คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพและคำผวน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

คำสุภาพ และคำผวน

คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความหมายของคำสุภาพ

 

คำสุภาพ

 

คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์ สำหรับสุภาพชน

 

คำสุภาพ และความสำคัญ

 

ในภาษาไทย การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับระเบียบสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญมาก จึงต้องมีการเลือกใช้คำสุภาพให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส เพื่อเป็นมารยาททางสังคม

 

คำสุภาพหมวดผัก

 

คำสุภาพ

 

ผักบุ้ง = ผักทอดยอด

ผักตบ =  ผักสามหาว

ผักกระเฉด =  ผักรู้นอน

ดอกสลิด = ดอกขจร

ต้นตำแย = ต้นอเนกคุณ

แห้ว = สมหวัง

 

คำสุภาพหมวดสัตว์

 

คำสุภาพ

 

ควาย คำสุภาพคือ กระบือ

วัว คำสุภาพคือ โค

หมา คำสุภาพคือ สุนัข

หมู คำสุภาพคือ สุกร

แมว เป็นคำสุภาพอยู่แล้วเช่นเดียวกับม้า แต่ถ้าอยู่ในบทกวีหรือวรรณคดีจะใช้คำว่า วิฬาร์

 

ความหมายของคำผวน

 

คำผวน

 

คำว่าผวน หมายถึง หวน, กลับ, ทวน คำผวนจึงหมายถึงคำที่ย้อนกลับของคำเดิม เป็นการเล่นคำทางภาษาอย่างหนึ่งในภาษาไทย ส่วนมากมันเป็นคำหยาบ ผวนเพื่อความสนุกสนาน หรือต้องการจะเลี่ยงคำที่ไม่ดี

 

วิธีการผวนคำ

 

ให้คงพยัญชนะไว้แล้วสลับเอาเสียงสระของคำหลังมาสลับกับคำหน้า มาเกิดใหม่เป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม โดยคำที่นำมาผวนจะต้องมี 2 พยางค์ขึ้นไป

 

 

คำที่ไม่สามารถผวนได้

 

  1. คำที่มีพยางค์เดียว
  2. คำที่มีพยัญชนะของพยางค์หน้ากับพยางค์สุดท้ายของคำที่จะผวนเหมือนกัน
  3. คำที่มีสระกับตัวสะกดพยางค์หน้าและพยางค์สุดท้ายของคำที่จะผวนเหมือนกัน

 

คำผวน

 

ความแตกต่างของคำสุภาพ และ คำผวน

 

คำสุภาพและคำผวน

 

ลักษณะของคำสุภาพมีดังนี้

  1. ไม่เป็นคำอุทานที่ไม่สุภาพ หรือสบถคำที่ไม่สุภาพ
  2. ไม่เป็นคำผวน
  3. ไม่เป็นคำหยาบ เช่น ไอ้ อี ฯลฯ

จากลักษณะของคำสุภาพจะเห็นได้ว่า คำผวน ถือเป็นคำต้องห้ามของคำสุภาพ ทำให้สองคำนี้กลายเป็นคู่ตรงข้ามที่มีความหมาย ความสำคัญ และโอกาสในการใช้ที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในขณะที่คำสุภาพถูกใช้เมื่อต้องการเรียกอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีความไพเราะและรื่นหู คำผวนกลับเป็นคำที่มีขึ้นเพื่อความบันเทิง ส่วนมากเป็นคำทะลึ่ง คำหยาบ ใช้ในโอกาสที่พูดเล่นกับเพื่อนฝูงได้ แต่ไม่ควรใช้กับคนที่อาวุโสกว่า หรือในเวลาทางการ

 

คำสุภาพและคำผวน เปรียบเหมือนโลกคู่ขนานที่ไม่สามารถมาบรรจบกันได้ เพราะในชีวิตจริง เราไม่มีทางพูดคำสุภาพในโอกาสเดียวกับคำผวนได้เลยค่ะ หลังจากที่ได้เรียนเรื่องนี้ไปแล้ว น้อง ๆ ต้องระมัดระวังการใช้คำในชีวิตประจำวันนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องพูดกับผู้ใหญ่ หรือต้องใช้คำที่เป็นทางการ ก็ให้เลือกใช้คำสุภาพ ส่วนเวลาที่เล่นกับเพื่อน ก็ให้แอบใช้คำผวนเล่นกันเบา ๆ อย่าใช้ในที่สาธารณะที่มีคนอยู่เยอะ ๆ เพราะอาจทำให้ถูกตำหนิได้ค่ะ สุดท้ายนี้ระหว่างทำแบบฝึกหัด น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อทบทวนเรื่องคำสุภาพ และฝึกผวนคำนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

ภาษาไทย ชั้น ม.2 เรื่อง คำสุภาพ และคำผวน

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่เขียนอยู่ในรูป {(x, y) ∈ ×   : y = } โดยที่ a เป็นจำนวนจริงที่มากกว่า 0 และ a ≠ 1 เช่น  , , ซึ่งพูดอีกอย่างก็คือ

wh-questions + was, were

การใช้ Wh-questions  with  was, were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ Wh-questions  with  was, were (Verb to be in the past)” ไปลุยกันเลยจร้า Sit back, relax, and enjoy the lesson! —นั่งพิงหลังชิวๆ ทำใจสบายๆ แล้วไปสนุกกับบทเรียนกันจร้า—  

ผู้ชนะ

ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ     บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1