เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำพ้อง

 

ความหมายของคำพ้อง

 

 

ประเภทของคำพ้อง

 

 

คำพ้องเสียง

คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนและมีความหมายไม่เหมือนกัน

 

คำพ้อง

 

ตัวอย่างประโยค

ฉันทำที่คั่นหนังสือตกไว้ตรงขั้นบันได

วันศุกร์แล้วฉันมีความสุขมาก

น้องสาวฉันหน้าตาน่ารัก

 

คำพ้องรูป

คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านออกเสียงและมีความหมายไม่เหมือนกัน

 

คำพ้อง

 

ข้อสังเกต

นอกจากจะมีคำพ้องรูปและพ้องเสียงแล้ว บางคำในภาษาไทยยังเป็นคำที่มีพ้องรูปและพ้องเสียงในคำเดียวแต่มีความหมายต่างออกไป

ตัวอย่างพ้องรูปพ้องเสียงที่มีความหมายต่างกัน

ฟัน หมายถึง ใช้ของมีคมฟาดลงไป และหมายถึง กระดูกซี่ ๆ ที่อยู่ในปาก

ขัน หมายถึง ภาชนะที่ใช้ตักน้ำ เสียงร้องของไก่ และการทำให้แน่น เช่น ขันนอตให้แน่น

 

คำพ้องความหมาย

คำพ้องความหมาย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คำไวพจน์ เป็นคำที่เขียนและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกันแต่มีความหมายเหมือนกัน

 

ตัวอย่างคำไวพจน์

 

คำพ้อง

 

ชัฏ, ดง, พง, พงพนา, พงพี, พงไพร, พนัส, พนา, พนาดร, พนาลี, พนาวัน, อรัญญิก, อารัญ, อารัณย์, เถื่อน, ไพร, ไพรวัน, ไพรสัณฑ์

 

คำพ้อง

 

คคนางค์, คคนานต์, ทิฆัมพร, นภดล, นภา, นภาลัย, หาว, อัมพร, อากาศ, เวหา, เวหาศ, โพยม

 

 

คีรี, นคะ, นคินทร์, บรรพต, พนม, ภู, ภูผา, ศิขริน, ศิงขร, สิงขร, ไศล

 

 

ดุรงค์, พาชี, มโนมัย, สินธพ, อัศว, อัศวะ, อัสดร, อาชา, แสะ

 

 

ทวิช, ทวิชาชาติ, ทิชากร, ทิชาชาติ, บุหรง, ปักษา, ปักษิณ, ปักษี, วิหค, สกุณ, สกุณา, สกุณี, สุโนก

 

คำพ้อง

 

บุปผชาติ, บุปผา, บุษบง, บุษบัน, บุษบา, บุหงา, ผกา, ผกามาศ, มาลา, มาลี, สุคันธชาติ, สุมาลี, โกสุม

 

คำพ้อง

 

คงคา, ชลธาร, ชลธี, ชลาลัย, ชลาศัย, ชโลทร, นที, รัตนากร, สมุทร, สาคร, สาคเรศ, สินธุ, สินธุ์, อรรณพ

 

คำพ้อง

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องคำพ้องไปแล้ว คำพ้องมีความสำคัญมาก เพราะถ้าเราใช้ผิด ความหมายก็จะผิดไปเลย ดังนั้น น้อง ๆ ต้องหมั่นทบทวนเพื่อไม่ให้จำสลับกันนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปรับชมและรับฟังคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างทบทวนเนื้อหา เพื่อพิชิตทุกโจทย์ในข้อสอบ ไปดูกันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

wh-questions + was, were

การใช้ Wh-questions  with  was, were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ Wh-questions  with  was, were (Verb to be in the past)” ไปลุยกันเลยจร้า Sit back, relax, and enjoy the lesson! —นั่งพิงหลังชิวๆ ทำใจสบายๆ แล้วไปสนุกกับบทเรียนกันจร้า—  

Past Time

Past Time หรือ เวลาในอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Time หรือ เวลาในอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1