คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

Picture of Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

1. สมเด็จพระสังฆราช

2. สมเด็จพระราชาคณะ

3. พระราชาคณะชั้นรอง

4. พระราชาคณะชั้นธรรม

5. พระราชาคณะชั้นเทพ

6. พระราชาคณะชั้นราช

7. พระราชาคณะชั้นสามัญ

8. พระครูสัญญาบัตร พระครูชั้นประทวน พระครูฐานานุกรม

9. พระเปรียญตั้งแต่ 3-9

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 คำสรรพนาม

 

1. ฆราวาสพูดกับพระสงฆ์

สรรพนามบุรุษที่ 1 (ฆราวาส) ในการแทนตัวเอง สามารถแทนได้ด้วยคำสรรพนามที่สุภาพและนอบน้อม เช่น ผม, กระผม, ฉัน, ดิฉัน, หนู เป็น

สรรพนามบุรุษที่ 2 (พระสงฆ์) การเรียกพระสงฆ์จะมีความแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ หากใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ก็ควรเรียกว่า พระคุณเจ้า แต่ถ้าใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมาก็ใช่ว่า พระคุณท่าน และสุดท้าย สามารถใช้ หลวงพ่อ, หลวงพี่ หรือท่าน กับพระภิกษุทั่วไป

 

2. พระสงฆ์พูดกับฆราวาส

สรรพนามบุรุษที่ 1 (พระสงฆ์) จะแทนตัวด้วย อาตมา, หลวงพ่อ, หลวงพี่, หลวงลุง, อาตมภาพ และถ้าหากพูดกับพระสงฆ์ด้วยกันจะใช้คำว่าผมหรือกระผม

สรรพนามบุรุษที่ 2 (ฆราวาส) การเรียกฆราวาสของพระภิกษุสงฆ์จะมีความต่างกันตามฐานะของฆราวาส อาทิเช่น หากพระภิกษุสงฆ์จะเรียกพระเจ้าแผ่นดิน ก็ต้องใช้คำว่า มหาบพิตร เรียกพระราชวงศ์องค์อื่น ๆ ใช้คำว่า บพิตร แต่กับบุคคลทั่วไปจะใช้คำว่า คุณ, เธอ, โยม, คุณโยม

 

3. คำขานรับของฆราวาส

ขอรับ, ครับ, เจ้าค่ะ, ค่ะ

 

คำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

 

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้พระสงฆ์ที่เราจะมาเรียนรู้กันในวันนี้คือคำราชาศัพท์ที่ใช้สนทนากับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปค่ะ จะมีคำใดบ้างที่น้อง ๆ ควรรู้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

ทำวัตร หมายถึง สวดมนต์ (ในโบสถ์)

เจริญพระพุทธมนต์ หมายถึง สวดมนต์ (ให้ญาติโยม)

อุปสมบท หมายถึง บวชพระ

บรรพชา หมายถึง บวชเณร

ลาสิกขา หมายถึง สึก (พระ, เณร)

อาสนะ หมายถึง ที่นั่ง

เสนาสนะ หมายถึง ที่นอน, ที่อยู่

ธรรมาสน์ หมายถึง ที่เทศน์

ถวายพระ หมายถึง มอบให้

ประเคน หมายถึง ยกให้ด้วยมือ

ภัตตาหาร หมายถึง อาหาร

มรณภาพ หมายถึง เสียชีวิต

อาพาธ หมายถึง ป่วย

ปลงผม หมายถึง โกนผม

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

ศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติที่อยู่คู่บ้านเมืองมาอย่างยาวนาน คนไทยหลาย ๆ คนที่นับถือศาสนาพุทธจึงต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ไว้เพื่อให้สามารถสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างถูกต้องและถูกกาลเทศะ ถึงแม้จะมีคำศัพท์ที่ต่างออกไปจากคำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจเลยใช่ไหมคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านจบแล้วแต่ยังอยากฟังคำอธิบายเพลิน ๆ ระหว่างทำแบบฝึกหัดและทบทวน ก็สามารถไปฟังคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มอีกครั้งได้เพื่อทำความเข้าใจและจดจำคำศัพท์ให้มากขึ้น ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

เส้นตรง

เส้นตรง

เส้นตรง เส้นตรง มีสมการรูปแบบทั่วไปคือ Ax + By + C = 0 และสมการรูปแบบมาตรฐานของเส้นตรงจะเขียนอยู่ในรูป y = mx + C ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “สมการเส้นตรง” เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบไปด้วยจุดหลายจุด ซึ่งจุดเหล่านี้จะทำให้เราสามารถหาความชันได้ และเมื่อเราทราบความชันก็จะสามารถหาสมการเส้นตรงได้นั่นเอง ความชันของเส้นตรง ความชันของเส้นตรง ส่วนใหญ่นิยมใช้ m

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1