ศึกษาตัวบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โคลนติดล้อ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง การปลุกใจคนไทยให้รักชาติ และมีทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แค่นี้ก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ แต่ความดีเด่นของหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกมาก บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทที่สำคัญและคุณค่าของบทความที่ 4 ในเรื่องโคลนติดล้อตอน ความนิยมเป็นเสมียน พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

บทเด่นใน โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

 

ความนิยมเป็นเสมียน

บทนี้พูดถึงความนิยมในการเป็นเสมียนของหนุ่มสาวในยุคนั้นที่สนใจงานเสมียนมากกว่าการกลับไปช่วยทำการเกษตรที่บ้านเกิดเพราะเห็นว่าเสียเวลา คิดว่าตัวเองเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง จึงไม่สมควรที่จะไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้

 

ความนิยมเป็นเสมียน

 

ในการทำงานเสมียน ไม่สามารถทำได้ตลอดไปเพราะเมื่อถึงเวลาหนึ่งเมื่อเห็นว่าทำงานไม่ได้แล้วก็จะถูกคัดออก บรรดาเสมียนที่เคยทำแต่งานเสมียน ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย จุดจบก็จะมีด้วยกันสองทางคือ ถ้าเป็นคนดี คนทำงานสุจริตก็แอบไปใช้ชีวิตบั้นปลายแล้วตายไปอย่างเงียบ ๆ แต่ถ้าเลือกทางทุจริต ก็จะมีความสุขอยู่พักหนึ่งแต่สุดท้ายก็ต้องถูกจับและจำคุก ไม่ว่าจะทางไหนก็น่าเวทนาไม่ต่างกัน

 

ข้อคิดของเรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

 

1. อย่าทะเยอทะยานเกินตัว ให้พึงพอใจในสิ่งที่ตนมี

2. อาชีพทุกอาชีพมีความสำคัญ และทำคุณประโยชน์ให้ประเทศได้ไม่ต่างกัน

3. เกษตรก็ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ ไม่ใช่อาชีพของคนไม่มีความรู้หรือเสียเกียรติ

4. อย่าลืมถิ่นฐานบ้านเกิด

5. ต้องรู้จักมองหาสิ่งที่ตัวเองทำได้ อย่ายึดติดแต่สิ่งที่เคยทำแล้วคิดว่าจะต้องทำสิ่งนั้นเพียงอย่างเดียวตลอดไป

 

คุณค่าในโคลนติดล้อ

 

ด้านวรรณศิลป์

บทประพันธ์มีการสรรคำได้อย่างเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยศิลปะในการใช้ภาษา ดังนี้

 

ด้านสังคม

1. สะท้อนภาพชีวิตและค่านิยมของสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่คนไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกมาก คนหนุ่มสาวมีการศึกษาขึ้นทำให้ความคิดเปลี่ยนไปหลาย ๆ อย่าง เช่นการดำรงชีพ หน้าที่การงาน มองภาพเมืองหลวงดีกว่าบ้านเกิด ไปดูหนัง จับจ่ายเกินตัว

2. ปัญหาของสังคมในยุคที่หนังสือพิมพ์แผ่หลาย คนนิยมอ่านหนังสือพิมพ์แต่เชื่อทุกอย่างโดยขาดไตร่ตรอง ส่งผลให้มีอคติคิดลบต่อรัฐบาล

 

โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมของเสมียน เป็นบทความที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ยังสามารถใช้เป็นงานเขียนที่ช่วยให้คนไทยตระหนักถึงการใช้ชีวิต การทำงาน และสำนึกรักในบ้านเกิดเมืองนอนได้อยู่เสมอ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปของครูอุ้มเพื่อฟังการสรุปความรู้ของเรื่องได้ รับรองว่าน้อง ๆ จะสามารถเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้อย่างง่ายดายโดยใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น ไปรับชมและรับฟังกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile-even if-only if- unless grammartical techniques

Even if, Only If, Unless ใช้ยังไงในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.  6 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคการใช้ Even if, Only if, Unless มาฝากกันค่ะ หลายคนที่อาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว แต่อาจะจะลืมไปหรือบางคนอาจจะยังไม่เคยเรียนเลย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะเริ่มกันใหม่ ไปลุยกันเลย ความหมายโดยรวมของ Even if, Only if, Unless คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมความขัดแย้งของประโยคเงื่อนไข ย้ำนะคะว่า

M2 V. to be + ร่วมกับ Who WhatWhere + -Like + infinitive

การใช้ V. to be ร่วมกับ Who/ What/Where และ Like +V. infinitive

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to be + ร่วมกับ Who/ What/Where + -Like + infinitive ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สับสนบ่อย แต่ที่จริงแล้วง่ายมากๆ ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go ความหมาย    Verb to be

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ   There is/There are คืออะไร   There is และ There are แปลว่า

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1