เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย

 

ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

ตัวบท

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

แปล

เมื่อเรามีโอกาสได้เกิดมาแล้วทั้งที ก็อย่าเอาแต่พึ่งคนอื่นให้เขาดูถูกแต่ควรคิดพึ่งตัวเองและมีความพยายามในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำไร่ทำนาหรือค้าขายก็ล้วนเป็นการมีเกียรติ อย่าดูถูกว่าเป็นงานไม่ดี หรือถ้าชอบงานอุตสาหกรรมก็ให้เลือกตามที่ถนัดขอแค่อย่าผัดวันไปเรื่อย ๆ ไม่ลงมือทำเสียที

 

ตัวบท

 

 

แปล

เมื่อเราได้อาชีพแล้วเราก็เอาใจเข้าสู้ เอาสติปัญญา เอาความรู้ที่มีเป็นแรงในการประกอบอาชีพ และเอาความพยายามเป็นตัวช่วยนำชีวิต สุดท้ายแล้วเงินและทองก็จะมาหาเราเอง เพราะประเทศไทยนั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรอันมีค่า พร้อมจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จไม่ยาก

 

คำศัพท์น่ารู้

บากบั่น หมายถึง พยายาม มุ่งมั่งไม่ท้อถอย

กสิกิจ หมายถึง การทำไร่ ไถนา

เกียรติ หมายถึง ชื่อเสียง ความยกย่องนับถือ

ผัด หมายถึง ขอเลื่อนเวลาไป

พาณิชยการ หมายถึง การค้าขาย

พึ่ง หมายถึง อาศัย ขอความช่วยเหลือ

หยัน หมายถึง เยาะเย้ย

อุตสาหกรรม หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิตสิ่งของ

อำนวย หมายถึง ให้

เพียร หมายถึง พยายามจนกว่าจะสำเร็จ

ยาน หมายถึง เครื่องนำไป

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 

 

บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิตมีขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ฝึกอ่านและจดจำเกี่ยวกับสุภาษิตได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยอธิบายความหมายให้ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย จากบทประพันธ์น้อง ๆ ก็จะเห็นข้อดีของพึ่งพาตัวเองในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความพยายามและใจรัก ไม่เอาแต่พึ่งพาคนอื่น รอความช่วยเหลือจากคนอื่น ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่มีข้อคิดดีมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง น้อง ๆ เองก็อย่าลืมนำสุภาษิตเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ ก็อย่าลืมเข้าไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับตัวบทเพิ่มเติมด้วย น้อง ๆ จะได้เข้าใจความหมายและคำศัพท์ในเรื่องด้วย ไปชมเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

สัจนิรันดร์

ในบทความจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ ซึ่งจะเน้นให้น้องๆเข้าใจหลักการของการพิสูจน์ สิ่งที่น้องจะได้จากบทความนี้คือ น้องจะสามารถพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้และหากน้องๆขยันทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับสัจนิรันดร์ได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

การสร้างคำประสม   คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำประสม     คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2

Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1