เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

วิชชุมมาลาฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำประพันธ์ประเภท ฉันท์

 

ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท จนกระทั่งอีกสองพันปีต่อมาซึ่งอยู่ในสมัยมหากาพย์ฉันที่เรียกว่า โศลก ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาใหม่ โดยมีบาทที่ 1 เหมือนกับบาทที่ 3 และบาทที่ 2 เหมือนกับบาทที่ 4

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

ฉันท์บาลีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันมาตราพฤติ โดยฉันท์วรรณพฤติกับฉันท์มาตราพฤติมีข้อแตกต่างกันดังนี้

  1. ฉันท์วรรณพฤติ เป็นฉันท์ที่กำหนด เสียงหนักเบาที่เรียกว่าครุ ลหุ
  2. ฉันท์มาตราพฤติ กำหนดด้วยมาตรา คือวางจังหวะสั้นยาวของมาตราเสียงเป็นสำคัญ นับคำครุเป็น 2 มาตรา นับคำลหุเป็น 1 มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร ซึ่งแตกต่างจากฉันท์วรรณพฤติ

ส่วนฉันท์ที่คนไทยนิยมนำมาแต่งเป็นพื้นฐานคือ ฉันท์วรรณพฤติ

 

หลักการแต่งฉันท์

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

1. จำคำลหุ (คำที่ออกเสียงเบา เร็ว สั้น) ให้แม่นยำ มีลักษณะดังนี้

  • คำที่มีสระอะ อิ อุ ฤ ฦ เอะ แอะ โอะ เอาะ อัวะ อำ(เฉพาะที่เป็นคำยืมเขมร เช่น ตำบล(ตำ เป็น ลหุ บล เป็น ครุ))
  • คำที่มีไม้เอก เช่น บ่ ไป่ ไม่ จุ่ง
  • คำควบกล้ำ เช่น พระ ประ
  • คำลหุที่ติดมากับครุ เช่น เกษม กะ เป็นลหุ ส่วน เษม เป็น ครุ

2. จำคำครุ (คำที่ออกเสียงหนัก ยาว) ให้แม่นยำ หากจำคำลหุได้ ที่เหลือก็ถือเป็นคำครุทั้งหมด แต่จะมีบางคำที่แม้จะเป็นสระที่ออกเสียงคล้ายเสียงสั้น แต่จะจัดอยู่ในคำครุ คือ ไอ ใอ สระ 2 ตัวนี้ในฉันท์ภาษาไทยอนุโลมเป็นคำครุ

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

3. แต่งให้ตรงตามลักษณะบังคับของฉันท์

ฉันท์แต่ประเภทมีลักษณะการแต่งที่ไม่เหมือนกัน มีจำนวนบาทไม่เท่ากัน เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ที่บาทหนึ่งมี 8 คำ จึงนับเป็นฉันท์ 8

 

วิชชุมมาลาฉันท์ 8

 

วิชชุมมาลาฉันท์ เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย เรียกว่า วิชชุมมาลาคาถา

วิชชุมมาลาฉันท์ (วิด-ชุม-มา-ลา-ฉัน) แปลว่า ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุลสายฟ้าแลบที่มีรัศมียาว

 

 

ตัวอย่าง

 

ลักษณะบังคับ

1.คณะและพยางค์

  • บทหนึ่งมี 4 บาท
  • บาทหนึ่งมี 4 วรรค
  • วรรคหนึ่งมี 4 คำ
  • บาทหนึ่งมี 8 คำ จึงเรียกว่าฉันท์ 8
  • รวมบทหนึ่งมี 8 วรรค 32 คำ

2. ครุ-ลหุ

  • ประกอบด้วยคณะฉันท์ มะ มะ ครุลอย 2
  • เป็นคำครุทั้งหมด ไม่มีลหุอยู่เลย

3. สัมผัส ส่งสัมผัสแบบกลอนสุภาพ

สัมผัสใน

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 6 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 7

สัมผัสระหว่างบท

คำสุดท้ายของบท ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต่อไป

 

นอกจากจะใช้แต่งเรื่องราวที่ยืดยาว มีบทพรรณนา บทสนทนาและคติธรรมแล้ว ฉันท์ยังใช้แต่งบทประพันธ์ขนาดสั้นได้ รวมไปถึงแต่งเป็นบทสดุดี บทบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา และบทอวยพรเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นคำที่ประพันธ์ที่สามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย ถ้าหากเราแต่งให้ตรงฉันท์ลักษณ์และเลือกสรรคำที่งดงาม ก็จะทำให้บทประพันธ์มีความไพเราะได้ไม่ยากเลยค่ะ สุดท้ายนี้เพื่อทบทวนความเข้าใจ น้อง ๆ อย่าลืมรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างฝึกแต่งและทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1