รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

มงคลสูตร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

 

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง
มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี
ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล
38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

ประวัติความเป็นมา เรื่อง มงคสูตรคำฉันท์

 

ก่อนที่เราจะไปดูตัวบทของเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ สิ่งที่เราควรต้องรู้ก็คือเรื่อง ประวัติความเป็นมาเพื่อให้เราเข้าใจทั้งภูมิหลัง และความสำคัญของวรรณคดีเรื่องนี้ได้อย่างดี สำหรับผู้ที่แต่งเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ขึ้นมานั่นก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2466 ซึ่งเดิมทีพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงคิดหาหนทางที่จะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการทำความดีมีศีลธรรม ด้วยความเชื่อที่ว่าสิริมงคลจะเกิดกับตัวเราได้ก็ขึ้นอยู่กับผลจาก
การกระทำของตัวเราเองทั้งสิ้น โดยรัชกาลที่ 6 ทรงนำหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคาถาภาษาบาลีอย่างอุดมมงคล หรือมงคลสูตรมาแปลความแล้วนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองตามบังคับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทนั้นได้อย่างไพเราะ โดยที่ความหมายไม่ผิดเพี้ยนไปจากในภาษาบาลีเลย แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพทางภาษา และการแต่งคำประพันธ์ของรัชกาลที่ 6 ได้เป็นอย่างดี

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

เรื่องย่อที่มาของมงคลสูตรคำฉันท์

 

เดิมที ‘มงคลสูตร’ เป็นคำสอนที่ได้รับการจารึกไว้ในพระไตรปิฎกตามรูปแบบคาถาภาษาบาลี แต่ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงนำมาแปลความแล้วแต่งเป็นร้อยกรองจนเกิดเป็นมงคลสูตรคำฉันท์ หรือที่หลายคนรู้จักกันว่าเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการ โดยเรื่องราวในวรรณคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอานนท์ได้มาเทศนาเนื่องในโอกาสสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 พระอานนท์ได้เล่าถึงพระสัมมาสัมพุทธเมื่อครั้งที่มีเหล่าเทวดาลงมาขอให้พระองค์ช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องมงคล เพราะเหล่าเทวดาทั้งหลายกำลังทะเลาะกันเรื่องหลักมงคลที่แต่ละศาสนามีความเชื่อ และความเข้าใจแตกต่างกัน ทำให้เหล่าเทวดานั้นเกิดการขัดแย้งกันเอง และหาจุดคลี่คลายไม่ได้มานานกว่า 12 ปี จึงอยากให้พระพุทธเจ้าช่วยเทศนาเทวดาเหล่านี้ให้เข้าใจร่วมกัน พระพุทธเจ้าจึงได้ขึ้นไปเทศนามงคล 38 ประการให้เหล่าเทวดาได้ฟัง ซึ่งหลังจากเทศนาจบเหล่าเทวดา
ก็เกิดบรรลุธรรม และได้นำมงคลสูตรนี้ไปเผยแพร่
ในเวลาต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้นำเรื่องการเทศนาครั้งนี้
มาเล่าให้พระอานนท์ฟังเพื่อหวังให้พระอานนท์นำมงคลสูตรทั้ง 38 ประการนี้ไปเทศนา และเผยแพร่ต่อไป
ให้ผู้คนได้ยึดถือปฏิบัติอันจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญในชีวิตนั่นเอง

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

 

ในส่วนของลักษณะคำประพันธ์ในวรรณคดีเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ อย่างที่ได้บอกไปว่าด้วยพระอัจฉริยะภาพของรัชกาลที่ 6 แล้วพระองค์ได้เลือกใช้คำประพันธ์ในการแต่งเรื่องนี้ถึง 2 ชนิด ได้แก่ กาพย์ฉบัง 16 และอินทร์วิเชียรฉันท์ 11 ซึ่งเป็นรูปแบบคำประพันธ์ที่มีทั้งการบังคับสัมผัสคำคล้องจอง และการกำหนดเสียงสั้น เสียงยาวเพื่อให้เกิดความไพเราะ อีกทั้งแต่ละบทจะมีลักษณะพิเศษ คือ จบด้วยข้อความที่กล่าวว่า “ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี” โดยเป็นข้อความที่แปลมาจากคาถาภาษาบาลี (เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ) ดังนั้น เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยวเราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบของคำประพันธ์ทั้ง 2 ชนิดนี้กัน

 

กาพย์ฉบัง16

 

กาพย์ฉบัง 16

ในส่วนของลักษณะคำประพันธ์ชนิดแรกคือ กาพย์ฉบัง 16 ลักษณะของกาพย์ชนิดนี้ 1 บท จะมีเพียงแค่
3 วรรค แต่ละวรรคจะมีการกำหนดจำนวนคำ ดังต่อไปนี้

