ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

ราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ราชาศัพท์

 

ราชาศัพท์

 

การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์

2.พระบรมวงศานุวงศ์

3. พระสังฆราชเจ้าและพระสงฆ์

4. ขุนนาง ข้าราชการชั้นสูง

5. สุภาพชน

 

นอกจากนี้คำราชาศัพท์ยังแต่งตามระดับบุคคลดังนี้ได้อีกด้วย

 

ราชาศัพท์

 

1. ชาติวุฒิ

ชาติกำเนิด เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ประเทศไทยไม่ได้มีการแบ่งชนชั้นวรรณะแต่ให้ความเคารพกันและกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีชาติกำเนิดสูง ๆ อย่างเช่นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระมหากษัตริย์

2. วัยวุฒิ

นอกเหนือจากชาติกำเนิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญคืออายุ ผู้ที่อายุน้อยกว่า ต้องให้ความสำคัญ เคารพผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยความนอบน้อม

3.คุณวุฒิ

แม้ว่าคุณวุฒิ หรือระดับศึกษา จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาได้ ไม่เหมือนชาติกำเนิดหรืออายุที่มีติดมาตั้งแต่เกิด แต่ก็เป็นสิ่งที่คนในสังคมให้ความเคารพ เพราะผู้ที่มีคุณวุฒิ ก็คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ

 

คำราชาศัพท์ที่ควรรู้

 

คำราชาศัพท์จะถูกแบ่งออกเป็นหมวด ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

 

 

ในวันนี้หมวดที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันก็คือหมวดเครือญาติ จะมีคำอะไรที่ควรรู้บ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

หมวดเครือญาติ

  • พ่อ เรียกว่า พระบิดา
  • แม่ เรียกว่า พระมารดา
  • พี่ชาย เรียกว่า พระเชษฐา
  • น้องชาย เรียกว่า พระอนุชา
  • พี่สาว เรียกว่า พระเชษฐภคินี
  • น้องสาว เรียกว่า พระขนิษฐา
  • ตา ปู่ เรียกว่า พระอัยกา
  • ย่า ยาย เรียกว่า พระอัยยิกา

 

คำราชาศัพท์เป็นการใช้ถ้อยคำที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทยที่ชัดเจนและเป็นเอกลักษณ์และหาได้ยากในภาษาอื่น เพราะเป็นประเทศไทยเป็นประเทศที่นอกจากจะมีรูปแบบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับพระมหากษัตริย์แล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ให้ความเคารพแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ได้แบ่งชนชั้น แต่เป็นความเหมาะสมและกาลเทศะ ที่เราจะต้องใช้กันให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ หลังจากที่วันนี้น้อง ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ราชาศัพท์ หมวดเครือญาติเล็ก ๆ น้อย ๆ กันไปแล้ว ต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้หลักการใช้ รวมไปถึงคำศัพท์ต่าง ๆ มากขึ้น แต่รับรองว่าไม่ยากเกินความเข้าใจแน่นอนค่ะ ถ้าเราหมั่นทบทวนบทเรียน และไม่ลืมที่จะดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบาย และทำแบบฝึกหัดไปด้วย ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

wh- question

Wh- Question ใน Past Simple และ Future Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Wh- Question ในประโยคที่เป็น Past Simple และ Future Tense จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

เรียนรู้การเขียนเชิงวิชาการ อย่างง่ายเพียง 4 ขั้นตอน

การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?   คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1