ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

ศัพท์บัญญัติ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การบัญญัติศัพท์คืออะไร

 

 

การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

 

ทำไมศัพท์บัญญัติถึงมาจากภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่?

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะวิทยาการสมัยใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ล้วนมาจากสังคมตะวันตกที่ใช้ภาษาอังกฤษ จนทำให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาสากลของนานาชาติไปอย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนั้นเราจึงนิยมนำคำภาษาอังกฤษมาใช้เพื่อแสดงความหมาย เป็นแนวทางในการกำหนดคำศัพท์ของไทยขึ้นมาใหม่

 

หลักเกณฑ์ในการสร้างศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตสถาน

 

 

  • ดำเนินตามหลักเกณฑ์การบัญญัติศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย คือพยายามหาคำที่ใช้อยู่ในภาษาไทยมากำหนดเป็นศัพท์บัญญัติ เมื่อหาคำไทยที่เหมาะสมไม่ได้ จึงค่อยคิดหาคำบาลี-สันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาแม่ส่วนหนึ่งของภาษาไทย และถ้าหากยังคิดหาคำไม่ได้จึงค่อยใช้ คำทับศัพท์
  • ต้องใช้คำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยสื่อความหมายของศัพท์ให้ชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
  • คำที่มีความหมายนัย หรือมีความหมายตรงกับคำไทยหลายคำ ก็จะบัญญัติศัพท์ไว้หลายศัพท์ตามความหมาย เช่น racketeering ศัพท์บัญญัติคือ การกรรโชกทรัพย์, การขู่เข็ญ

 

ศัพท์บัญญัติ

 

ศัพท์บัญญัติในแวดวงต่าง ๆ

 

ศัพท์บัญญัติ

 

ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ

หมวดคอมพิวเตอร์

 

DVD = แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตัล

Printer = เครื่องพิมพ์

SIM card = บัตรระบุผู้เช่า

Hard disk = จานบันทึกแบบแข็ง

Disk Drive = หน่วยขับจาน, หน่วยขับจานบันทึก, หน่วยขับแผ่นบันทึก

CASE = วิศวกรรมระบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

Scanner = เครื่องกราดตรวจ

 

ความแตกต่างของศัพท์บัญญัติกับคำทับศัพท์

 

ศัพท์บัญญัติ เป็นศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาจากภาษาต่างประเทศเพื่อให้มีความหมายในภาษาไทย คำทับศัพท์ เป็นขั้นสุดท้ายของการบัญญัติศัพท์ เมื่อศัพท์บัญญัตินั้นไม่สามารถหาคำอื่นที่เหมาะสมมาใช้ได้ จึงใช้การถอดเสียงตามหลักอักขรวิธีของไทย เพื่อให้ออกเสียงได้อย่างถูกต้อง แต่ก็จะมีบางคำที่มีมีศัพท์บัญญัติแล้วแต่ยังนิยมใช้เป็นคำทับศัพท์ตรงตัวไปเลย

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ศัพท์บัญญัติไปแล้ว คงจะหายข้องใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าศัพท์บัญญัติคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร จะเห็นได้เลยว่าการบัญญัติศัพท์ขึ้นมานั้นก็เพื่อให้คำต่าง ๆ ที่มาจากต่างประเทศมีความหมายในภาษาไทย เป็นคำที่ไพเราะและสามารถใช้อย่างเป็นทางการได้ แต่ถ้าหากคำมาบัญญัติไม่ได้ หรือคำนั้น ยากเกินกว่าที่ควรทั่วไปจะใช้ เราก็จะใช้เป็นการทับศัพท์ค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะได้เรียนรู้ต่อไปนะคะ แต่ก่อนอื่น เพื่อทบทวนเรื่องลักษณะของศัพท์บัญญัติและเรียนรู้คำศัพท์ในแวดวงต่าง ๆ น้อง ๆ ก็อย่าไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้อธิบายถึงเรื่องเหล่านี้เอาไว้นะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

การอ้างเหตุผล

บทความนี้จะทำให้น้องๆเข้าใจหลักการอ้างเหตุผลมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ว่า การอ้างเหตุผล สมเหตุสมผลหรือไม่

P5 NokAcademy_การเรียนเกี่ยวกับทิศทางและการถามทาง

การเรียนเกี่ยวกับทิศทางและการถามทาง

สวัสดีค่ะนักเรียนป.5 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย กับหัวข้อ การเรียนเกี่ยวกับทิศทางและการถามทาง   มาเริ่มกับการ “ถาม-ตอบเกี่ยวกับทิศทาง”   วิธีการถามตอบ: โครงสร้าง:  How can I get to…(name of the place)..? แปล

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

บทความนี้ ได้นำเสนอ การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่น้องๆจะได้รู้จักกับ บทนิยามของเลขยกกำลัง ซึ่งจะทำให้น้องๆรู้จักเลขชี้กำลังและฐานของเลขยกกำลัง และสามารถหาค่าของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกได้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเลขยกกำลังผ่านนิยามของเลขยกกำลัง ดังต่อไปนี้ บทนิยามของเลขยกกำลัง บทนิยาม  ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” เขียนแทนด้วย aⁿ  มีความหมายดังนี้ a

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

การใช้ the

การใช้ The

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง “การใช้ The” ซึ่งเป็น 1 ใน Articles ที่สำคัญมากๆ พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Let’s go!   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1