รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียนสะกดคำ

 

การเขียนสะกดคำ หมายถึง การเขียนโดยเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดเป็นคำได้อย่างถูกหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง

 

ความสำคัญของการเขียนสะกดคำ

 

ตัวอักษรเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูด เพราะฉะนั้นการเขียนที่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ภาษาจึงมีความสำคัญ เพราะการจะสื่อสารผ่านการเขียนให้เข้าใจ ผู้สื่อสารจะต้องสะกดให้ถูกเพื่อไม่ให้ความหมายนั้นคลาดเคลื่อนหรือถูกบิดเบือน หรืออาจทำให้คำที่มีความหมาย กลายเป็นคำไม่มีความหมายเลยก็ได้

 

รูปแบบการสะกดผิด

 

 

1. การสะกดผิดที่พยัญชนะต้น

เป็นการสะกดผิดที่มีการแทนที่พยัญชนะต้นด้วยพยัญชนะที่ออกเสียงคล้ายกัน เช่น ร กับ ล, น กับ ณ, ส กับ ศ หรือ ซ กับ ทร เป็นต้น เช่น

 

 

นอกจากนี้ยังมีการสะกดผิดที่เติมพยัญชนะต้นเพิ่มเข้าไปทำให้กลายเป็นคำสะกดผิด คำที่สะกดผิดในรูปแบบนี้มักเกิดกับคำที่เป็นอักษรควบกล้ำ โดยเฉพราะคำที่มี ร และ ล ประสมในอักษรควบ อย่าง กร ผล หรือ กล เป็นต้น เช่น

กะทันหัน สะกดผิดเป็น กระทันหัน

ผัดผ่อน สะกดผิดเป็น ผลัดผ่อน

วางก้าม สะกดผิดเป็น วางกล้าม

 

2. คำสะกดผิดที่ตัวสะกด

การสะกดผิดที่ตัวสะกด จะมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ คำสะกดผิดที่มีการแทนที่ตัวสะกด, เติมตัวสะกด และลบตัวสะกด

คำสะกดผิดที่มีการแทนที่ตัวสะกด การแทนที่ในลักษณะนี้จะมาจากตัวอักษรอื่นที่อยู่มาตราตัวสะกดเดียวกัน ถึงแม้ว่าคำที่ได้นั้นจะออกเสียงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็เป็นการสะกดผิด เช่น คำว่า ทูนหัว ที่มักจะสะกดผิดเป็น ทูลหัว เป็นต้น

คำสะกดที่มีการเติมตัวสะกด เป็นการเติมตัวสะกดเข้าไปในคำที่ไม่จำเป็นต้องใส่ เช่น ทรมาทรกรรม มักสะกดผิดเป็น ทรมานทรกรรม เพราะคนส่วนใหญ่จะเติมตัวสะกดให้ตามการออกเสียงของตัวเอง

คำสะกดผิดที่มีการลบตัวสะกด รูปแบบนี้เกิดจากการที่คนไม่ใส่ตัวสะกดเพราะคิดว่าไม่มี ทำให้กลายเป็นคำสะกดผิด เช่น อธิษฐาน มักสะกดผิดเป็น อธิฐาน

 

3. คำสะกดผิดที่สระ

ลักษณะของคำสะกดผิดที่สระ จะคล้ายกับตัวสะกด คือมีการแทนที่ การเติม และการลบสระ

คำสะกดผิดที่มีการแทนที่สระ คำสะกดผิดเช่นนี้คือการเลือกใช้สระไม่ถูกต้อง ซึ่งสระที่คนมักสับสนมากที่สุดก็คือ สระไ- กับ สระ -ใ เช่น เยื่อใย มักสะกดผิดเป็น เยื่อไย หรือ ไต้ฝุ่น มักสะกดผิดเป็น ใต้ฝุ่น เป็นต้น

คำสะกดผิดที่มีการเติมสระ การสะกดในรูปแบบนี้มักจะชอบเติมสระเข้าทั้งที่ไม่เป็นโดยยึดจากการออกเสียงของตัวเอง เช่น คำว่า ธุรกิจ อ่านว่า ธุ-ระ-กิด เมื่ออ่านเช่นนี้ คนบางกลุ่มจึงคิดว่าต้องมีสระอะ จึงเขียนผิดเป็น ธุระกิจ หรือ คำว่า ลออ ที่อ่านว่า ละ-ออ ก็เขียนผิดเป็น ละออ เป็นต้น

คำสะกดผิดที่มีการลบสระ เป็นการสะกดที่ตรงข้ามกับการเติม ส่วรมากเป็น สระอะ ที่คนเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องเขียนรูปสระ เช่น เขียน สะดุ้ง เป็น สดุ้ง หรือในอีกกรณีหนึ่งคือลบไม้ไต่คู้ออกเพราะคิดว่าไม่ต้องเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม้ไต่คู้เป็นส่วนประกอบของสระแอะ และสระเอาะ เช่น คำว่า ผล็อย มักสะกดผิดเป็น ผลอย เป็นต้น

 

4. คำสะกดผิดที่ตัวการันต์

การใส่ตัวการันต์นั้นมีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากใส่ผิดก็จะทำให้ความหมายเปลี่ยน เช่น คำว่า อินทรี ที่หมายถึงนก ถ้าหาก เติม ย์ เข้าไปเป็น อินทรีย์ ก็จะกลายเป็นคำที่มีความหมายว่า สาร,สารอินทรีย์

 

คำที่มักเขียนผิด

 

5. คำสะกดผิดที่วรรณยุกต์

คำสะกดผิดที่วรรณยุกต์นั้นมีทั้งการเติมวรรณยุกต์โดยไม่จำเป็น เช่น จักจั่น สะกดผิด จั๊กจั่น หรือการใช้รูปวรรณยุกต์ผิด เช่น เลื้อยเจื้อย สะกดผิดเป็น เลื่อยเจื้อย ซึ่งการสะกดคำที่ผิดตรงวรรณยุกต์นี้มาจากการผันวรรณยุกต์ไม่ถูก และเพราะคนไทยมีสำเนียงที่แตกต่างกัน ทำให้บางคนสะกดตามการออกเสียงของตัวเอง ทำให้เขียนผิดนั่นเอง

 

คำที่มักเขียนผิด

 

คำไทยที่คนส่วนใหญ่มักสะกิดผิด มาลองเช็คดูกันนะคะว่าเราเขียนถูกกันหรือเปล่า

 

คำที่มักเขียนผิด

คำที่มักเขียนผิด

 

การสะกดคำให้ถูกต้องนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ หลังจากที่ได้เรียนรู้ คำที่มักเขียนผิด กันไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าที่ผ่านมาตัวเองสะกดคำเหล่านี้กันได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าผิดก็รีบจำใหม่นะคะ จะได้ไม่พลาดเวลาทำข้อสอบและใช้ในการชีวิตประจำค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อดูตัวอย่างเพิ่มเติมของคำไทยที่มักสะกดผิดได้เลยค่ะว่ามีคำไหนกันบ้าง

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

like love enjoy ving

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1