มารยาทในการอ่านที่นักอ่านทุกคนควรรู้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทเรียนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มักจะถูกละเลย มองข้ามไป นั่นก็คือเรื่องมารยาทในการอ่านนั่นเองค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้เช่นเดียวกับมารยาทในการฟังและมารยาทในการพูดด้วย เราไปเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ เลยดีกว่าค่ะ

มารยาทในการอ่าน

 

มารยาทในการอ่าน

ความหมายของมารยาทในการอ่าน

มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ส่วนการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง รับรู้เรื่องราวโดยการใช้ตามองแล้วใช้สมองประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เกิดเป็นการรับรู้และความเข้าใจ มารยาทในการอ่านจึงหมายถึง ขณะรับสารโดยการอ่านจะต้องรักษากิริยาให้สุภาพควบคู่ไปด้วย

 

จุดมุ่งหมายของการอ่าน

มารยาทในการอ่าน

 

1. เพื่อหาความรู้

การอ่านเพื่อหาความรู้นั้นเกิดได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่งความรู้เหล่านั้นก็มักจะหาได้จากการอ่านหนังสือประเภทตำราทางวิชาการ บทความวิจัย บทวิจารณ์ เป็นต้น

2. เพื่อความบันเทิง

การอ่านเพื่อความบันเทิง คือการอ่านที่เหมาะกับการเป็นงานอดิเรก เพราะการอ่านประเภทนี้ครอบคลุมทั้งจากหนังสือประเภทวรรณกรรมท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมเยาวชน วรรณกรรมแปลจากต่างประเทศ นวนิยายออนไลน์ บทประพันธ์ หรือบทเพลง เป็นต้น

3. เพื่อติดตามข่าวสาร

การอ่านเพื่อติดตามข่าวสารนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการอ่านที่เราพบได้บ่อยครั้งสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายคนเลิกอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ไปแล้วก็จริง แต่ก็ยังสามารถอ่านข่าวได้จากช่องทางออนไลน์ที่ขึ้นมาให้เราเห็นกันทุกวัน

4. การอ่านที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง

การอ่านที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง หมายถึงการอ่านที่ไม่ได้จงใจอ่าน แต่บังเอิญไปเห็นหรือไปอ่านเป็นครั้งคราว เช่น การอ่านประกาศรับสมัครงาน การอ่านป้ายโฆษณา การอ่านข้อความบนแผ่นพับ เป็นต้น

 

ประเภทของสารสำหรับการอ่าน

มารยาทในการอ่าน

 

สารที่เราอ่านกันนั้นมีอยู่หลายอย่าง และสามารถจัดเป็นหมวดต่าง ๆ ได้ดังนี้ค่ะ

  • สารเพื่อการศึกษา เช่น หนังสือเรียน หนังสือคู่มือ เป็นต้น
  • สารเพื่อความบันเทิง เช่น นวนิยาย วรรณคดี เป็นต้น
  • สารเพื่อความรู้รอบตัว เช่น หนังสือพิมพ์ บทความออนไลน์ นิตยสาร เป็นต้น
  • สารไม่เจาะจง เช่น ประกาศต่าง ๆ ป้ายโฆษณา เป็นต้น

มารยาทในการอ่าน

 

 

มารยาทในการอ่านทั้ง 11 ข้อมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

1. ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น ฝึกอ่านในใจ การอ่านในใจเป็นวิธีการอ่านโดยไม่ออกเสียง อาศัยการรับรู้ความเข้าใจผ่านสายตาแล้วประมวลผลโดยไม่ต้องพูดออกมา การอ่านในใจสำคัญมากเมื่อต้องอ่านหนังสือในที่สาธารณะเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น

2. นั่งอ่านในท่าทางที่สบายและสุภาพ แม้จะต้องรักษามารยาทแต่การนั่งอ่านหนังสือไม่จำเป็นต้องนั่งอ่านในท่าทางที่เป็นทางการมากเกินไปแค่นั่งให้สบายและสำรวม

3.หยิบจับหนังสืออย่างเบามือ หนังสือทุกเล่มทำมาจากกระดาษ ดังนั้นจึงเกิดการฉีกขาดได้ง่าย ควรหยิบจับหนังสืออย่างเบามือเพื่อรักษาสภาพหนังสือไว้ให้ดีที่สุด

 

 

