ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

 

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

 

ตัวบทที่ 1 

 

พระยาภักดี : ใครวะ

อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า ผมบอกว่าใต้เท้ายังไม่กลับจากออฟฟิศก็ไม่ยอมไป เดินเรื่อยขึ้นมาที่นี่ว่าจะคอยพบใต้เท้า

พระยาภักดี : แล้วยังไงล่ะ

 

บทสนทนานี้เป็นบทสนทนาของพระยาภักดีนฤนาถกับอ้ายคำบ่าวรับใช้ สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือระดับภาษาผ่านการสนทนาระหว่างนายกับบ่าวที่มีการใช้ภาษาแตกต่างกันตามสถานะของผู้พูด

 

ตัวบทที่ 2 

 

พระยาภักดี : (มองดู) ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะได้จำได้คลับคลา

นายล้ำ : ก็ยังงั้นซิครับ ใต้เท้ามีบุญขึ้นแล้วจะมาจดมาจำคนเช่นผมยังไงได้

พระยาภักดี : ฮือ! พิศ ๆ ไปก็ออกจะจำได้ นายล้ำไม่ไหม

 

บทสนทนาระหว่างพระยาภักนฤนาถกับอดีตเพื่อนเก่าอย่างนายล้ำที่เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้ ในบทนี้จะเด่นเรื่องของคำศัพท์และสำนวนเก่า ๆ ที่ไม่ได้เห็นบ่อยนักในยุคสมัยปัจจุบัน เช่น มีบุญขึ้นแล้ว หมายถึงมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

ตัวบทที่ 3

 

แม่ลออ : …ถ้าใครบอกดิฉันว่าเป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อเป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดีจริง ๆ อย่างทิ่ดิฉันนึกเดาเอาใจ คุณพ่อนี่ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริงไหมคะคุณพ่อ

นายล้ำ : ถ้าใครบอกหล่อนว่าพ่อหล่อนที่ตายน่ะเป็นคนไม่ดีละก็หล่อนเป็นไม่ยอมเชื่อเลยเทียวหรือ?

แม่ลออ : ดิฉันจะเชื่อยังไง ดูในรูปก็เห็นว่าเป็นคนดี

 

บทสนทนาระหว่างแม่ลออกับนายล้ำ ซึ่งแม่ลออไม่รู้ว่านายล้ำคือบิดาแท้ ๆ จึงพูดถึงบิดาที่เข้าใจว่าเสียชีวิตไปแล้วในแง่ดีตามที่ได้ฟังมาจากพระยาภักดีนฤนาถ ซึ่งบทนี้โดดเด่นเพราะเป็นจุดที่ทำให้นายล้ำละอายแก่ใจจนในที่สุดก็ไม่บอกความจริงกับแม่ลออว่าเป็นบิดาแท้ ๆ เป็นที่มาของชื่อเรื่อง เห็นแก่ลูก

 

คุณค่า

 

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

ช้อคิดในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่พ่อแม่มีให้ลูกถึงแม้จะมีช่วงเวลาที่หลงผิด แต่สุดท้ายก็นึกถึงความสุของลูกเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นายล้ำกับพระยาภักดีเป็เพื่อนที่เคยรัชราชการตำแหน่งเดียวกัน แต่ชีวิตของนายล้ำดิ่งลงเหวหลังจากทำเรื่องไม่ดีจนเป็นเหตุให้ต้องติดคุก ผลกรรมคือหมดอนาคตและไม่ได้อยู่กับลูกอีกต่อไปได้

คุณค่าด้านสังคม

ในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก สะท้อนค่านิยมวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้นไดอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย และสภาพสังคม ทำให้เห็นถึงความเป็นอยู่ บ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ 6

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

วรรณศิลป์ที่โดดเด่นในวรรณคดีเรื่องนี้คือการใช้ถ้อยคำที่สมจริง ทำให้แสดงอารมณ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีการใช้ระดับภาษาที่เด่นชัดและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ในเรื่องยังมีทั้งสำนวนเก่า ๆ ที่หาฟังยาก การใช้คำเก่าที่ไพเราะและยังมีการทับศัพท์อีกด้วย

 

 

จบไปแล้วนะสำหรับบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกในส่วนของตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าข้อคิดที่อยู่ในเรื่อง น้อง ๆ อ่านแล้วคงจะสัมผัสได้ถึงความงดงามของภาษาที่เรียบง่ายและข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่อของครอบครัวที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ถือว่าเป็นวรรณคดีที่มีประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยจริงค่ะ สุดท้ายนี้น้องๆ อย่าลืมไปรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเพิ่มเกี่ยวคำศัพท์ ตัวบทเด่น ๆ และเกร็ดความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ไปรับชมและรับฟังเลยค่ะ

 

ประเมินค่าบทประพันธ์

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การบวกและการลบเอกนาม

การบวกและการลบเอกนาม บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จักเอกนามและเข้าใจวิธีการบวกลบเอกนามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างการบวกและการลบเอกนามมานำเสนออกในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เอกนาม เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก ค่าคงตัว คือ ตัวเลข ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y เอกนาม ประกอบด้วย 2

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำขวัญ คืออะไร   คำขวัญ คือ

การอ่านบทร้อยแก้ว อ่านอย่างไรให้น่าฟัง

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ร้อยแก้วคืออะไร ?   บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1