ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เพื่อรวบรวมให้สมบูรณ์

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูวรรณคดีของไทยขึ้นมาใหม่ ผลงานที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ได้แก่ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ดาหลัง อิเหนา อุณรุธ นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน กฎหมายตราสามดวง นิราศอิหร่านราชธรรม และการชำระพระราชพงศาวดาร (ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) )

 

จุดประสงค์ในการแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเกรงว่าวรรณคดีอันทรงคุณค่านี้จะหายไป เพราะรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่แทรกข้อคิดมากมาย นอกจากนี้ยังใช้บทประพันธ์เพื่อเล่นโขนอีกด้วย

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ คือ กลอนบทละคร มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักขึ้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น จำนวนคำไม่กำหนดตายตัว

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

เรื่องย่อบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก มีเนื้อหากล่าวถึงอดีตชาติของพระรามและทศกัณฐ์ โดยที่ทศกัณฐ์เคยเกิดเป็นยักษ์ชั้นต่ำหรือยักษ์ที่มีบุญน้อยชื่อ นนทก ทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวรอยู่ที่เขาไกรลาสแต่เพราะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดจึงถูกเหล่าเทวดากลั่นแกล้ง นนทกจึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรแล้วกราบทูลว่าตนเป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่รับใช้มานานแต่ไม่เคยได้อะไรตอบแทนเลย พระอิศวรจึงประทานนิ้วเพชร ที่เมื่อชี้ใครไปก็จะทำให้คนนั้นตาย เมื่อนนทกได้รับพลังนั้น แทนที่จะใช้ปกป้องตัวเอง กลับเอาไปไล่ฆ่าเทวดาจนล้มตายกันจำนวนมาก พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบนนทก ก่อนตาย นนทกตัดพ้อว่าตนถูกเอาเปรียบเพราะพระนารายณ์มี มีถึง 4 มือแต่ตนเป็นยักษ์มีแค่ 2 มือ พระนารายณ์จึงท้าให้นนทกไปเกิดใหม่แล้วมี 20 มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือ เพื่อสู้กัน หลังจากที่พระนารายณ์พูดจบก็ตัดศีรษะนนทก ต่อมา
นนทกไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ยักษ์ที่มี 20 มือ ส่วนพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกไปแล้ว น้อง ๆ คงเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียถึงได้ถูกนำมาเป็นหนึ่งในบทเรียนวิชาภาษาไทยให้เราได้ศึกษากัน วรรณคดีอันทรงคุณค่านี้จะมีตัวบทเด่น ๆ บทไหนน่าสนใจบ้าง เราติดตามกันไปในบทต่อไปนะคะ แต่ตอนนี้ น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนและดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มกันนะคะ ได้ทั้งความรู้และความสนุกด้วยค่ะ

 

บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ป.6 เรียนรู้เกี่ยวกับคำคุณศัพท์ และการเรียงคำคุณศัพท์

เรียนรู้เกี่ยวกับคำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เรื่อง คำคุณศัพท์ หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   ความหมาย   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1