รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย

 

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

 

สาเหตุการยืมของภาษาไทย

มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจบริบทของประเทศไทยในอดีตที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อการค้าขาย และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายเพื่อใช้ในการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศทั้งที่มีพื้นที่ติดต่อกับเรา หรือประเทศที่เราต้องการจะทำการค้าด้วยเป็นการติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูต นอกจากนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ในด้านศาสนา สังคม ภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย หรือการส่งคนไทยออกไปศึกษายังต่างประเทศแล้วกลับมาเผยแพร่ให้คนไทยด้วยกันเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้คำจากภาษาต่างประเทศเริ่มขยายตัวเข้ามา และมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยของคนไทยมากขึ้นด้วย โดยภาษาต่างประเทศที่เราจะพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ภาษาอังกฤษ เขมร จีน ชวา มลายู เวียดนาม ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ บาลี และสันสกฤต

 

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

 

อิทธิพลจากการยืมคำภาษาต่างประเทศ

ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเริ่มขยับขยายเข้ามาปะปนกับภาษาไทยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านของคำศพท์ที่มีการขยายกว้างขึ้น ทำให้เกิดคำไวพจน์ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำของไทยบางคำ แต่รูปคำนั้นอาจนำมาจากภาษาอื่น และทำให้คนไทยเริ่มมีวัฒนธรรมการใช้คำทับศัพท์ หรือคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งเพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนมาดูว่าในภาษาไทยมีคำอะไรบ้างที่มาจากภาษาต่างประเทศ

 

ตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

หลังจากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับความเป็นมา หรือว่าอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อคำศัพท์ในภาษาไทยแล้ว เร่จะมาดูตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ภาษาไทยเรานำมาใช้จนแทบจะไม่มีใครสังเกตเลยว่าคำนี้เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น มาดูกันว่ามีคำที่มาจากภาษาอะไรบ้าง

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ

สำหรับภาษาอังกฤษถือว่าเป็นอีกภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาก ๆ โดยส่วนใหญ่คนไทยจะใช้คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษจนแทบจะหาคำไทยมาทดแทนไม่ได้ อย่างการเรียกเครื่องใช้ หรือสิ่งของที่นำเข้ามา หรือเป็นนวัตกรรมจากต่างประเทศ อาทิ คอมพิวเตอร์ รีโมต สวิตซ์ รวมถึงชื่ออาหาร กีฬา หรือวัฒนธรรม การใช้ชีวิตบางอย่างที่คนไทยได้รับมาอีกที และจะใช้ลักษณะของการถ่ายโอนเสียงในภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับเสียงในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาจีน

ภาษาจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยนับตั้งแต่ที่บ้านเมืองเราเริ่มทำการค้าขายกับจีน เรารับวัฒนธรรมการกินอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ของประเทศจีนมาค่อนข้างมาก คำภาษาจีนบางคำจึงได้รับการบัญญัติในพจนานุกรมของไทยให้เราได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำในภาษาจีนนั้นมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี หรือจัตวา หรือมักจะเป็นคำที่มีสระประสมอย่างสระเอียะ อัวะ แต่บางคำที่คนไทยนำมาใช้จนกลมกลืนไปกับเสียงในภาษาไทยก็อาจจะทำให้การออกเสียงเปลี่ยนจากในภาษาจีนไปบ้าง เช่น ลิ้นจี่ ที่มาจากคำว่า ลีจี ในภาษาจีน หรือคำว่า กงสี ที่มาจากคำว่า กงซี ในภาษาจีน

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาญี่ปุ่น

ในส่วนของคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรามักจะได้รับอิทธิพลเข้ามาจากวัฒนธรรมการกินอย่างชื่อของอาหาร หรือวัตถุดิบบางอย่าง เช่น ซุชิ สุกี้ ชาบู รวมไปถึงชื่อกีฬาบางประเภท เช่น ซูโม่ ยูโด คาราเต้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด

ตัวอย่างคำภาษาเขมร

ภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาเขมรค่อนข้างมากส่วนใหญ่เราจะพบภาษาเขมรในคำราชาศัพท์ หรือคำไวพจน์ของไทย ซึ่งภาษาเขมรจะมีลักษณะพิเศษสามารถแผลงคำได้ เช่น ตรวจ แผลงเป็นตำรวจ เกิด แผลงเป็น กำเนิด เดิน แผลงเป็น ดำเนิน หรือชาญ แผลงเป็น ชำนาญ เป็นต้น

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากที่ได้เรียนรู้คำจากภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของเราแล้ว ได้สาระความรู้เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ต้องบอกว่าการศึกษาคำยืมจากภาษาต่างประเทศนั้นจะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นทั้งการเปลี่ยนแปลงของภาษา และสามารถใช้คำจากภาษาเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจมากขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ อยากจะทบทวน หรือศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

จำนวนอตรรกยะ

จำนวนอตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนอตรรกยะ และหลักการของจำนวนอตรรกยะกับการนำไปประยุกต์

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1