ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง  ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

 

ประวัติความเป็นมา

สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38 ประการในพระไตรปิฎกซึ่งเดิมทีเป็นภาษบาลีแล้วนำมาแต่งเป็นร้อยแก้ว โดยใช้คำประพันธ์ถึง 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 เรียบเรียงออกมาได้อย่างไพเราะ ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการศึกษาเรื่องของประวัติความเป็นมาเพิ่มเติมอย่างละเอียดก็สามารถเข้าไปดูเนื้อหาในบทความที่ทางเราได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ได้

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ

หลังจากที่เราได้ทบทวนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปพอสมควรแล้ว อีกส่วนที่น้อง ๆ ควรจะได้
เรียนรู้จากวรรณคดีเรื่องนี้คือความสวยงามทางภาษา และคุณค่าทางวรรณศิลป์ โดยบทเรียนที่น้อง ๆ มักจะได้เรียน หรือเป็นที่รู้จักกันดีคืออุดมมงคล หรือคาถาทั้ง 11 บทที่ได้รวบรวมเอามงคลทั้ง 38 ประการไว้ด้วยกันแล้ว ซึ่งแต่ละบทนั้นก็สามารถแต่งออกมาได้อย่างไพเราะงดงาม ดังนั้น วันนี้เราจะพาน้อง ๆ มาถอดความแต่ละบทกันว่าจะได้ใจความออกมาว่าอย่างไรบ้าง

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

ละเว้นจากการคบคนพาล ให้คบหาบัณฑิต และบูชาคนที่เราควรจะบูชา แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

ให้เลือกอยู่ในสถานที่ที่เหมาะควร มีบุญวาสนาที่เคยได้ทำไว้ในชาติปางก่อนคอยเกื้อหนุน และประพฤติตนในทางที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

เป็นผู้ที่รับฟังให้มาก มีความชำนาญในวิชาชีพที่จะทำ อยู่ในระเบียบวินัย พูดจาปราศรัยกับผู้อื่นด้วยคำพูดที่ดี แล้วทั้ง 4 ประการนี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

บำรุงดูแลบิดามารดาให้สุขสบาย ถ้ามีภรรยาและลูกก็ให้ดูแลทะนุถนอมอย่างดี การงานที่ทำอยู่อย่าให้ติดค้าง หรือขัดข้อง แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

หมั่นให้ทานและประพฤติตนอยู่ในทางธรรม พร้อมทั้งคอยจุนเจือเกื้อหนุนญาติผู้ใหญ่ ประกอบอาชีพที่สุจริตแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

ให้งดเว้นจากการทำบาป งดเว้นจากการดื่มของมึนเมา ไม่ประมาทในทางธรรมแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

ให้เกียรติและเคารพผู้อื่น รู้จักนอบน้อมถ่อมตน อยู่อย่างสันโดษให้ได้ และไม่ละโมบโลภมาก หรือทะเยอทะยานมากจนเกินไป ต้องมีความกตัญญู หากมีโอกาสให้หาเวลาฟังธรรมะบ้างแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

มีความอดทนอดกลั้น เป็นคนที่ว่าง่ายสอนง่าย ให้ประพฤติตนตามอย่างครูบาอาจารย์ และหาเวลามาสนทนาธรรมบ้างเพื่อสร้างกุศลแล้วทั้ง 4 ประการนี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

พยายามบำเพ็ญเพียร (ตบะ) เพื่อลดกิเลสและโทษะ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ละเว้นจากความชั่วทั้งหลาย เข้าใจความเป็นไปของชีวิต (อริยสัจ) และเรียนรู้วิธีที่จะนำไปสู่การนิพพาน (การดับกิเลส และทุกข์ทั้งหลาย และตายจากไปอย่างหมดห่วง) แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

ไม่ปล่อยจิตให้หวั่นไหว อย่าปล่อยจิตใจให้เศร้าโศก ทำจิตใจให้ปราศจากความทุกข์ และความมัวหมอง ปล่อยใจให้สบายแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

 

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ถอดความได้ว่า

ไม่ว่าจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ตนใด ถ้าหากได้ประพฤติปฏิบัติตนตามอุดมมงคลทั้ง 38 ประการนี้ ก็จะนำมาซึ่งความสุขความเจริญกลายเป็นผู้ที่มีความประเสริฐ และประสบความสำเร็จทุกประการ

บทส่งท้าย

ทั้งหมดนี้ก็คือตัวบทจากวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัชกาลที่ 6 ตั้งใจจะแต่งไว้ให้ทุกคนใช้เป็นแนวทางในการประพฤติตนในทางที่เหมาะควร แล้วจะทำให้ชีวิตได้รับแต่สิ่งดี ๆ มีแต่ความสุขความเจริญ จะเห็นได้ว่ามีการนำกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 มาแต่งร่วมกันได้อย่างไพเราะจับใจ ถือเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เราต้องช่วยกันธำรงรักษาไว้ให้ได้ศึกษาคุณค่าทางภาษา และวรรณศิลป์กันต่อไปในหลาย ๆ แง่มุม ส่วนถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะทบทวนเรื่องตัวบทอีกรอบก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเลขคณิต คือการนำลำดับเลขคณิตแต่ละพจน์มาบวกกัน โดย เขียนแทนด้วย จากบทความ “สัญลักษณ์การบวก” ซึ่งเป็นการลดรูปการเขียนจำนวนหลายจำนวนบวกกัน ในบทความนี้จะพูดถึงการบวกของลำดับเลขคณิต การหาผลบวก สูตรสำหรับการหาผลบวกเลขคณิต สูตรอนุกรมเลขคณิต สูตรของอนุกรมเลขคณิตมีอยู่ 2 สูตร ดังนี้ 1)   โดยที่ d คือ ผลต่างร่วม 2)   โดยจะใช้สูตรนี้ก็ต่อเมื่อรู้ค่า

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ร้อยละ

การคำนวณร้อยละในชีวิตประจำวัน

บทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความหมายของคำว่าร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ รวมทั้งความสัมพันธ์ของอัตราส่วนที่คิดคำนวณเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ ที่จะทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1