อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

 

บทที่ 1 

อิเหนา

 

ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ

 

บทที่ 2

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

 

ถอดความ เป็นชมดง เกิดขึ้นในตอนที่อิเหนากำลังยกทัพไปเพื่อช่วยท้าวดาหา โดยระหว่างทางก็ชมนกชมไม้ไปด้วยแล้วเกิดความรู้สึกคิดถึงเมียทั้ง 3 คนของตัวเอง เห็นนกนางนวลเพื่อเกาะนอน ก็นึกถึงยามที่ตัวเองเคยนอนอิงแอบจินตะหรา เห็นนกจากพรากเกาะต้นจากแล้วส่งเสียงร้อง ก็คิดถึงสการะวาตี เห็นนกแขกเต้าเกาะต้นเต่าแล้วส่งเสียงร้องก็คิดถึงมาหยารัศมี เห็นนกแก้วจับต้นแก้วพูดเจรจาก็นึกถึงตอนที่นางทั้งสามมาสั่งลา เห็นนกเค้าโมงจับต้นโมงอยู่อย่างโดดเดี่ยวก็นึกถึงตัวเองที่นั่งนับโมงยามว่าจากชายามานานเท่าใดแล้ว เห็นนักคับแคจับต้นแคอยู่ตัวเดียวก็นึกถึงตัวเองที่กำลังอยู่สึกเปล่าเปลี่ยวอยู่ในป่า อิเหนาชมนกชมไม้ไปตลอดทางก่อนจะออกกำลังให้ทหารเร่งเดินทัพ

 

เกร็ดน่ารู้

 

บทที่ 3

 

ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกุเรปันส่งจดหมายไปถึงโอรสอย่างอิเหนาให้มาช่วยท้าวดาหารบ เพราะถึงครั้งหนึ่งอิเหนาจะเคยปฏิเสธบุษบาแต่อย่างไรก็มีศักดิ์เป็นญาติ อยู่ในวงศ์เทวาเหมือนกัน ท้าวดาหาเองก็มีศักดิ์เป็นอาเช่นกัน ดังนั้นถ้าเสียเมืองดาหาไป อิเหนาจะไม่อายหรือ และยังตั้งคำถามให้โอรสได้คิดอีกว่า ที่เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นมาจากใคร ซึ่งในตอนนี้ท้าวกุเรปันหมายถึงตอนที่อิเหนาปฏิเสธบุษบา ทำให้อับอายชาวเมืองดาหา ซึ่งถ้าตอนนั้นอิเหนาแต่งงานกับบุษยาไปตั้งแต่แรก ท้าวดาหาก็จะไม่ลั่นวาจาว่าจะยกบุษบาให้คนอื่น ท้าวกะหมังกุหนิงก็จะไม่มาสู่ขอและไม่เกิดสงคราม ดังนั้นถ้าไม่ยกทัพมาช่วย ถึงจะตายก็อย่ามาเผาผีและให้ตัดขาดพ่อลูกกันไปเลย

 

คุณค่าที่อยู่ในอิเหนา

 

 

ด้านเนื้อหาและสังคม

เนื้อของ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง สะท้อนค่านิยมความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ ก่อนทำการสงครามต้องให้โหรหลวงมาทำนายหรือต้องดูฤกษ์ก่อน นอกจากนี้ยังสะท้อนประเพณีและวัฒนธรรมของคนในอดีตที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาหลายคนได้

 

ด้านวรรณศิลป์

รสวรรณคดี

  • เสาวรจนีย์ เป็นบทชมความงาม ซึ่งในเรื่องนอกจากจะชมความงามของตัวละครหญิงแล้ว ยังพบในตอนอิเหนาชมศพของวิหยาสะกำด้วย
  • พิโรธวาวัง เป็นการแสดงความโกรธ เนื่องจากในเรื่องมีการทำสงคราม เมื่อถึงจุดที่ขัดแย้งก็จะพบบ่อย ๆ อย่างเช่น ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธท้าวดาหา หรือตอนที่ท้าวกุเรปันเขียนจดหมายต่อว่าอิเหนา
  • สัลลาปังคพิสัย บทแสดงความเศร้า มักพบในตอนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่อง เช่น อิเหนาที่คิดถึงเมียแล้วเศร้า หรือเมียทั้ง 3 ของอิเหนาอาลัยอาวรณ์อิเหนาที่กำลังจะไปรบ

ภาพพจน์

มีการใช้อุปมาและอุปลักษณ์ในเรื่องมากมาย ทั้งการใช้อุปมา อุปลักษณ์ การเล่นเสียงสระ เสียงพยัญชนะ การเล่นคำพ้องเสียง คำพ้องรูป

ตัวอย่างอุปมา

กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด

ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์ เห็นผิดระบอบบุราณมา

ตัวอย่างอุปลักษณ์

หวังเป็นเกือกทองรองบาทา พระผู้วงศ์เทวาอันปรากฏ

จะขอพระบุตรีผู้มียศ ให้โอรสข้าน้อยดังจินดา

การเล่นเสียง

เล่นเสียงสระ เช่น ความกลัวความรักสลักทรวง ให้เป็นห่วงหลังกังวลหน้า

เล่นเสียงพยัญชนะ เช่น แว่วเสียงสำเนียงบุหรงร้อง ว่าเสียงสามนิ่มน้องเสน่หา

การเล่นคำ

เล่นคำพ้องเสียง เช่น เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา

เล่นคำพ้องรูป เช่น นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา

 

อิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดแห่งละครรำ โดดเด่นในเรื่องอารมณ์ของตัวละครที่แสดงออกมาจากอย่างลึกซึ้ง ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง แม้ตัวละครและเนื้อเรื่องดั้งเดิมจะเป็นของชาวชวา ด้วยวัฒนธรรมที่ไม่ต่างกันมาก ทำให้เมื่อปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมแล้วก็ไม่ได้รู้สึกติดขัด นับว่าเป็นวรรณคดีอีกเรื่องหนึ่งที่สนุกและน่าติดตามมาก ไม่แปลกใจเลยใช่ไหมคะว่าทำไมถึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ทุกยุคทุกสมัย สุดท้ายก่อนลากันในวันนี้ น้อง ๆ อย่าลืมไปชมคลิปสรุปความรู้เพื่อวิเคราะห์เนื้อเรื่องและฟังคำอธิบายเพิ่มเติมของแต่ละตัวบทนะคะ รับรองว่าได้ความรู้ดี ๆ เพิ่มขึ้นอีกแน่นอน

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังเพื่อจับใจความ

วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ 3 วิธีที่จะช่วยให้เราฟังเพื่อจับใจความได้อย่างดี

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับเนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยวันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสนุก และไม่หนักจนเกินไป เพราะเป็นเรื่องของทักษะการฟังเพื่อจับใจความที่เราสามารถฝึกฝน เรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าการฟังเพื่อจับใจความมันคืออะไร แตกต่างไปจากการฟังแบบทั่วไปอย่างไร แล้วลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง ถ้าทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้าเรามาเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กันเลยดีกว่า     กระบวนการในการฟังของมนุษย์ การฟังเป็นกระบวนการรับสารของมนุษย์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ใช้กระบวนการรับรู้เสียงต่าง ๆ ผ่านหู และใช้สมองในการแปลความหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้อยู่หลัก ๆ  5 

นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของนิทานเวตาล     นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1