ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา

 

ศิลาจารึก

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1826 จุดประสงค์คือเพื่อบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งลักษณะการปกครอง ความเป็นอยู่ของประชาชน ความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง

 

ศิลาจารึก

 

การค้นพบศิลาจารึก หลักที่ 1

 

ในปี พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 และพระแท่นมนังคศิลาบาตรที่ปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย โดยให้ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาโบราณแปล คือ ศ.ยอร์ช เซเดส์ และ ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ

 

ศิลาจารึก

 

เกร็ดน่ารู้

ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวค้นพบศิลาจารึก พระองค์ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงงผนวชอยู่ 27 พรรษาก่อนลาผนวชเพื่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลต่อไป

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึกแต่งเป็นร้อยแก้วบรรยายโวหาร

 

ลักษณะของศิลาจารึก

 

เป็นหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม เนื้อศิลาเป็นหินทรายแป้ง มีข้อความจารึก 4 ด้าน โดยด้านที่ 1 และ 2 มีจารึกด้านละ 35 บรรทัด ส่วนด้านที่ 3 และ 4 มีจารึกด้านละ 27 บรรทัด แท่นศิลาจารึกมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร

 

เรื่องย่อศิลาจารึก หลักที่ 1

 

เนื้อหาของศิลาจารึกหลักที่ 1 แบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงเล่าถึงประวัติของตัวพระองค์เองว่าเป็นใคร ย้อนไปถึงเรื่องเราในยุคของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่ทำศึกสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อพระราชบิดาเสร็จสวรรคต พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระเชษฐาของพ่อชุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ต่อพระราชบิดา จนกระทั่งพ่อขุนบานเมืองเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

ตอนที่ 2 ในตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเนื้อหาในตอนนี้จะแตกต่างกับตอนแรกตรงที่ในศิลจารึกเลิกแทนตัวสรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า “กู” ซึ่งหมายถึงตัวพ่อขุนรามคำแหงเอง แต่เป็นการบันทึกโดยใช้ชื่อของพ่อขุนรามคำแหง จึงมีสันนิษฐานว่าเนื้อในส่วนนี้มีผู้อื่นบันทึกต่อหลังสิ้นรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงหรือจารึกแทน

ตอนที่ 3 ตอนนี้จะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงในด้านต่าง ๆ ทั้งความฉลาด ความกล้าหาญ และความสามารถด้านการปกครอง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญมาก ๆ อย่างการประดิษฐอักษรไทยตามแบบที่พระองค์ทรงใช้ในศิลาจารึกนี่อีกด้วย

 

ศิลาจารึก เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ซึ่งศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนี้ก็ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเป็นอยู่และเรื่องราวสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์อีกมาก อย่างการเมือง การปกครอง หรือการประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนราม ในบทต่อไปน้อง ๆ จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาและคุณที่อยู่ในศิลาจารึกเพิ่ม แต่ก่อนอื่น น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและทบทวนความรู้ในบทนี้โดยการดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past

Modals in the Past

  สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า   ทบทวน Modal Verbs      Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

การใช้ Quantity words

การใช้ Quantity words

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร “Quantity words” คือคำบอกปริมาณนั่นเอง เช่น much, many, few, a few, lots

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1