  •  วรรคสดับ (วรรคแรก) มีจำนวน 6 คำ
  •  วรรครับ (วรรคสอง) มีจำนวน 4 คำ
  •  วรรคส่ง (วรรคสาม) มีจำนวน 6 คำ

การสัมผัส

  • สัมผัสระหว่างวรรค คำสุดท้ายของวรรคแรกต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
  • สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของวรรคสามต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบทต่อไป
    จากนั้นก็จะใช้สัมผัสเหมือนเดิมไปเรื่อย ๆ จนจบ ซึ่งลักษณะการอ่านกาพย์ฉบัง16 จะแบ่งคำแบบ
    2-2-2 

 

อินทรวิเชียรฉันท์11

 

อินทรวิเชียรฉันท์ 11

คำประพันธ์ในรูปแบบนี้จะมีลักษณะที่ยากขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากต้องใช้การกำหนดคำครุ คำลหุ หรือเสียงหนัก – เบา ในแต่ละวรรค โดยใน 1 บทจะประกอบไปด้วย 2 บาท และใน 1 บาทก็จะมี 2 วรรค ในแต่ละวรรคก็จะกำหนดให้มีจำนวนคำ ดังต่อไปนี้

  • วรรคหน้าจำนวน 5 คำ
  • วรรคหลังจำนวน 6 คำ

นอกจากในส่วนของการกำหนดจำนวนคำแล้วสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของการแต่งคำประพันธ์แบบ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ก็คือการกำหนดคำครุ คำลหุ หรือคำหนัก – เบา ซึ่งเราจำเป็นจะต้องจำตำแหน่งของ
คำครุ คำลหุให้ดี เพื่อการสัมผัสที่คล้องจอง และถูกต้องตามหลัก

คำครุ

คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้แต่ต้องมีตัวสะกดตามมาตราตัวสะกด ได้แก่ กก กด กบ กม กน กง เกย เกอว หรือเป็นคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในเสียงที่มีตัวสะกดเช่นกัน โดยจะแทนด้วยไม้หันอากาศ ( -ั )

คำลหุ

คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา หรือไม่มีตัวสะกด รวมไปถึงคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ โดยจะแทนด้วยสระอุ ( -ุ )

การสัมผัส

  • คำครุตัวสุดท้ายของวรรคหน้าไปสัมผัสกับคำครุตัวที่ 3 ของวรรคหลัง
  • คำครุตัวสุดท้ายของวรรคหลังไปสัมผัสกับคำครุตัวสุดท้ายในวรรคหน้าของบาทที่ 2
  • คำครุตัวสุดท้ายในวรรคหลังของบาทที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำครุตัวสุดท้ายในวรรค 2 ของบทถัดไป

** แนะนำให้น้อง ๆ ดูรูปภาพประกอบไปด้วยเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

 

บทส่งท้าย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างหลังจากที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และเรื่องย่อของวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไป ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นหรือเปล่า จริง ๆ ต้องบอกว่าเนื้อหาของวันนี้ยังมีอีก ซึ่งในส่วนต่อไปเราจะพาน้อง ๆ ไปดูตัวบทที่น่าสนใจจากเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์กัน เราจะได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้รับการยกย่องว่าสามารถแต่งออกมาได้อย่างไพเราะมาก ๆ สำหรับเนื้อหาวันนี้
ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะทบทวน หรือศึกษาเพิ่มเติมสามารถดูคลิปการสอนของครูพี่อุ้มที่ด้างล่างนี้ได้เลยรับรองว่าทั้งสนุก และได้ความรู้ไปเต็มที่แน่นอน

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พันธกิจของภาษา

พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พันธกิจของภาษา   พันธกิจของภาษาคืออะไร?   พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้ 1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

Profile where + preposition P6

การใช้ประโยค Where’s the + (Building) + ? It’s + (Preposition Of Place)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ประโยค การถามทิศทาง แต่เอ้ะ Where is the building? แปลว่า ตึกอยู่ที่ไหน ประโยคนี้เป็นการถามทางแบบห้วนๆ ที่ใช้กับคนที่เราคุ้นชินหรือคนที่เรารู้จัก แต่หากนักเรียนต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องถามกับคนแปลกหน้าโดยเฉพาะฝรั่ง คงต้องมาฝึกถามให้สุภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการเกริ่นขึ้นก่อนที่เราจะถามนั่นเองค่ะ ซึ่งนักเรียนที่รักทุกคนได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบการถามทิศทาง   โครงสร้างประโยคถามแบบตรงๆ (Direct Question) “

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1