พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้ เพราะหากทำสิ่งไม่ดีก็อาจจะทำให้เสื่อมเสียไปเลยก็ได้

 

พระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้รัชกาลที่ 5 ได้ชี้แจงเรื่องเงินที่ส่งพระโอรสทั้ง 4 ไปเล่าเรียน เพื่อเป็นป้องกันการถูกติฉินนินทาจากการใช้เงินที่ประชาชนจ่ายเพื่อทำนุบำรุงประเทศมาส่งลูกเรียนจึงใช้เงินส่วนพระองค์แทนเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา

 

พระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้รัชกาลที่ 5 ได้อบรมสั่งสอนพระโอรสเกี่ยวกับใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากไปก่อเรื่องขึ้นมา คู่กรณีก็อาจจะไม่กล้าทำอะไรด้วยความที่เห็นพ่อเป็นคนใหญ่คนโตแต่ก็ไม่อยากให้พระโอรสไปทำพฤติกรรมที่ไม่ดีใส่ใครเพราะสุดท้ายมันก็จะเป็นโทษแก่ตัวเองทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า

 

คุณค่าที่แฝงอยู่ใน พระบรมราโชวาท

 

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

วรรณคดีเรื่องนี้อยู่ในรูปแบบของจดหมายร้อยแก้ว และสื่อสารกับผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมา สอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและความคาดหวังของผู้เป็นพ่อแม่ที่หวังอยากจะให้ลูกเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีและทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

คุณค่าด้านสังคม วัฒนธรรม

สะท้อนสภาพสังคมไทยสมัยก่อนว่ามีเงินของแผ่นดินและเงินพระคลังข้างที่ซึ่งมาจากประชาชนที่มอบให้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทย ณ ขณะนั้นเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาตามประเทศที่เจริญแล้วจึงนิยมส่งลูกหลานหรือคนมีความรู้ความสามารถไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่ต่างประเทศแล้วกลับมาพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของการเป็นพ่อของลูกที่ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากปัจจุบัน เป็นคำโบราณที่ในปัจจุบันที่การเปลี่ยนรูปแบบการใช้และคำศัพท์ไปตามกาลเวลา

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องตัวบทที่เด่น ๆ และคุณค่าที่อยู่ใน พระบรมราโชวาท ถึงแม้จะไม่ใช่วรรณคดีที่เป็นบทร้อยกรองต่าง ๆ อย่างที่เคยเรียนกันในบทที่ผ่านมา แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากอีกเรื่องหนึ่งเพราะได้สอดแทรกทั้งคุณธรรมและข้อคิดเตือนใจซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ เมื่อเรียนบทนี้จบแล้วน้อง ๆ ก็อย่าลืมตระหนักถึงข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้กันอยู่เสมอนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อเป็นการทบทวนบทบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายเกี่ยวกับตัวบทเล่น ๆ รวมถึงคุณค่าซึ่งได้ยกตัวอย่างบทประพันธ์และอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย   ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย   สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1