ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน
ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย

อมรินทร์    หมายถึง     พระอินทร์

คช             หมายถึง    ช้าง, ช้างพลาย

นิรมิต         หมายถึง    นิมิต, เนรมิต, บันดาลให้เกิดขึ้น

สีสังข์         หมายถึง    สีขาว (สีเหมือนหอยสังข์)

โอฬาร์        หมายถึง    ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต, เลิศล้น

ถอดความได้ว่า

อินทรชิตได้จำแลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งลักษณะของช้างที่เนรมิตมานี้ก็ดูแข็งแรงและมีฤทธา ผิวของช้างเอราวัณเป็นสีขาวเผือกผ่องสะอาดราวสีของสังข์และตัวใหญ่โตมาก ๆ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

โสภา          หมายถึง    สวย, งาม

รูจี              หมายถึง    แสงสว่าง, ความงาม, ความรุ่งเรือง

โบกขรณี    หมายถึง    สระบัว

อุบล            หมายถึง   ดอกบัวสาย

ถอดความได้ว่า

ช้างนั้นมีสามสิบสามหัวแต่ละหัวมี 7 งา สวยงามราวกับเพชรที่ส่องแสงประกาย ในแต่ละงานั้นจะมีสระบัว 7 สระ แต่ละสระก็มีกอบัว    7 กอ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

ดวงมาลย์         หมายถึง    ดอกบัว

ผกา                 หมายถึง     ดอกไม้

โสภา               หมายถึง     สวย, งาม

แน่งน้อย          หมายถึง    มีรูปร่างบอบบาง,

ลำเพา             หมายถึง    โฉมงาม

นงพาล           หมายถึง     สาวแรกรุ่น

ถอดความได้ว่า

กอบัวแต่ละกอมีดอกบัว 7 ดอก ในแต่ละดอกที่แบ่งบานนี้จะมีกลีบบัวอยู่ 7 กลีบ แต่ละกลีบจะมีเทพธิดา 7 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีรูปโฉมงดงามมาก 

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

เยาวมาลย์        หมายถึง     หญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงาม

มายา                หมายถึง     ลวงตา, มารยา, การแสร้งทำ

อัปสร                หมายถึง     นางฟ้า, เทพธิดา

บวร                   หมายถึง     ประเสริฐ, ล้ำเลิศ

เกศ                   หมายถึง     หัว, ศีรษะ

กุญชร               หมายถึง     ช้าง

เวไชยันต์           หมายถึง     ปราสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

ถอดความได้ว่า

เทพธิดาแต่ละองค์จะมีบริวารองค์ละ 7 คน ทั้งหมดนี้ล้วนเนรมิตขึ้นมาทั้งสิ้น นางเหล่านี้ฟ้อนระบำร่ายรำงดงามพริ้วไหวราวกับนางฟ้านางสวรรค์ลงมาร่ายรำให้ดู หัวของช้างแต่ละหัวนั้นก็จะมีวิมานตั้งอยู่ วิมานเหล่านั้นสวยดุจดั่งประสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

บทพากย์เอราวัณ

ประเมินคุณค่า

  • ด้านเนื้อหา

1. ได้ศึกษาวรรณคดีของชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ใช้ในการแสดงโขนมายาวนาน
2. ทำให้ทราบถึงลักษณะของช้างเอราวัณว่ามีลักษณะอย่างไร
3. แสดงถึงแง่มุมที่ให้ข้อคิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีสติ อย่าหลงเชื่อใคร หรือหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ

  • ด้านวรรณศิลป์

เป็นวรรณคดีที่แต่งได้อย่างมีชั้นเชิง สามารถใช้ภาษาอันไพเราะมาร้อยเรียงด้วยลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 ใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความสวยงาม และลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี อาทิ

“เศียรหนึ่งเจ็ดงา             ดั่งเพชรรัตน์รูจี”

“มีวิมานแก้วงามบวร        ทุกเกศกุญชร         ดังเวไชยันต์อัมรินทร์”

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้ถอดคำประพันธ์กันแล้วพอจะเห็นภาพความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณบ้างหรือเปล่า ต้องบอกว่าบทพากยฺเอราวัณ์นี้สามารถแต่งออกมาบรรยายลักษณะของช้างเอราวัณนี้ไว้ได้อย่างละเอียด และไพเราะมากจริง ๆ เป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เราต้องช่วยกันรักษาไว้ ส่วนน้อง ๆ คนไหนอยากจะศึกษาเพิ่มเติมแนะนำให้ดูครูอุ้มสอนที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

การใช้ Possessive Pronoun

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive Pronoun ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า บทนำ Possessive pronoun (เช่น mine, yours, hers) ถือเป็นหัวข้อหนึ่งในภาษาอังกฤษที่หลายคนมักจะสับสน นั่นก็เพราะมันมีความคล้ายคลึงกับ Possessive adjective (เช่น my, your, her) ลองเปรียบเทียบประโยคเหล่านี้ดูนะคะ   A

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

Passive Modals คืออะไร

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ ทบทวนสักหน่อย   ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า กลุ่มของ

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1