โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ
ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง

 

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

 

 

จะเห็นได้ว่าพระสุริโยทัยเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้หญิง แต่ก็ไม่หวั่นเกรงให้กับศัตรู ยอมเสียสละตัวเองเพื่อช่วยสามีและประเทศชาติ ดังในบทประพันธ์ที่กล่าวว่าพระสุริโยทัยทรงมี มนัสกัตเวที ยิ่งล้ำ ซึ่งมนัสกัตเวที หมายถึง มีความกตัญญูเป็นเลิศ

 

คุณค่าด้านสังคม

การแย่งชิงอาณานิคม พระสุริโยทัย เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยแผ่นดินของพระจักรพรรดิ หรือ พระเทียรราชา รัชกาลนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ทำให้สภาพบ้านเมืองไม่ได้สงบสุขเท่าที่ควร มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นภายใน ทำให้ทางกรุงหงสาวดีมองเห็นจุดอ่อน ยกกองทัพมาหมายจะตีกรุงศรีอยุธยาแล้วยึดเป็นเมืองขึ้น

 

อาวุธ ในการทำศึกสงครามสมัยอยุธยา อาวุธที่ใช้ในการสู้รบนอกจากดาบแล้วก็คือ ง้าว ดัดแปลงมาจากอาวุธจีนโบราณ มีลักษณะเป็นอาวุธด้ามยาว คล้ายกับ “ทวน” และ “หอก” ใช้สำหรับต่อสู้บนหลังช้าง

 

 

พาหนะในการทำศึก สำหรับผู้ที่มียศใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่ทัพขึ้นไป จะใช้ช้างเป็นพาหนะในการทำสงคราม จะเห็นได้ว่าในอดีต ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความสำคัญมาก

 

เกร็ดน่ารู้

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีช้างเผือกในครอบครองถึง 7 เชือก จึงมีพระสมัญญาว่า พระเจ้าช้างเผือก

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ใช้คำที่แสดงนาฏการ

นาฏการ เป็นการแสดงความเคลื่อนไหว ในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง พบการเคลื่อนไหวในบทประพันธ์ดังตัวอย่าง

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

ใช้การหลากคำ

การหลากคำ หมายถึง การที่ใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน พบการใช้การหลากคำในบทประพันธ์ โดยคำที่ถูกนำมาใช้ คือคำว่าช้าง ดังตัวอย่าง

 

 

ใช้คำเลียนเสียง (สัทพจน์)

พบการใช้คำเลียนเสียงในบทประพันธ์ เป็นการเลียนเสียงอาวุธขณะฟาดฟัน ดังตัวอย่าง

 

 

 

โคลงพระราชพงศาวดาร ตอน พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต เกิดขึ้นในสมัยแผ่นดินพระเจ้าเสือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับวีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์ที่เป็นทหารที่ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ มีความจงรักภักดีและกตัญญูต่อพระเจ้าแผ่นดิน ยอมสละชีวิตของตนเองเพื่อรักษาเกียรติของพระเจ้าเสือไม่ให้ทำผิดกฎมณเฑียรบาลที่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมากสำหรับคนไทย

 

คุณค่าด้านสังคม

การสัญจร  จากตอนพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต จะเห็นได้ว่าเรือเป็นพาหนะสัญจรที่มีความสำคัญมากในยุคสมัยนั้น สามารถทำให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างสะดวกสบาย เพราะมีการขุดคลองไว้สำหรับการเดินทางมากมาย ในตอนพันท้ายนรสิงห์นี้ พูดถึงคลองโคกขามในเมืองสาครบุรีที่ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร ว่าเป็นคลองที่ความคดเคี้ยว จนเป็นเหตุให้พันท้ายนรสิงห์คัดท้ายเรือชนต้นไม้จนโขนเรือหัก จนภายหลังมีการขุดคลองใหม่เพื่อให้การสัญจรทางเรือสะดวกขึ้น จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุอีก

 

ความเชื่อเรื่องการสร้างศาล ทันทีที่ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ พระเจ้าเสือก็มีรับสั่งให้นำศีรษะกับโขนเรือที่หักไปแล้วไปเป็นเครื่องเซ่นศาลเพียงตา ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีความเชื่อว่าเป็นการให้เกียรติพันท้ายนรสิงห์

 

ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ในอดีตกฎมณเฑียรบาลเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่เว้นแม้แต่กษัตริย์ พันท้ายนรสิงห์ยอมถวายชีวิต ยืนยันให้พระเจ้าเสือสั่งประหารชีวิตตนเองเพื่อรักษาเกียรติของพระเจ้าเสือและธำรงความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ไว้ พระเจ้าเสือจึงต้องจำใจสั่งประหารพันท้ายนรสิงห์เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายให้คงสืบไป

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การใช้คำกระชับ

มีการตัดคำให้กระชับแต่ยังคงความสละสลวยของภาษาในประบทประพันธ์ไว้

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

การใช้สัมผัสอักษร

การใช้สัมผัสอักษร พบในบทประพันธ์ดังนี้

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

คำศัพท์ที่น่าสนใจในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

โขนเรือ หมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือหรือท้ายเรือให้เชิดขึ้นไป

คชาธาร หมายถึง ช้างทรง ช้างพระที่นั่ง

สาร หมายถึง ช้างใหญ่

ไคล หมายถึง เดินไป เคลื่อนไป

เตลง หมายถึง เป็นชื่อใช้เรียกชนชาติมอญ

เอกไชย หมายถึง ชื่อเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเจ้าเสือ

 

สรุปความรู้จากเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดารตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้างกับพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต เป็นบทประพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ นอกจากนี้แสดงให้เห็นถึงคุณธรรมที่ควรยกย่องในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ความกตัญญู ความจงรักภักดี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความกล้าหาญ ความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทยที่มีต่อชาติบ้านเมือง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องคุณค่าและสรุปความรู้ในวรรณคดีเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร พอได้รู้คุณค่าในด้านต่าง ๆ แล้ว ไม่แปลกใช่ไหมคะที่วรรณคดีอันทรงคุณค่าอย่างโคลงภาพพระราชพงศาวดารถูกบรรจุเป็นแบบเรียนภาษาไทย แม้จะถูกนำมาศึกษาแค่ 2 เรื่อง แต่ก็อัดแน่นไปด้วยคุณค่าอย่างครบถ้วน สุดท้ายนี้สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเป็นการทบทวนแล้วล่ะก็ สามารถตามไปฟังคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายเนื้อหาให้สรุปความรู้ให้น้อง ๆ เข้าใจอย่างง่าย รับรองว่าดูแล้วไม่พลาดในการทำข้อสอบแน่นอน ไปดูกันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์ของความรักชาติที่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลง

‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ เชื่อว่าพอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ จะต้องมีน้อง ๆ หลายคนอ่านเป็นทำนองแล้วร้องต่อในใจแน่นอนว่า ‘เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน’ เพราะนี่คือ เพลงชาติไทย ที่เราได้ยินตอนแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็นของทุกวันนั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา และความหมายของเพลงชาติไทยกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลย   ประวัติความเป็นมาของ เพลงชาติไทย     ก่อนที่จะมีเพลงชาติไทย ประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเพลงประจำชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1