4. ไม่ขีดเขียนสิ่งใดลงไปในหนังสือ หนังสือที่ดีควรสะอาดสะอ้าน โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นของสาธารณะ ไม่ใช่ของตัวเอง แต่หากเป็นหนังสือของตัวเองและต้องการจะเขียนโน้ตลงควรเลือกใช้เป็นกระดาษโน้ตเพื่อไม่ให้เลอะเทอะ

5. ไม่พับหน้าต่าง ๆ ของหนังสือ หนังสือทำมาจากกระดาษที่มีความอ่อนตัวมาก หากพับไปแล้วครั้งหนึ่งก็จะเป็นรอยตลอดไป

6. ไม่ควรกางหนังสือคว่ำลง หนังสือส่วนมากเข้าเล่มโดยการไสกาว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป กาวอาจเสื่อมสภาพและทำให้กระดาษหลุดออกมา เพื่อรักษาสภาพหนังสือจึงไม่ควรไปกางแล้วคว่ำลง เพราะอาจทำให้สันหนังสือเสื่อมสภาพเร็วกว่าเดิม

 

 

7. ไม่ฉีกส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือ หนังสือทุกเล่มทุกหน้ามีความสำคัญ จึงไม่ควรไปฉีกหน้าใดหน้าหนึ่งออกมา มิเช่นนั้นอาจทำให้หนังสือไม่สมบูรณ์

8. ไม่เล่นกันขณะอ่านหนังสือ ช่วงเวลาการอ่านหนังสือเป็นเวลาที่ต้องใช้สมาธิ ถ้าเล่นกันขณะอ่านหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะก็อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้

9. ไม่อ่านเอกสารของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การแอบดูเอกสารของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นมารยาทพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เพราะบางครั้งเอกสารนั้นก็เป็นเรื่องส่วนตัว จึงไม่ควรไปแอบอ่านก่อนที่เจ้าของจะอนุญาตเอง

 

 

10. เมื่ออ่านเสร็จควรเก็บหนังสือให้เป็นที่เป็นทาง การเก็บหนังสือหลังอ่านเสร็จแล้วก็เป็นมารยาทอีกข้อหนึ่ง ซึ่งถ้าหากเราเก็บหนังสือไม่เป็นระเบียบ ก็จะสะท้อนนิสัยของคนนั้นออกมาได้ว่าไม่เรียบร้อยเป็นระเบียบ

11. วางหนังสืออย่างระมัดระวัง หนังสือจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการรักษา ดังนั้นเราควรรักษาสภาพหนังสือให้อยู่ได้นาน ๆ โดยการเก็บรักษาไว้อย่างระมัดระวัง เช่น ไม่เก็บในที่ชื้น หรือไม่วางไว้ในที่ที่อ่านโดนน้ำได้ง่าย เป็นต้น

 

ความสำคัญของมารยาทในการอ่าน

 

 

มารยาทในการอ่าน ถือเป็นมารยาทที่สำคัญมาก โดยเฉพาะหากเราอยู่ร่วมกับผู้อื่น หรือมีความจำเป็นต้องอ่านหนังสือในที่ที่มีคนอยู่เยอะ ถ้าเราไม่รักษามารยาทในการอ่าน ก็อาจจะรบกวน สร้างความรำคาญใจ และทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิไปได้ค่ะ นอกจากนี้การรักษาหนังสือก็ถือเป็นมารยาทในการอ่านที่ควรระวังเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือของเราเองหรือยืมเพื่อน ยืมห้องสมุดมา เพราะหนังสือทุกเล่มมีค่า เผื่อว่าวันไหนน้อง ๆ อยากจะบริจาคหนังสือของตัวเองไปให้คนอื่นอ่านต่อ หนังสือที่ถูกส่งให้ผู้อ่านจะได้สะอาดสะอ้านและน่าอ่านอยู่เสมอ

 

บทส่งท้าย

หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องมารยาทในการอ่านไป คงจะทำให้น้อง ๆ เห็นแล้วใช่ไหมคะว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญไม่แพ้มารยาทในการพูดและการฟังเลย เพราะอ่านเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษา ดังนั้นเราจึงควรรักษามารยาทในการอ่านไว้เพื่อเป็นนักอ่านที่ดีนะคะ และถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเกี่ยวกับมารยาทในการอ่านเพิ่ม ก็ตามไปดูได้ที่คลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มแล้วทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ถอดคำประพันธ์และคุณค่าในเรื่อง

หลังจากได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมากันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การถอดคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง ตัวบทที่ยกตัวอย่างมาในวันนี้จะเป็นเรื่องใด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์           หัวลิงหมากกลางลิง    ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กระไดลิง         

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1