โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

โคลงสี่สุภาพคืออะไร

 

โคลงสี่สุภาพ

 

โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม ก็คือเรื่องลิลิตพระลอนั่นเองค่ะ

 

โคลงสี่สุภาพ

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่มีชื่อเสียง จากเรื่อง ลิลิตพระลอ

โคลงสี่สุภาพ

ลักษณะคำประพันธ์ของโคลงสี่สุภาพ

 

 

คณะ 1 บท มี 4 บาท แต่ละบาทมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ เฉพาะบาทที่ 4 หรือบาทสุดท้ายที่วรรคหลังมี 4 คำ รวมทั้งสิ้น 1 บทจะมี 30 คำ ไม่รวมคำสร้อย ถ้ารวมคำสร้อยด้วยก็จะเป็น 34 คำ

คำสร้อย คือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค มีได้ในวรรคหลังของบาทที่ 1 หรือบาทที่ 3 บาทละ 2 คำ นิยมลงท้ายด้วย พ่อ เฮย แฮ รา ฤา นา นอ เอย ฯลฯ จะใช้เมื่อต้องการขยายความให้ชัดเจนขึ้น เช่น เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ หรือ ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ นอกจากนี้ยังมีคำสร้อยที่มีความหมายอย่าง สร้อยเจตนัง แต่ปกติจะไม่ใช้ในกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ

คำเอก – คำโท เป็นการกำหนดเสียงด้วยรูปวรรณยุกต์เอกและรูปวรรณยุกต์โท

คำเอก คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ รวมถึงคำตายที่เป็นแม่ก กา ประสมกับสระเสียงสั้นกับคำที่สะกดด้วยแม่กก กบ กด ใน 1 บท มีคำเอก 7 คำ

คำโท คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ใน 1 บท มีคำโท 4 คำ

โคลงสี่สุภาพกำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก – โท แต่ในถ้าคำตามที่กำหนดไม่ได้ก็จะใช้เป็นคำเอกโทษและคำโทโทษเพื่อแปลงคำให้เป็นคำที่ตรงกับคำที่กำหนด แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้อีกต่อไปแล้ว

สัมผัส โคลงสี่สุภาพบังคับสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอก ดังนี้

  • คำสุดท้ายของบาทที่ 1 ต้องสัมผัสกับคำที่ 5 ของบาทที่ 2 และบาทที่ 3
  • คำสุดท้ายของบาทที่ 2 ต้องสัมผัสกับ คำที่ 5 ของบาทที่ 4

โคลงสี่สุภาพอาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสในได้ ซึ่งเป็นได้สัมผัสอักษรและสัมผัสสระ เพื่อให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น

 

สรุปความรู้โคลงสี่สุภาพ

 

 

หลังจากเรียนเรื่องโคลงสี่สุภาพและวิธีการแต่งคำประพันธ์แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะเข้าใจได้ทันทีเลยใช่ไหมคะ ว่าทำไมโคลงถึงเป็นคำประพันธ์ที่กวีนิยมนำมาใช้ที่สุด นั่นก็เพราะว่า โคลงสี่สุภาพ มีลักษณะบังคับอย่างคำเอกคำโท ทำให้เมื่อแต่งออกมาแล้วก็จะมีความไพเราะและมีเอกลักษณ์ความเป็นไทยอยู่มาก ๆ ด้วยค่ะ เพื่อเป็นการทบทวนและฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพให้คล่อง น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะสอนเรื่องฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รวมถึงวิธีแต่งโคลงสี่สุภาพอย่างง่าย ไปดูกันเลยค่ะ

 

ฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่บทเรียนคราวที่แล้วเราได้เรียนเรื่องประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องสุนทรภู่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึง คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี ว่ามีคุณค่าด้านใดบ้าง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้รู้เหตุผลว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องที่โด่งที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ เป็นวรรณคดีที่ดังข้ามเวลาและอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี     คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์   พระอภัยมณีเป็นเรื่องมีรสทางวรรณคดีคือเสาวรจนีย์และสัลปังคพิสัย ดังนี้ เสาวรจนีย์ เป็นบทชมโฉมหรือความงาม พบในตอนที่พระอภัยชมความงามของนางเงือก     2.

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1