เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธา

 

ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า ความรักเป็นเหมือนโรคร้ายที่มีฤทธิ์ทำให้หลงมัวเมาเหมือนคนตาบอด มองไม่เห็นและไม่รับรู้ถึงอุปสรรคที่เกิดจากความรัก ความรักเหมือนโคหนุ่มคึกคะนอง ต่อให้ขังไว้ก็ไม่ยอมอยู่ในคอก และถึงจะผูกไว้ โคนั้นก็จะพยายามใช้กำลังดึงเชือกที่ผูกไว้ให้หลุดออกจนได้ ยิ่งห้ามปรามเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เสียสติและอาละวาดจนทำให้บาดเจ็บ ตัวบทนี้โดดเด่นในเรื่อของการพูดถึงโทษของความรักของหนุ่มสาวโดยใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบที่คมคาย

 

มัทนะพาธา

 

ถอดความ เป็นตอนที่สุเทษณ์กำลังจะสาปนางมัทนาให้ลงไปเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมตามที่นางขอ มายาวินก็เลยแนะนำดอกไม้ชื่อดอกกุพชกะหรือก็คือดอกกุหลาบ มีสีแดงเหมือนแก้มผู้หญิงยามอาย มีดอกขนาดใหญ่ และมีเกสร อยู่คงทน มีกลิ่นหอมส่งไปไกล อีกทั้งมีหนามราวกับเข็มประดับไว้ ผึ้งบินอยู่ขวักไขว่ ไม่ยอมห่าง มีกลิ่นหอม รับประทานอร่อย มีรสหวานเป็นเลิศ กินแล้วระงับความเครียด ความโกรธ ทำให้รู้สึกดีขึ้น ช่วยขับเสมหะ อีกทั้งยังเจริญกามคุณ ช่วยให้ร่างกายเย็นลงทำให้หายป่วย และช่วยขับพยาธิ ทั้งหมดนี้เป็นการบรรยายสรรพคุณของดอกกุหลาบ

 

คำศัพท์น่ารู้ใน มัทนะพาธา

 

 

คุณค่าในมัทนะพาธา

 

 

มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีที่มีความโดดเด่นในด้านการประพันธ์ เพราะมีการใช้คำประพันธ์ที่หลากหลายตามเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านได้ซึมซับความรู้ของตัวละครได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่แต่งได้ยาก เพราะนอกจากจะต้องสร้างตัวละครให้มีลักษณะนิสัยที่เด่นชัดแล้ว ยังต้องดำเนินเรื่องให้เห็นความขัดแย้ง จนถึงตอนคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ โดยยังคงแก่นของเรื่องที่พูดเรื่องโทษของความรักเอาไว้อย่างดีเยี่ยม มีการใช้ภาษาที่หลากหลาย ทำให้ผู้อ่านได้ข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับเรื่องความรักและยังได้เพลิดเพลินไปกับภาษาที่สวยงามอีกด้วย

 

เรียกได้ว่ามัทนะพาธาเป็นผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกเรื่องหนึ่ง ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูดที่แปลและแต่งได้ยาก ทำให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างมาก และเพราะเหตุนี้ทำให้เราได้อ่านวรรณคดีที่ดีเยี่ยมทั้งในแง่ของข้อคิดสอนใจและภาษาที่สวยงาม นับว่าทรงคุณค่าอย่างมากเลยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครูอุ้มใน YouTube ให้เข้าใจมากขึ้นได้นะคะ เพราะครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับตัวบทเพิ่มเติมไว้ด้วย เป็นบทพูดของนางมัทนากับสุเทษณ์ รวมถึงสรุปความรู้อีกครั้งเพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดอย่างง่ายได้อีกด้วยค่ะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

พญาช้างผู้เสียสละ

ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย ภูมิหลังตัวละคร สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1