ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา

 

มหาชาติชาดก

 

มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร ซึ่งขณะนั้นเกิดฝนโบกขรพรรษ พระองค์จึงเล่าว่าเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในอดีตกาล โดยมหาชาติชาดกนี้มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ ในประเทศไทยมีการแต่งมากมายหลายสำนวน แต่นักปราชญ์ชาวไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและเพื่อให้เทศน์ภายในวันเดียวจบ จึงคัดเลือกสำนวนของมหาชาติที่ดีที่สุดมารวบรวมไว้ โดยมหาเวสสันดร ในตอนกัณฑ์มัทรีนี้ มีผู้แต่งคือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

แต่งด้วยคำประพันธ์ร่ายยาว ขึ้นต้นกัณฑ์ด้วย จุณณียบท เป็นคาถาบาลีสั้น ๆ สรุปเนื้อเรื่องของกัณฑ์นั้น ๆ

 

มหาชาติชาดก

 

มีลักษณะบังคับดังนี้

1. คณะ – ร่ายยาวบทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนมากมี 5 วรรคขึ้นไป คำในวรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ 6 – 10 คำ หรือบางทีมากกว่านั้น

2. สัมผัส – ร่ายยาวมีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรค ให้คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสคำใดคำหนึ่งของวรรคต่อ ๆ ไป โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นคำใด แต่ไม่ควรให้อยู่ใกล้ชิดกับคำสุดท้าย

3. เอกโทและคำสร้อย – ร่ายยาวไม่มีการบังคับเอกโท และคำสร้อยอย่างร่ายสุภาพ ส่วนมากมีคำสร้อยเมื่อจบตอน เช่น นั้นแล นี้แล เป็นต้น

 

 

เรื่องย่อ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 

จากการที่ชูชกได้ไปขอกัณหา ชาลีกับพระเวสสันดรแล้วพระองค์ทรงยกให้ เมื่อชูชกพาสองกุมารไปแล้ว พระอินทร์จึงเห็นว่าถ้าพระนางมักทรีกลับมาแต่กลางวันจะตามไปทัน และจะไปขัดการให้ทานของพระเวสสันดร จึงให้เทวดา 3 องค์ แปลงกายเป็น เสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์ไปขวางทางไว้ พอพระนางมัทรีกลับมาก็ไม่เจอกับพระกุมารทั้ง 2 จึงไปถามพระเวสสันดร แต่ไม่ได้คำตอบ เนื่องจากพระเวสสันดรเห็นนางกลับมาเหนื่อย ๆ กลัวว่าจะเสียใจจนถึงแก่ชีวิต จึงบ่ายเบี่ยง ทำทีเป็นหึงหวงที่นางกลับช้า หาว่าไปมีชู้อยู่ในป่าและไม่ยอมเจรจากับนางอีกเลย นางมัทรีจึงออกตามหาพระกุมารตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ด้วยความอ่อนเพลียจึงสลบไป พระเวสสันดรมาเห็นก็ตกพระทัย คิดว่านางสิ้นใจ จึงเสียใจเป็นอย่างมาก แต่พอได้สติก็ทำให้รู้ว่านางแค่สลบไป จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วเอาน้ำรดที่หน้าผาก เมื่อพระนางฟื้นก็ถามถึงพระกุมาร พระเวสสันดรจึงบอกความจริง และขอให้ทานช่วยอนุโมทนาทาน

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

อานิสงส์ผู้ที่บูชา มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 

ผู้บูชากัณฑ์มัทรี เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย และจะได้ไปในที่ที่มีแต่ความสุขทุกแห่งหน

 

เรื่องราวของมหาชาติ ในกัณฑ์มัทรีนี้ถือเป็นตอนหนึ่งที่สำคัญของเรื่อง เพราะทำให้ได้เห็นความรักลูกของนางมัทรีและการปล่อยวาง สอดแทรกข้อคิดไว้ในตอนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ข้อคิดรวมไปถึงตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในบทต่อไป แต่สุดท้ายนี้ก็อย่าลืมที่ทบทวนบทเรียนของวันนี้นะคะ โดยน้อง ๆ สามารถรับฟังคลิปการสอนของครูอุ้มไปพลางทำแบบฝึกหัดไปพลางได้เลยค่ะ จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมากขึ้น

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

  บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก     บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร

ป.6 เรียนรู้เกี่ยวกับคำคุณศัพท์ และการเรียงคำคุณศัพท์

เรียนรู้เกี่ยวกับคำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เรื่อง คำคุณศัพท์ หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   ความหมาย   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

พระอภัยมณี ความเป็นมาและเรื่องย่อของวรรณคดีที่ดีที่สุดตลอดกาล

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่เรื่องนี้ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เป็นต้นแบบในการเขียนกลอนและยังถูกไปนำดัดแปลงเป็นละคร ภาพยนตร์ และเพลงอีกมากมาย แต่ทราบไหมคะว่าเรื่องพระอภัยมณีนั้นแท้จริงแล้วมีที่มาอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พระอภัยมณี ความเป็นมา     พระอภัยมณีเป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งขึ้นขณะติดคุกเพราะเมาสุราในสมัยรัชกาลที่ 2 ราว ๆ ปี พ.ศ.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1