เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ

 

คำซ้อน

 

 

ความหมายของคำซ้อน

 

คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

 

ลักษณะความหมายของคำซ้อน

 

 

ประเภทของคำซ้อน

 

คำซ้อนเพื่อความหมาย

เกิดจากการนำคำ 2 คำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือตรงข้ามกันมาซ้อนกัน เน้นที่ความหมายของคำ

1. ซ้อนแล้วความหมายเหมือนเดิมหรือชัดเจนมากขึ้น

เช่น จิตใจ รูปร่าง ว่างเปล่า มากมาย สร้างสรรค์ บ้านเมือง

2. ซ้อนแล้วความหมายแคบหรือเฉพาะเจาะจงมากกว่าเดิม

เช่น ขัดถู ใจคอ เชื่อมต่อ กุ้งหอยปูปลา

3. ซ้อนแล้วความหมายกว้างกว่าเดิม

เช่น ถ้วยชาม ข้าวปลา ทุบตี พี่น้อง หลักฐาน

4. ซ้อนแล้วความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม

เช่น หนักแน่น อ่อนหวาน เดือดร้อน ตัดสิน

5. ซ้อนแล้วความหมายไม่แน่นอน เป็นคำซ้อนที่เกิดจากนำคำที่ความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน

เช่น ชั่วดี ผิดถูก แพ้ชนะ ยากง่าย บุญกรรม

 

คำซ้อนเพื่อเสียง

เกิดจากการนำคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์มาซ้อนกัน ความหมายอาจอยู่ที่พยางค์ใดพยางค์หนึ่ง หรือทุกพยางค์รวมกัน เน้นที่เสียงมากกว่าความหมาย ดังนั้นคำที่นำมาซ้อนจะเป็นคำที่ไม่มีความหมายเลยก็ได้ เช่น งุ่มง่าม ลักลั่น เป็นต้น

 

วิธีสร้างคำซ้อน

 

 

วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อความหมาย

นำคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในภาษามาซ้อนเข้าด้วยกันให้เกิดเป็นความหมาย คำที่นำมาซ้อนกัน สามารถเป็นได้ทั้งคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำต่างประเทศ หรือคำจากต่างประเทศทั้งคู่เลยก็ได้

 

 

วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง

1. นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นกับตัวสะกดเหมือนกัน แต่เสียงสระต่างกันมาซ้อนกัน

เช่น งุ่มง่าม จริงจัง ตูมตาม อุบอิบ

2. นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นกับเสียงสระเหมือนกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน

เช่น ลักลั่น ออดอ้อน รวบรวม

3. นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน แต่มีเสียงสระกับตัวสะกดเหมือนกันมาซ้อนกัน

เช่น แร้นแค้น ราบคาบ จิ้มลิ้ม ลามปาม

4. นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน แต่เสียงสระกับตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน

เช่น แข็งขัน ขับขี่ ว่างเว้น เจิดจ้า

5. นำคำที่ไม่มีความหมายมาซ้อนกับคำที่มีความหมาย มักใช้ภาษาพูด

เช่น ตาเตอ ร้อนเริ้น บ้าบอ กินเกิน

6. เพิ่มพยางค์ลงไปในคำซ้อนเพื่อให้คำหน้ากับคำหลังสมดุลกัน

เช่น กะหนุงกะหนิง พะรุงพะรัง อิหลักอิเหลื่อ

7. คำซ้อนที่มีหลายพยางค์ จะต้องมีเสียงสัมผัสภายในคำที่คล้องจองกัน โดยที่คำนั้นจะมีความหมายหรือไม่จำเป็นต้องมีความหมายก็ได้

เช่น อดตาหลับขับตานอน เทือกเถาเหล่ากอ ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ขิงก็ราข่าก็แรง

 

คำซ้อนแตกต่างจากคำประสมอย่างไร

 

 

วิธีสังเกตข้อแตกต่างระหว่างคำซ้อนกับคำประสม สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยสังเกตที่ความหมายเป็นหลัก คำซ้อนคือการนำคำสองคำมาซ้อนกันเพื่อนเน้นความหมายให้มากขึ้นหรือน้อยลง แต่คำประสมคือการนำคำสองคำมารวมกันแล้วเกิดเป็นความหมายที่ต่างจากไปจากเดิม โดยที่คำทั้ง 2 นั้น แต่เดิมต้องไม่มีความหมายเหมือนกัน ไม่คล้าย และไม่ตรงข้ามกันด้วย ซึ่งแตกต่างกับคำซ้อน เพราะคำที่นำมาซ้อนจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือน คล้าย ตรงข้าม หรือเป็นคำที่ไม่มีความหมายเลยก็ได้

 

เป็นอย่างไรคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการสร้างคำเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเรื่อง ทีนี้น้อง ๆ ก็พอจะเข้าใจในความหมายและหลักการสร้างคำซ้อนแล้วใช่ไหมคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมก็สามารถดูย้อนหลังได้ที่คลิปการสอนของครูอุ้ม นอกจากจะได้ความรู้แล้วยังได้ความสนุกเพลิดเพลินด้วยนะคะ ตามไปดูกันที่คลิปด้านล่างนี้กันเลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ความเป็นมาของวรรณคดีที่แปลจากภาษาอังกฤษ

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นวรรณคดีที่ไทยที่ถูกแปลมาจากภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่าทำไมเราถึงได้เรียนวรรณคดีที่ถูกแปลจากภาษาอื่นด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักวรรณคดีที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่งว่ามีที่มาและเรื่องย่ออย่างไร ใครเป็นผู้แต่งในฉบับภาษาไทย ถ้าพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า     วรรณคดีเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาจากกวีนิพนธ์อังกฤษชื่อ Elegy Written in a country churchyard ของ ธอร์มัส

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของนิทานเวตาล     นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1