ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ

 

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

 

พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมยังเล็ก

 

ถอดความ พ่อขุนรามคำแหงได้บอกเล่าเรื่องราวของตัวเองว่ามีพ่อชื่อศรีอินทราทิตย์ มีแม่ชื่อนางเสือก มีพี่ชื่อบานเมือง มีพี่น้องร่วมสายเลือดอยู่ 5 คน ผู้ชายสามคน และผู้หญิง 2 คน พี่คนโตเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเล็ก

 

เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจะแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน

 

ถอดความ เมื่ออายุได้ 19 ปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดยกทัพมาตีเมืองตาก พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไปรบด้านซ้าย แต่ขุนสามชนมาด้านขวา เมื่อเคลื่อนทัพเข้ามาก็ทำให้ไพร่พลที่หวาดกลัววิ่งหนีกันกระเจิง แต่พ่อขุนรามคำแหงไม่หนีอีกทั้งยังขี่ช้างเข้าไปสู้กับขุนสามชน

 

ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน

 

ถอดความ  พ่อขุนรามคำแหงทำการชนช้างสู้กับช้างของขุนสามชนที่มาสเมืองแล้วชนะ ทำให้ขุนสามชนแพ้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงตั้งชื่อให้ว่าพระรามคำแหง เพราะรบชนะขุนสามคน

 

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

 

เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดอันกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้
กูเอามาแก่พ่อกู

 

ถอดความ ในตอนนี้จะพูดถึงความกตัญญูของพ่อขุนรามคำแหงที่มีต่อพ่อแม่ คอยดูแล ได้เนื้อ ผลไม้ดี ๆ ก็เอามาให้พ่อแม่ ไปคล้องช้างได้ช้างดี ๆ ก็เอามาให้พ่อ

 

กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม

 

ถอดความ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงไปตีกับเมืองอื่น ได้ช้าง งวง เชลย ผู้หญิง เงิน ทอง ก็เอามาให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์แล้วพ่อขุนบานเมืองขึ้นครองราชย์ต่อ พ่อขุนรามคำแหงก็ยังคงความกตัญญูต่อพี่ชายเหมือนที่ทำให้พระราชบิดา จนเมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ เมืองทั้งหมดจึงตกมาเป็นของพ่อขุนรามคำแหง

 

ตัวบทศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ยกมา เป็นเรื่องราวตั้งแต่ก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงจะได้ขึ้นครองราชย์จนกระทั่งได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ น้อง ๆ สามารถดูต้นฉบับเทียบกับคำแปลเพิ่มเติมของจารึกหลักที่ 1 ได้ที่ ฐานข้อมูลจารึกในประเทศ

คุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1

 

ด้านเนื้อหา 

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

คุณค่าด้านเนื้อหาที่อยู่ในศิลาจารึก ทำให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องราวอันน่าภาคภูมิใจของพ่อขุนรามคำแหง ทั้งการรบ การขึ้นครองราชย์ และที่มาของชื่อ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงพระจริยวัตรอันงดงามในการปฏิบัติตนด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาและพี่ชาย

 

ด้านแนวคิด

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

คุณค่าด้านแนวคิดที่เห็นอย่างเด่นชัดที่สุดคือความกล้าหาญของพ่อขุนรามคำแหง ความต้องการที่ปกป้องบ้านเมืองทำให้พระองค์กล้าออกไปชนช้างกับศัตรูอย่างเด็ดเดี่ยว และเรื่องของความกตัญญูที่พ่อขุนรามคำแหงให้อธิบายไว้อย่างละเอียดว่าตนดูแลทั้งพระบิดาและมารดาอย่างดี รวมไปถึงพี่ชายอย่างพ่อขุนบานเมืองด้วย

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

 

ประโยคที่ปรากฏมักเป็นประโยคความเดียว เช่น กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู ทั้งหมดนี้เป็นประโยคความเดียว นอกจากนี้ยังมีการใช้คำไทยแท้ หรือภาษาคำโดด ซึ่งภาษาคำโดด หมายถึง ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น เป็นคำพยางค์เดียว

 

คุณค่าด้านสังคม

 

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงได้บันทึกบอกเล่าความอุดมสมบูณ์ของบ้านเมืองอย่างเช่น ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว สะท้อนให้เป็นถึงความเป็นอยู่ที่ไม่ขาดแคลนหรืออดอยาก และการทำศึกเพื่อปกป้องดินแดน ในอดีต  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะทำให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่พยายามรักษาประเทศชาติ นอกจากนี้ยังพูดถึงการสืบราชสันติวงศ์ หรือการสืบทอดราชสมบัติ เป็นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้ศึกษาและถอดความเนื้อหาในศิลาจารึกกันไปอย่างคร่าว ๆ แล้วยังได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของศิลาจารึกอีกด้วย ศิลาจารึกหรือจารึกวรรณคดีนี้มีความสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ เพราะทำให้คนรุ่นหลังอย่างเรา ๆ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และยังได้ข้อคิดมากมายอีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายเพิ่ม ก็ไปดูคลิปการย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะสอนเรื่องการถอดความและอธิบายเรื่องคำศัพท์อย่างละเอียด ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

ติดตามบทความภาษาไทยใหม่ ๆ ได้ที่ nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด  แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ)  ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้ 10 = 10 = 10¹ 100 = 10

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไว้หลากหลายตัวอย่าง ซึ่งแสดงวิธีคิดอย่างละเอียด สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะต้องใช้สัญลักษณ์ของอสมการแทนคำเหล่านี้ <   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่า หรือไม่ถึง >   แทนความสัมพันธ์มากกว่า หรือเกิน ≤   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ หรือไม่เกิน ≥  แทนความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

Conjunctions of Time

Conjunctions of time

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้ Conjunctions of time” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Conjunctions of time คืออะไร   Conjunctions of time คือ คำสันธานที่ถือเป็น Subordinating conjunctions รูปแบบหนึ่งที่เน้นบอกเวลา (time) เช่น whenever (

there is

There is และ There are ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการใช้ There is และ There are ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1