โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร

 

โคลงนฤทุมนาการ

 

ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง ๆ ดังนี้

นฤ หมายถึง ปราศจาก

ทุ หมายถึง ไม่ดี

มน หมายถึง ใจ

อาการ หมายถึง สภาพกิริยา

เมื่อนำ นฤ + ทุ + มน + อาการ มารวมกันจะได้ นฤทุมนาการ ที่แปลว่า ไม่มีอาการเสียใจ

 

ที่มาและความสำคัญของโคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงนฤทุมนาการ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แปลมาจากสุภาษิตอังกฤษในปี พ.ศ. 2423 แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ มีบทนำเรื่อง 1 บท เนื้อเรื่องอีก 10 และสรุป 1 บท ซึ่งแนวทางที่ควรปฏิบัติทั้ง 10 นั้น เรียกว่า ทศนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิตที่มีความสำคัญ เพราะมีเนื้อหาที่สั่งสอน และเตือนใจคน สอนให้คิดรอบคอบก่อนที่จะพูดหรือทำสิ่งใดลงไป

 

จุดประสงค์ในการแต่ง

จากชื่อ นฤทุมนาการ ที่มีความหมายว่าไม่มีอาการเสียใจนั้น จุดมุ่งหมายของแต่งโคลงสุภาษิตนี้จึงมีขึ้นมาเพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม ให้บุคคลนั้นไม่เสียใจกับการกระทำของตัวเอง

 

ลักษณะคำประพันธ์

โคลงสี่สุภาพ

 

โคลงนฤทุมนาการสอนเรื่องอะไรบ้าง?

 

 

กล่าวถึงกิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติจะไม่เสียใจหากได้ทำลงไป มีดังนี้

1. ทำดีโดยทั่วไป

2. ไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น

3. ถามและฟังความก่อนตัดสิน

4. คิดก่อนพูด

5. ไม่พูดในเวลาโกรธ

6. กรุณาต่อให้คนที่อับจน

7. ขอโทษเมื่อทำผิด

8. อดกลั้นต่อผู้อื่น

9. ไม่ฟังคำนินทา

10. ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย

 

 

ตัวอย่างบทประพันธ์ใน โคลงนฤทุมนาการ

 

บทนำ

บัณฑิตวินิจแล้ว          แถลงสาร สอนเอย

ทศนฤทุมนาการ         ชื่อชี้

เหตุผู้ประพฤติปาน     ดังกล่าว นั้นนอ

โทมนัสเพราะกิจนี้     ห่อนได้เคยมี

ถอดคำประพันธ์ เป็นการกล่าวนำว่าโคลงนฤทุมนาการทั้ง 10 ข้อนั้นมีประโยชน์ ผู้ใดที่ประพฤติตามคำสอนนี้จะไม่มีเสียใจกับการกระทำของตัวเองแน่นอน

 

กิจที่ 2 ไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น

เหินห่างโมหะร้อน         ริษยา

สละส่อเสียดมารษา      ใส่ร้าย

ตำหยาบจาบจ้วงอา-    ฆาตขู่ เข็ญเฮย

ไปหมิ่นนินทาบ้าย        โทษให้ผู้ใด

ถอดคำประพันธ์ หมายถึง การไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น จะทำให้อยู่ห่างกับความโมโหและความอิจฉาริษยา ดังนั้นจึงไม่ควรพูดจาให้ร้าย หยาบคายจาบจ้วง อาฆาตหรือนินทาผู้อื่น

 

 

ข้อคิดและคุณค่าที่อยู่ในโคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ อธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งด้านการคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ครอบคลุมการดำเนินชีวิตของทุกคนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ที่โดดเด่นด้านการใช้ถ้อยคำภาษาในบทประพันธ์ จะเห็นได้ว่าคำในแต่ละบทไม่ใช่คำยาก แต่เป็นคำที่สละสลวยอยู่ ทำให้ภาษาในวรรณคดีมีความงดงาม แต่ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ

 

 

จบไปแล้วนะคะกับอีกหนึ่งบทเรียนจากโคลงสุภาษิต สำหรับ โคลงนฤทุมนาการ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ไม่ได้สอนเราแค่ด้านวรรณศิลป์ ภาษาที่สวยงาม แต่ยังสอนเราให้รู้จักคิดก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ถือว่ามีประโยชน์มาก ๆ เลยนะคะ ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน คำสอนของโคลงสุภาษิตก็ยังคงนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่ น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องนี้กันไปแล้วก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กับตัวเองกันนะคะ สุดท้ายแล้ว อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนและขยันทำแบบฝึกหัด ระหว่างที่ทำก็เปิดคลิปการสอนของครูอุ้มฟังไปด้วยเพลิน ได้ทั้งความสนุกและความรู้ดี ๆ อีกเพียบเลยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง การวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้จะเป็นการวัดความยาวของวงกลม 1 หน่วย วงกลมหนึ่งหน่วย คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด และมีรัศมียาว 1 หน่วย จากสูตรของเส้นรอบวง คือ 2r ดังนั้นวงกลมหนึ่งหน่วย จะมีเส้นรอบวงยาว 2 และครึ่งวงกลมยาว   จุดปลายส่วนโค้ง   จากรูป จะได้ว่าจุด P เป็นจุดปลายส่วนโค้ง   จากที่เราได้ทำความรู้จักกับวงกลมหนึ่งหน่วยและจุดปลายส่วนโค้งแล้ว

นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของนิทานเวตาล     นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

NokAcademy_ม2 การใช้ Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions

การใช้ Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “การใช้  Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Future Simple Tense     Future Simple Tense หรือ ประโยคอนาคตกาล เอาไว้พูดถึงเรื่องราวในอนาคต เช่น สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่จะทำ เป็นต้น

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1