ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

Picture of Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เพื่อรวบรวมให้สมบูรณ์

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูวรรณคดีของไทยขึ้นมาใหม่ ผลงานที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ได้แก่ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ดาหลัง อิเหนา อุณรุธ นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน กฎหมายตราสามดวง นิราศอิหร่านราชธรรม และการชำระพระราชพงศาวดาร (ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) )

 

จุดประสงค์ในการแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเกรงว่าวรรณคดีอันทรงคุณค่านี้จะหายไป เพราะรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่แทรกข้อคิดมากมาย นอกจากนี้ยังใช้บทประพันธ์เพื่อเล่นโขนอีกด้วย

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ คือ กลอนบทละคร มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักขึ้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น จำนวนคำไม่กำหนดตายตัว

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

เรื่องย่อบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก มีเนื้อหากล่าวถึงอดีตชาติของพระรามและทศกัณฐ์ โดยที่ทศกัณฐ์เคยเกิดเป็นยักษ์ชั้นต่ำหรือยักษ์ที่มีบุญน้อยชื่อ นนทก ทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวรอยู่ที่เขาไกรลาสแต่เพราะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดจึงถูกเหล่าเทวดากลั่นแกล้ง นนทกจึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรแล้วกราบทูลว่าตนเป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่รับใช้มานานแต่ไม่เคยได้อะไรตอบแทนเลย พระอิศวรจึงประทานนิ้วเพชร ที่เมื่อชี้ใครไปก็จะทำให้คนนั้นตาย เมื่อนนทกได้รับพลังนั้น แทนที่จะใช้ปกป้องตัวเอง กลับเอาไปไล่ฆ่าเทวดาจนล้มตายกันจำนวนมาก พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบนนทก ก่อนตาย นนทกตัดพ้อว่าตนถูกเอาเปรียบเพราะพระนารายณ์มี มีถึง 4 มือแต่ตนเป็นยักษ์มีแค่ 2 มือ พระนารายณ์จึงท้าให้นนทกไปเกิดใหม่แล้วมี 20 มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือ เพื่อสู้กัน หลังจากที่พระนารายณ์พูดจบก็ตัดศีรษะนนทก ต่อมา
นนทกไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ยักษ์ที่มี 20 มือ ส่วนพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

บทละครเรื่องรามเกียรติ์

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกไปแล้ว น้อง ๆ คงเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียถึงได้ถูกนำมาเป็นหนึ่งในบทเรียนวิชาภาษาไทยให้เราได้ศึกษากัน วรรณคดีอันทรงคุณค่านี้จะมีตัวบทเด่น ๆ บทไหนน่าสนใจบ้าง เราติดตามกันไปในบทต่อไปนะคะ แต่ตอนนี้ น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนและดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มกันนะคะ ได้ทั้งความรู้และความสนุกด้วยค่ะ

 

บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง  ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย     ประวัติความเป็นมา สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38

การอ้างเหตุผล

บทความนี้จะทำให้น้องๆเข้าใจหลักการอ้างเหตุผลมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ว่า การอ้างเหตุผล สมเหตุสมผลหรือไม่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1