง-อิด-สะ-ปะ-ปะ-กะ-ระ-นำ มาจากคำศัพท์ต่าง ๆ ดังนี้

โคลง หมายถึง โคลงสี่สุภาพ

อิศป หมายถึง อีสป

ปกรณำ หมายถึง หนังสือ, เรื่อง

เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงหมายถึงโคลงสี่สุภาพที่มีเรื่องราวเหมือนนิทานอีสป

 

ความเป็นมาและความสำคัญของโคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำเป็นบทประพันธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นโคลงสุภาษิตเช่นเดียวกับโคลงโสฬสไตรยางค์และโคลงนฤทุมนการ แต่จะแตกต่างจากทั้งสองโคลงก่อนหน้าคือเป็นบทประพันธ์ที่ถูกแปลมาจากนิทานตะวันตก เป็นนิทานที่แต่งโดย อีสป นักเล่านิทานชาวกรีกที่มีร่างกายพิการแต่มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด มักจะแต่งนิทานขึ้นเพื่อเป็นข้อคิดหรือคติเตือนใจ นิทานอีสปจึงเป็นนิทานที่ไม่เด่นชัดว่าเป็นของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง สามารถอ่านได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคนประเทศไหนเพราะมีคติสอนใจในการดำเนินชีวิตเป็นหลักสำคัญ รัชกาลที่ 5 จึงทรงแปลนิทานอีสป และทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานรวมกับกวีอีกสามคนคือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระศรีสุนทรโวหาร และ พระยาราชสัมภารากร ออกมาเป็นโคลงอิศปปกรณำในปีพ.ศ. 2447

 

โคลงอิศปปกรณำ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

เพื่อเป็นคติสอนใจแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง

 

ลักษณะคำประพันธ์

เป็นบทร้อยแก้ว สรุปด้วยโคลงสี่สุภาพเป็นสุภาษิต

 

 

นิทานในโคลงอิศปปกรณำ

 

นิทานในโคลงอิศปปกรณำมีด้วยกันมากมายหลายเรื่อง วันนี้เราจะมาศึกษาหนึ่งในนิทานที่ได้รับการแปล และเป็นที่รู้จักมากที่สุดอย่างเรื่อง ราชสีห์กับหนูกันค่ะ

 

 

เนื้อเรื่อง

ขณะที่สิงโตกำลังนอนหลับอยู่ในป่า จู่ ๆ ก็มีหนูตัวหนึ่งวิ่งขึ้นไปบนหน้ารบกวนการนอน ราชสีห์ก็ตกใจตื่นด้วยความโมโห จับตัวหนูไว้หมายจะฆ่าให้ตาย หนูตัวนั้นจึงรีบอ้อนวอนต่อราชสีห์ให้ไว้ชีวิต และสัญญาว่าหากราชสีห์ยอมปล่อยไป จะตอบแทนบุญคุณอย่างแน่นอน เมื่อราชสีห์ได้ยินดังนั้นก็นึกขำเพราะไม่คิดว่าหนูตัวเล็กเช่นนี้จะทดแทนบุญคุณอะไรได้ แต่ก็ยอมปล่อยไปเพราะเห็นว่าหนูตัวนี้ทำให้อารมณ์ดีได้ กระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ราชสีห์กำลังหาอาหารอยู่ในป่าก็ดันพลาดท่าไปติดกับดักของนายพรานเข้า ราชสีห์รู้สึกสิ้นหวัง เพราะไม่ว่าจะดิ้นอย่างไรก็ไม่สามารถหลุดออกไปได้ แต่เสียงของราชสีห์กลับลอยไปเข้าหูเจ้าหนูที่เคยไว้ชีวิตในครั้งนั้น มันจึงออกมาตามหาจนเจอ และกัดบ่วงกับดักทีละเส้นจนราชสีห์ออกมาได้ ราชสีห์รู้สึกผิดที่เคยสบประมาทความตัวเล็กของหนู แต่หนูกลับไม่ได้ถือโทษเพราะต้องการตอบแทนบุญคุณของราชสีห์ เมื่อเข้าใจกันแล้ว ราชสีห์กับหนูก็กลายเป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือกันอยู่ในป่าร่วมกับสัตว์ตัวอื่นเรื่อยไป

 

โคลงสุภาษิตประกอบนิทาน

อย่าควรประมาทผู้           ทุรพล

สบเคราะห์คราวขัดสน     สุดรู้

เกลือกเขาสบร้ายดล       ใดเหตุ มีแฉ

มากพวกคงมีผู้                ระลึกเค้าคุณสนอง

ความหมาย อย่าดูถูกผู้มีกำลังน้อย เผื่อว่าเราเจอเหตุร้าย เราอาจต้องขอความช่วยเหลือจากคนตัวเล็กเหล่านั้น ดังนั้นจึงควรคบคนไว้เยอะ ๆ เพราะการมีพวกมาก ก็จะทำให้มีคนคอยช่วยเหลือและตอบแทนเราในตอนที่ลำบากได้

 

คำศัพท์น่ารู้

ทุรพล หมายถึง ผู้มีกำลังน้อย

สบ หมายถึง พบ

เกลือก หมายถึง เผื่อ

 

คุณค่าที่ได้จากเรื่อง

 

 

ด้วยความที่บทประพันธ์ถูกแปลมาจากนิทานอีสปซึ่งเป็นนิทานที่มีคติสอนใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ เนื้อหาของนิทานแต่ละเรื่องสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด การแก้ปัญหาอันชาญฉลาดผ่านตัวละครในนิทานควบคู่ไปด้วยวรรณศิลป์ การใช้ภาษาอย่างมีชั้นเชิง

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องโคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ต้องเรียนกันทั้ง 3 เรื่อง โคลงอิศปปกรณำที่เป็นเรื่องสุดท้ายนี้ มีที่มาจากนิทาน ทำให้มีทั้งบทร้อยแก้วและโคลงประกอบแต่ละเรื่อง เนื้อหาไม่ยาก คำศัพท์ง่าย อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที แถมนิทานที่แปลมาก็ยังสนุกอีกด้วย เรียกว่าได้ทั้งความรู้และความสนุกเลยนะคะ น้อง ๆ ที่เรียนบทนี้จบแล้ว อย่าลืมนำข้อคิดที่ได้จากนิทานไปใช้ในชีวิตกันด้วยนะคะ สุดท้ายนี้ระหว่างทบทวนบทเรียน อย่าลืมไปรับชมและรับฟังคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ครูอุ้มได้เล่านิทานเรื่องราชสีห์กับหนูเอาไว้อย่างสนุกสนาน น้อง ๆ ฟังแล้วสามารถจำได้โดยไม่ต้องท่องจำเลยละค่ะ ไปดูกันเลย

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยใน nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เกิดจากสิ่งสองสิ่งมาเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของ a กับ b ซึ่ง a มากกว่า b เป็นต้น ก่อนที่เราจะเริ่มเนื้อหาของความสำคัญพี่อยากให้น้องๆรู้จักกับคู่อันดับ และผลคูณคาร์ทีเซียนก่อนนะคะ คู่อันดับ ในการเขียนคู่อันดับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว เพราะถ้าน้องๆเขียนคู่อันดับผิดตำแหน่งนั่นหมายความว่า ความหมายของมันจะเปลี่ยนไปทันที เช่น คู่อันดับ (x, y) โดย x

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past

Modals in the Past

  สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า   ทบทวน Modal Verbs  Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1